พยาบาลดับปริศนา หลังกินข้าวกับปลากระป๋อง!!!

พยาบาลดับปริศนา หลังกินข้าวกับปลากระป๋อง!!!


จากกรณีที่พยาบาลสาว โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น เสียชีวิตปริศนา หลังกินข้าวกับปลากระป๋องแล้วมีอาการท้องอืด กินยาแก้ท้องอืดแล้วเข้านอน รุ่งเช้าอาการไม่ดีขึ้นรีบไปพบแพทย์ กลับมีอาการความดันต่ำลงจนทรุด แพทย์ต้องนำเข้าห้องฉุกเฉิน แต่อาการไม่ดีขึ้นและแย่ลงเรื่อยๆ เข้ารักษาเพียงวันเดียว ก็เสียชีวิต เหตุเกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2558ที่ผ่านมา

ภายหลังข่าวแพร่สะพัด เรื่องการเสียชีวิตของพยาบาลสาว ด้วยอาการท้องอืด หลังรับประทานอาหาร ซึ่งมีเพียงข้าวและปลากระป๋องเท่านั้น เป็นการเสียชีวิตอย่างกระทันหัน ทำให้เกิดกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์กว้างขวาง ส่วนใหญ่หวาดกลัวต่อเชื้อโรค ที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น และต้องการทราบสาเหตุที่แท้จริงว่า พยาบาลสาวเสียชีวิตจากการติดเชื้อชนิดใด จากที่ใดนั้น

ล่าสุด วันที่ 18 ธ.ค. รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า หลังจากที่พยาบาลเสียชีวิตกะทันหัน ทีมแพทย์ได้พยายามหาที่มาของการเสียชีวิต โดยแบ่งกลุ่มเพาะเชื้อออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคืออาหารที่คาดว่าผู้เสียชีวิตรับประทานทั้งที่เก็บไว้ในตู้เย็นและตู้กับข้าว มีทั้งเครื่องดื่ม ผัก ขนม ข้าวสาร พาสต้า วิปครีม และปลากระป๋องที่ซื้อมาพร้อมกัน ทั้งหมดนำส่งตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข คาดว่าจะทราบผลการตรวจภายในสัปดาห์หน้า

ส่วนกลุ่มที่สอง ทางแพทย์ได้นำตัวอย่างเลือดไปส่งตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย ไมโครพาสม่า และเชื้อไวรัส ซึ่งการเพาะเชื้อในเลือดไม่พบเชื้อชนิดใด แต่พบว่าผลการตรวจเลือดหาระดับเอนไซน์ของกล้ามเนื้อหัวใจขึ้นสูง ทำให้แพทย์วินิจฉัยตรงกันว่าคนไข้มีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบรุนแรง และกลุ่มที่ 3 ได้นำสำลีป้าย่ในคอคนไข้ เพื่อนำสารคัดหลั่งตรวจสอบเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และท็อกซินบางชนิด เพื่อหาสาเหตุเชื้อชนิดใดที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คาดว่าจะทราบผลในสัปดาห์หน้าเช่นกัน

"สำหรับผู้เสียชีวิตรายนี้พบว่ากล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายมาก กระทั่งหัวใจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้เกิดภาวะช๊อค และหัวใจหยุดเต้น ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่เสียชีวิตอย่างกระทันหันภายในเวลา 48 ชั่วโมง ส่วนสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนั้นเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง โดยส่วนใหญ่มาจากการได้รับเชื้อไวรัส ซึ่งไวรัสมีหลายชนิด รวมถึงแบคทีเรียและท็อกซินของแบคทีเรียบางชนิดด้วย หากการเพาะเชื้อพบว่ามีเชื้อตัวใด จึงจะระบุสาเหตุของการเสียชีวิตได้ แต่หากเพาะเชื้อแล้วไม่มีเชื้อโรคใดจะทำให้การหาที่มาของโรคยากขึ้น ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมาเข้ารับการรักษาปีละ 1-3 ราย เนื่องจากไม่มียาฆ่าไวรัส แพทย์จึงรักษาแบบประคับประคองอาการ จนร่างกายผู้ป่วยสร้างภูมิต้านทานไวรัสได้"



ขอบคุณที่มา > > bangkokbiznews

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์