ชงปฏิรูปสื่อห้ามรัฐ-นายทุนครอบ แนะคุมสื่อเทียมหวั่นมอมเมาเด็ก

ชงปฏิรูปสื่อห้ามรัฐ-นายทุนครอบ แนะคุมสื่อเทียมหวั่นมอมเมาเด็ก

15 ธ.ค.57 ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า เมื่อเวลา 15.00 น.การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ 9/2557
 
เพื่อรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตามและให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายจุมพล รอดคำดี ประธานคณะ กมธ. ปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สปช. รายงานความเห็น ว่า สื่อมวลชนและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนทั้งภายรัฐ และเอกชนต้องได้รับหลักประกันของอิสระในการประกอบอาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำและแทรกแซงจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน ทั้งนี้เพื่อให้การนำเสนอข้อมูล ข่าวสารเป็นไปอย่างเที่ยงตรง 

ในส่วนการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนต้องได้รับการพัฒนา ดูแล ทั้งสวัสดิภาพและสวัสดิการของการประกอบวิชาชีพ
 
เสนอให้ตั้งองค์กรวิชาชีพระดับประเทศ โดยมีตัวแทนของสื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วมต่อการทำงานเพื่อกำกับดูแลกันเองอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้กรอบจริยธรรมของวิชาชีพ ทางด้านคลื่นความถี่ ที่มีองค์กรที่กำกับดูแลแล้วต้องให้หน่วยงานดังกล่าวมีส่วนส่งเสริมการพัฒนาในอุตสาหกรรมสื่อฯ ในโทรคมนาคมสารสนเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนด้วย รัฐต้องเข้าไปมีส่วนส่งเสริมให้ประชาชนฐานะผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก และเยาวชนในทักษะการรู้เท่าทันสื่อฯ 

ทั้งนี้มีข้อพิจารณาด้วยว่าในอนาคตกลุ่มเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มใช้สื่อสมัยใหม่จำนวนมาก

ดังนั้นรัฐต้องดูแลและส่งเสริมการใช้สื่อใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อของข่าวสาร  ดังนั้นควรตั้งสภาประชาชนเพื่อกำกับดูแลสื่อและให้ข้อมูลเพื่อเพิ่มทักษะการรู้เท่าทันสื่อฯ ส่วนปัญหาที่ผ่านมากรณีการสื่อสารที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง และทำให้สังคมแตกแยกมีข้อเสนอกำหนดหรือกฎหมายที่ว่าด้วยการเอกผิดทางอาญาอย่างชัดเจนกับการสื่อสารที่ทำให้เกิดความเกลียดชังกันในสังคม

ทั้งนี้มีสมาชิกอภิปรายขอให้เพิ่มเติมในประเด็นการกำกับดูแลสื่อเทียมหรือสื่อที่นำเสนอเพียงข้อมูลด้านเดียว หรือมีลักษณะโฆษณาชวนเชื่อ และขอให้มีมาตรการที่ใช้กำกับสื่อในกลุ่มโซเชียลมีเดีย หรือสื่อบนอินเตอร์เน็ต ที่พบว่ามีการกระจายข้อมูลไปสู่สาธารณะโดยขาดการกลั่นกรองหรือข้อเท็จจริงและก่อให้เกิดปัญหา และการกระทำที่ผิดกฎหมาย

ทางด้านนายมานิจ สุขสมจิตร รองประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ
 
ให้ข้อเสนอแนะว่า ในประเด็นที่ กมธ.ฯ นำเสนอสามารถนำไปเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญได้ และมีบางประเด็นที่อยู่ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือส่วนบทบัญญัติของประมวลจริยธรรม แต่ยอมรับว่าสื่อมวลชนถูกวิจารณ์ในการทำหน้าที่และเรียกร้องให้มีการปฏิรูป โดยเฉพาะการทำงานของสื่อมวลชนที่ทำงานเป็นเหมือนสื่อของรัฐ ขาดความรับผิดชอบ ในประเด็นของกลุ่มรัฐเข้าครอบงำสื่อมวลชนด้วยการซื้อพื้นที่โฆษณานั้น ล่าสุดทางคณะทำงานที่เกี่ยวข้องเตรียมเสนอกฎหมายกฎหมายควบคุมการโฆษณาของรัฐที่มีหลักเกณฑ์โฆษณาเชื่อว่าจะช่วยลดการแทรกแซงด้วยการใช้งบประมาณรัฐซื้อพื้นที่โฆษณาได้


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์แนวหน้า


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์