เปิดข้อมูล ผู้ป่วยฝีดาษลิง สายพันธุ์รุนแรง รายแรกของไทย
แต่เราค่อนข้างมั่นใจว่าไม่ใช่สายพันธุ์เคลด 2b เป็นผู้ป่วยชาย ชาวยุโรป วัย 66 ปี เดินทางมาจากประเทศต้นทางแถบแอฟริกาที่ทางกรมควบคุมโรคมีมาตรการคัดกรองผู้เดินทางอยู่แล้ว ซึ่งมีการต่อเครื่องบิน 1 ครั้งที่ประเทศแถบตะวันออกกลาง ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม เวลา 18.00 น.
นพ.ธงชัย กล่าวว่า ต่อมาวันที่ 15 สิงหาคม ผู้ป่วยรายดังกล่าวเริ่มมีอาการป่วยไข้ มีตุ่มบริเวณร่างกายเล็กน้อย ทางโรงพยาบาล (รพ.) ซักประวัติแล้วสงสัย จึงตรวจหาเชื้อไวรัสก่อโรคฝีดาษวานร ครั้งแรกตรวจหาสายพันธุ์เคลด 2b เป็นผลลบ จึงมีการตรวจหาสายพันธุ์เคลด 1b ซ้ำ ผลออกมาไม่ชัดเจน
"แม้ผลการตรวจผู้ป่วยยังไม่ 100% แต่ในการควบคุมป้องกันโรค การรับรู้ข้อมูลข่าว จึงต้องรีบมาแจ้งประชาชน เพราะถ้าเริ่มมีข้อมูลออกไปแล้ว คนไปหาข่าวกันเอง ก็จะไปกันใหญ่" นพ.ธงชัย กล่าว
ทางทีมสอบสวนโรคจึงประสานไปให้ผู้สัมผัสใกล้ชิด ในระยะ 21 วันนี้ ให้เฝ้าระวังตนเอง หากพบอาการป่วยให้รีบไปพบแพทย์ แต่กลุ่มนี้ก็ไม่ได้ถึงขั้นว่าจะต้องกักตัวเหมือนกับช่วงการระบาดโควิด-19 เพราะการติดเชื้อฝีดาษวานรนั้น จะแพร่เชื้อได้ก็ต่อเมื่อเริ่มมีอาการแล้ว