จำลองภาพสะเก็ดดาวชนโลก เหตุไดโนเสาร์สูญพันธุ์

การที่ดาวหาง 2 ดวง ซึ่งโคจรระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสฯ มาชนกัน

เมื่อ 160 ล้านปีก่อน ทำให้สะเก็ดดาวหางชิ้นใหญ่พุ่งมายังโลก และกระแทกเข้าที่แหลมยูคาทันของเม็กซิโกเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ ขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมทั้งมนุษย์ ก้าวขึ้นมาเป็นใหญ่แทน

นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐและเช็ก จำลองภาพสะเก็ดดาวหางพุ่งชนโลกว่า

 เป็นไปได้ถึง 90% ที่ดาว 2 ดวง ดวงหนึ่งกว้าง 105 ไมล์ อีกดวงกว้าง 40 ไมล์ ชนกัน ในระยะ 100 ล้านไมล์ห่างจากโลก โดยสะเก็ดดาวหางชิ้นใหญ่กว้าง 6 ไมล์ ตกลงที่แหลมยูคาทัน ทำให้เกิด "แอ่งชิกชูลูป" ความกว้าง 110 ไมล์  และเป็นไปได้ราว 70% ว่า ยังมีชิ้นส่วนอีกชิ้นหนึ่งไปตกลงบนดวงจันทร์ เมื่อ 108 ล้านปีก่อน ทำให้เกิดแอ่งที่นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อว่า "ไทโช" ความกว้าง 55 ไมล์

นายวิลเลียม บอตคี นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ เมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโด กล่าวว่า

เมื่อชิ้นส่วนดาวพุ่งชนโลก ทำให้สิ่งแวดล้อมบนโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล หินและฝุ่นกระจายขึ้นเต็มท้องฟ้า เกิดสึนามิ เพลิงไหม้ทุกหย่อมหญ้า และทำให้โลกอยู่ในความมืดอยู่นานหลายปี

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์