ความเป็นไปได้สงคราม ระหว่างสหรัฐกับอิหร่าน มีมากแค่ไหน
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวรอบโลก ความเป็นไปได้สงคราม ระหว่างสหรัฐกับอิหร่าน มีมากแค่ไหน
ปัจจุบันนี้ยังมีทหารอเมริกันกว่า 40,000 คนตั้งฐานทัพอยู่ที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้แก่ การ์ตา (ฐานทัพอากาศ) บาห์เรน (ฐานทัพเรือ) ซึ่งทั้ง 2 ประเทศนี้มีทหารอเมริกันประจำการอยู่มากที่สุด นอกจากนี้ก็ยังมีฐานทัพย่อยๆ อยู่ในประเทศคูเวต จอร์แดน อิรัก โอมาน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยได้รับอนุญาตให้ความยินยอมจากประเทศเจ้าบ้านแล้วทั้งสิ้น มีเพียงประเทศซีเรียประเทศเดียวที่สหรัฐอเมริกาเข้าไปตั้งฐานทัพเองโดยพลการ อ้างว่าเพื่อเป็นกองกำลังต่อต้านการรุกคืบของกลุ่มรัฐอิสลาม (The Islamic State group-IS) ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในซีเรีย
นับตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาสเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2566 ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดไปทั่วทั้งภูมิภาค นับตั้งแต่นั้นมา ฐานทัพของสหรัฐอเมริกาทั้งในซีเรียและอิรักก็ตกเป็นเป้าโจมตีของกลุ่มติดอาวุธที่อิหร่านสนับสนุน ทั้งในอิรักและซีเรีย โดยถูกโจมตีมากกว่า 150 ครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมกว่า 70 ราย แต่ไม่มีทหารอเมริกันเสียชีวิต จนกระทั่งทำให้สหรัฐอเมริกาต้องตอบโต้ไปในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีการโจมตีทางอากาศถล่มกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มที่อิหร่านสนับสนุน ภายหลังทหารอเมริกัน 3 นาย ได้รับบาดเจ็บจากเหตุโดรนโจมตีฐานทัพอเมริกาแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของอิรัก จากนั้นในช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา กองทัพอเมริกาจึงได้ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในกรุงแบกแดด สังหารผู้นำกลุ่มติดอาวุธที่คาดว่าอยู่เบื้องหลังการโจมตีทหารอเมริกัน นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษยังทำการโจมตีทางอากาศด้วยการทิ้งระเบิดตามฐานขีปนาวุธของกลุ่มกบฏฮูตีในเยเมนที่อิหร่านสนับสนุนทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์หลายครั้ง เพื่อตอบโต้การก่อเหตุโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดงที่กลุ่มฮูตีอ้างว่าเป็นการกระทำเพื่อสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา
เมื่อเช้าวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมานี้ ได้มีโดรนโจมตีหน่วยทหารอเมริกันที่ประจำการทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดนที่มีชื่อว่า "ทาวเวอร์ ทเวนตีทู" (Tower 22) มีทหารเสียชีวิต 3 นาย และกำลังพลบาดเจ็บอีก 34 นาย โดรนได้โจมตีเต็นท์ของทหารที่กำลังนอนหลับอยู่ และยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเหตุใดระบบป้องกันภัยทางอากาศจึงไม่สามารถสกัดโดรนลำนี้ได้ หลังเกิดเหตุ กลุ่มติดอาวุธอิสลามิก รีซิสแตนซ์ (Islamic Resistance) ในอิรัก ซึ่งได้รับการสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์โดยเฉพาะขีปนาวุธและโดรนสังหารจากอิหร่าน ประกาศว่าได้โจมตีฐานที่มั่นของทหารอเมริกา 3 แห่ง ซึ่งรวมถึงฐานที่มั่นบริเวณชายแดนซีเรีย-จอร์แดนด้วย ปรากฏว่ากองกำลังทหารอเมริกันที่ประจำการในอิรักและซีเรียถูกโจมตีเป็นจำนวน 158 ครั้ง เกือบทั้งหมดไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงใดๆ หรือสร้างความเสียหายขนาดใหญ่ ความสูญเสียดังกล่าวจึงนับเป็นครั้งแรกที่มีทหารอเมริกัน เสียชีวิตในตะวันออกกลางนับตั้งแต่สงครามในฉนวนกาซาระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมปีที่แล้ว
ปรากฏว่าทางฝ่ายสหรัฐอเมริการั้งรออยู่ถึง 5 วันจึงส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-1 ถล่มเป้าหมายกว่า 85 จุดของขบวนการต่อต้านเพื่ออิสลาม (IslamicResistance Movement) โดยทางการสหรัฐอเมริกาประกาศว่า การโจมตีระลอกนี้เป็นเพียงแค่การเริ่มต้นเท่านั้น โดยเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-1 บินตรงจากสหรัฐแบบไม่มีแวะจอด สามารถถล่มเป้าหมายกว่า 85 แห่งใน 7 พื้นที่ในอิรักและซีเรีย ใช้เวลาปฏิบัติการเพียง 30 นาที และได้แจ้งให้รัฐบาลอิรักทราบล่วงหน้า เพื่อเป็นการตอบโต้กลุ่มก่อการร้ายที่อิหร่านหนุนและส่งโดรนให้ไว้โจมตี เมื่อ 5 วันที่แล้ว
รัฐบาลของ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐอเมริกา โดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากบรรดานักการเมืองของพรรครีพับลิกันที่เรียกร้องให้สหรัฐดำเนินการตอบโต้อิหร่านโดยตรงแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน เพราะนโยบายทางการทหารของรัฐบาลจากพรรคเดโมแครตอ่อนแอจนเกินไปไม่สามารถที่จะยับยั้งเหตุโจมตีในตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงขึ้น ดังที่นายโรเจอร์ วิกเกอร์ วุฒิสมาชิกของมลรัฐมิสซิสซิปปี กล่าวว่า ความล้มเหลวของนโยบายตะวันออกกลางของนายไบเดนทำให้การโจมตีทวีความรุนแรงขึ้นโดยแนะนำว่า
"เราต้องตอบโต้ด้วยการโจมตีไปยังเป้าหมายในอิหร่านซึ่งที่ผ่านมา การดำเนินการของรัฐบาลไบเดนกลับกลายเป็นการเชิญชวนให้มีการโจมตีมากขึ้น"
นายทอม คอตตอน วุฒิสมาชิกจากพรรครีพับลิกันของมลรัฐอาร์คันซอชี้ว่า มาตรการของไบเดนนั้นกำลังปล่อยให้ทหารอเมริกันตกเป็นเป้านิ่ง และมองว่าสหรัฐอเมริกาต้องจัดการอย่างเด็ดขาดกับอิหร่านและกลุ่มติดอาวุธที่เป็นผู้ลงมือ ซึ่งสอดคล้องกับ นายไมค์ โรเจอร์ส สมาชิกพรรครีพับลิกันและประธานคณะกรรมาธิการด้านกิจการกองทัพสหรัฐที่ระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่อิหร่านจะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์โจมตีที่เกิดขึ้น การสั่งการโจมตีอิหร่านไม่ได้เป็นไปเพื่อการตอบโต้อย่างเดียวเท่านั้น แต่เพื่อป้องกันเหตุร้ายจากการโจมตีของกองกำลังติดอาวุธต่างๆ ในตะวันออกกลาง ที่อิหร่านสนับสนุนอย่างเปิดเผย
นายลินด์ซีย์ เกรแฮม วุฒิสมาชิกจากรัฐเซาท์แคโรไลนา กล่าวว่า การสั่งโจมตีเป้าหมายในอิหร่านไม่ใช่เพียงเพื่อตอบโต้ต่อการที่ทหารของเราเสียชีวิต แต่เพื่อป้องปรามการรุกรานที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น รัฐบาลของไบเดนควรเร่งดำเนินการโดยเร็ว นอกจากนี้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ผู้ประกาศตัวว่าจะลงสู้ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในปีนี้ได้กล่าวว่า การโจมตีทหารสหรัฐเป็นผลมาจากความอ่อนแอและการยอมอ่อนข้อต่ออิหร่านมากเกินไปของประธานาธิบดีไบเดน ซึ่งต่างจากเขาที่เคยสั่งสังหาร นายพลกัสซิม โซเลมานี ผู้บัญชาการกองกำลังคุดส์ (Quds Force) ของอิหร่านในกรุงแบกแดดเมื่อ พ.ศ.2563 ตอนที่นายทรัมป์ยังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอยู่
ครับ! เมื่อประธานาธิบดีไบเดนเลือกที่จะตอบโต้เฉพาะแต่บรรดากองกำลังติดอาวุธที่อยู่ในอิรักและซีเรียที่อิหร่านจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้เท่านั้น โดยจะไม่แตะต้องประเทศอิหร่านโดยตรง เพราะไม่ต้องการเสี่ยงที่จะขยายขอบเขตสงครามให้ใหญ่โตจนสหรัฐอเมริกาต้องติดหล่มเหมือนในอัฟกานิสถานก็เป็นประกาศอย่างโจ่งแจ้งแล้วว่าสหรัฐอเมริกาจะไม่โจมตีอิหร่านโดยตรง และแน่นอนอิหร่านก็ไม่อยากเปิดสงครามที่อิหร่านเสียเปรียบเป็นอย่างมากอยู่แล้ว ดังนั้นความเป็นไปได้ของสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่านจึงอยู่มีน้อยมาก
รัฐบาลของ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐอเมริกา โดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากบรรดานักการเมืองของพรรครีพับลิกันที่เรียกร้องให้สหรัฐดำเนินการตอบโต้อิหร่านโดยตรงแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน เพราะนโยบายทางการทหารของรัฐบาลจากพรรคเดโมแครตอ่อนแอจนเกินไปไม่สามารถที่จะยับยั้งเหตุโจมตีในตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงขึ้น ดังที่นายโรเจอร์ วิกเกอร์ วุฒิสมาชิกของมลรัฐมิสซิสซิปปี กล่าวว่า ความล้มเหลวของนโยบายตะวันออกกลางของนายไบเดนทำให้การโจมตีทวีความรุนแรงขึ้นโดยแนะนำว่า
"เราต้องตอบโต้ด้วยการโจมตีไปยังเป้าหมายในอิหร่านซึ่งที่ผ่านมา การดำเนินการของรัฐบาลไบเดนกลับกลายเป็นการเชิญชวนให้มีการโจมตีมากขึ้น"
นายทอม คอตตอน วุฒิสมาชิกจากพรรครีพับลิกันของมลรัฐอาร์คันซอชี้ว่า มาตรการของไบเดนนั้นกำลังปล่อยให้ทหารอเมริกันตกเป็นเป้านิ่ง และมองว่าสหรัฐอเมริกาต้องจัดการอย่างเด็ดขาดกับอิหร่านและกลุ่มติดอาวุธที่เป็นผู้ลงมือ ซึ่งสอดคล้องกับ นายไมค์ โรเจอร์ส สมาชิกพรรครีพับลิกันและประธานคณะกรรมาธิการด้านกิจการกองทัพสหรัฐที่ระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่อิหร่านจะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์โจมตีที่เกิดขึ้น การสั่งการโจมตีอิหร่านไม่ได้เป็นไปเพื่อการตอบโต้อย่างเดียวเท่านั้น แต่เพื่อป้องกันเหตุร้ายจากการโจมตีของกองกำลังติดอาวุธต่างๆ ในตะวันออกกลาง ที่อิหร่านสนับสนุนอย่างเปิดเผย
นายลินด์ซีย์ เกรแฮม วุฒิสมาชิกจากรัฐเซาท์แคโรไลนา กล่าวว่า การสั่งโจมตีเป้าหมายในอิหร่านไม่ใช่เพียงเพื่อตอบโต้ต่อการที่ทหารของเราเสียชีวิต แต่เพื่อป้องปรามการรุกรานที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น รัฐบาลของไบเดนควรเร่งดำเนินการโดยเร็ว นอกจากนี้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ผู้ประกาศตัวว่าจะลงสู้ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในปีนี้ได้กล่าวว่า การโจมตีทหารสหรัฐเป็นผลมาจากความอ่อนแอและการยอมอ่อนข้อต่ออิหร่านมากเกินไปของประธานาธิบดีไบเดน ซึ่งต่างจากเขาที่เคยสั่งสังหาร นายพลกัสซิม โซเลมานี ผู้บัญชาการกองกำลังคุดส์ (Quds Force) ของอิหร่านในกรุงแบกแดดเมื่อ พ.ศ.2563 ตอนที่นายทรัมป์ยังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอยู่
ครับ! เมื่อประธานาธิบดีไบเดนเลือกที่จะตอบโต้เฉพาะแต่บรรดากองกำลังติดอาวุธที่อยู่ในอิรักและซีเรียที่อิหร่านจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้เท่านั้น โดยจะไม่แตะต้องประเทศอิหร่านโดยตรง เพราะไม่ต้องการเสี่ยงที่จะขยายขอบเขตสงครามให้ใหญ่โตจนสหรัฐอเมริกาต้องติดหล่มเหมือนในอัฟกานิสถานก็เป็นประกาศอย่างโจ่งแจ้งแล้วว่าสหรัฐอเมริกาจะไม่โจมตีอิหร่านโดยตรง และแน่นอนอิหร่านก็ไม่อยากเปิดสงครามที่อิหร่านเสียเปรียบเป็นอย่างมากอยู่แล้ว ดังนั้นความเป็นไปได้ของสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่านจึงอยู่มีน้อยมาก