อภิสิทธิ์ื ออกลูกกั๊ก กม.นิรโทษกรรม

แจงต้องดูหลายอย่างควบคู่กันไป จึงไม่เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รับปรองดองยากแต่จำเป็น ชี้ ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อย่างไรก็ต้องเดินหน้า และสร้างทิศทางที่ชัดเจนให้ประเทศ...

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าววันนี้ (15 มิ.ย.) ถึงร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)

จะเสนอเพื่อนิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่มาชุนุมกับกลุ่มแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ(นปช.)ที่ไม่ต้องข้อหาก่อการร้ายว่า ขณะนี้ ยังไม่ได้มีกฎหมาย แต่การนิรโทษกรรมต้องออกเป็นกฎหมาย ดังนั้นถ้าจะออกเป็นกฎหมายต้องมีกระบวนการผ่านไปจาก คณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภาผู้แทนราษฎร ในชั้นนี้ ได้สอบถามนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงแล้วก็บอกว่ายังไม่มีข้อยุติ เป็นเพียงการสอบถามความคิด และตรวจสอบข้อดีข้อเสีย ตนและนายสุเทพคุยกัน

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า และเห็นว่าการดำเนินการใดๆก็ตาม จะต้องไม่นำไปสู่ปัญหาในอนาคต

การแก้ไขปัญหาปัจจุบันแต่ไปสร้างปัญหาในอนา คตนั้นเราก็ไม่ทำ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเพียงขั้นตอนที่ศอฉ.จะต้องพิจารณาเมื่อมีข้อยุติแล้วจะมา สู่ครม.อีกครั้ง ส่วนการพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ขณะนี้ เราก็ทราบว่ายังคนพยายามที่จะมีความเคลื่อนไหว เราก็พยายามใช้มาตรการต่างๆเพื่อให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย แต่ที่สำคัญคือสังคมหากเห็นว่าบ้านเมืองเราควรจะเดินไปข้างหน้า อะไรที่ยังมีข้อข้องใจและความรู้สึกที่ยังไม่เป็นธรรมก็มีกระบวนการอื่นรอง รับแทนที่จะใช้วิธีการที่จะนำไปสู่ความสูญเสีย

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า หากเราชัดเจนในเรื่องเหล่านี้จะทำให้การเคลื่อนไหวต่างๆก่อตัวขึ้นมาได้ยาก

แต่ถ้าสังคมไม่ช่วยกันตรงนี้ อะไรที่ควรจะต้องแสวงหาข้อยุติร่วมกัน กลับพยายามทำให้เกิดช่องว่าง ก็จะเป็นปัญหา รัฐบาลจึงต้องดูหลายอย่างควบคู่กันไป และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ยังต้องคงภาวะฉุกเฉินอยู่แต่ถ้าทุกอย่างเริ่มมีช่อง ทางในการหาคำตอบทุกเรื่องได้ การจำกัดสิทธิ์ต่างๆก็ไม่จำเป็น ในช่วงเช้าวันที่ 15 มิ.ย.ตัวแทนภาคธุรกิจท่องเที่ยวก็มาพบกับตน เพราะมีปัญหามาก แม้รัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือไปเยอะแล้ว แต่มองจากการที่ต่างประเทศยังไม่กลับเข้ามา เขาก็รู้ว่าสถานการณ์ข้างหน้าจะหนักสำหรับธุรกิจ แต่สุดท้ายตนก็ชี้ให้เห็นว่าภาคธุรกิจเอกชนก็ต้องตระหนักว่าปัญหามันมาจาก ตรงไหนอย่างไร


นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ดังนั้นจึงยกตัวอย่างว่าหากอยากให้ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวไหนดี

ภาคเอกชนก็ต้องมีบทบาทในการทำให้ทุกคนตระหนักว่าเวลาที่บ้านเมืองไม่สงบ วุ่นวาย มีความรุนแรง คนที่เดือดร้อนก็คือประชาชนธรรมดา โดยเฉพาะคนยากคนจน เพราะคนที่ไปก่อนคือลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงานแล้วกระเทือนไปถึงผู้ค้าขายรายย่อย ดังนั้นเอกชนต้องใช้ศักยภาพของตัวเองในการทำความเข้าใจกับประชาชนและมวลชน พื้นที่ไหนอยากมีภาพลักษณ์ที่ดีก็ต้องแสดงออกให้เห็นว่าจับมือกันทั้งภาค เอกชน ภาคการเมืองและภาคประชาชนว่าที่นี่ต้องการความสงบทุกอย่างจะเดินได้ หากรอว่าจะให้มันเกิดขึ้นจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนั้นมันไม่เกิด

เมื่อถามว่า ประชาชนยังไม่มั่นใจในแผนปรองดองที่จะนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แน่นอน เพราะเป็นเรื่องยาก

ตอนนี้ง่ายที่สุดสำหรับรัฐบาลบอกเลยว่าไม่คิดจะทำ เพราะมันเป็นเรื่องยาก โอกาสสำเร็จอาจจะไม่มาก แต่ประเด็นคือมันเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับประเทศหรือไม่ แต่ตนมองว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ดังนั้นก็ต้องเดินหน้าทำ แม้รู้ว่ายากและมีโอกาสที่จะล้มเหลว แต่เป็นหน้าที่ที่ต้องทำ และพยายามที่จะแสวงหาความร่วมมือทุกฝ่าย ซึ่งก็ยาก เพราะหลายฝ่ายก็มีเหตุผลของตัวเอง แต่ว่าอย่าเอาความลังเล หรือ ความกลัวว่ามันจะไม่สำเร็จแล้วไม่ต้องทำ เพราะยิ่งต่างคนต่างอยู่บ้านเมืองจะเดินไปข้างหน้าไม่ได้ และคนที่เดือดร้อน คือ ประชาชน ตนจึงยืนยันว่าอย่างไรก็ต้องเดิน แล้วก็รู้ว่าคนบางกลุ่มอย่างไรก็ปฏิเสธแต่เราต้องการสร้างทิศทางให้กับประเทศให้กับคนส่วนใหญ่หรือทั้งหมด

เมื่อถามว่า ในอายุของรัฐบาลชุดนี้แผนปรองดองจะสำเร็จสักกี่เปอร์เซ็นต์ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตอนนี้เราก็จะกำหนดกรอบเวลาไว้แต่ละเรื่อง

และจะชัดเจนขึ้นตามลำดับ แต่จะบอกว่าอีกกี่เดือนคงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะทุกวันเวลาที่ผ่านไปเราจะต้องเห็นความชัดเจนของความคืบหน้า ไม่เช่นนั้นไม่มีทางที่จะเดินไปสู่ความสำเร็จได้ ซึ่งก็ได้เน้นย้ำกับหลายส่วนที่ทำงานตรงนี้ว่า อาทิ การรับฟังความคิดเห็นหรือการแก้ไขบางปัญหาจะบอกว่ารออีก 3-6 เดือน ค่อยมีการประเมินคงไม่ได้ เพราะต้องมีความเคลื่อนไหว และมีการนำสังคมให้เดินไปในทางนี้ให้ได้

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์