กำเนิด ลูกแรดผสมเทียม ตัวแรกของโลก


แรดผสมเทียมตัวแรกของโลกลืมตาดูโลกแล้วในสวนสัตว์ปูดาเปสต์ เป็นลูกแรดเพศเมีย ท่าทางแข็งแรงดี รอการตั้งชื่อ อีก 2 เดือนนำออกโชว์ผู้เยี่ยมชมสวนสัตว์

แรดที่เกิดจากการผสมเทียมตัวแรกของโลกเกิดขึ้นแล้ว


ที่สวนสัตว์บูดาเปสต์ (Budapest Zoo) เมีองหลวงของประเทศฮังการี เมื่อวัน 24 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยลูกแรดมีน้ำหนักตัว 58 กิโลกรัม และยืนได้เองหลังออกจากท้องแม่ได้ประมาณ 1 ชั่วโมง ท่าทางแข็งแรงดี แต่ขณะนี้ทางสวนสัตว์ยังไม่ได้ชื่อให้แรดน้อยเพศเมียตัวนี้


ทั้งนี้ สัตวแพทย์ของสวนสัตว์ตัดสินใจ


ทำผสมเทียมให้แก่ลูลู (Lulu) แรดตัวเมียอายุ 26 ปี เมื่อปี 2548 เนื่องจากไม่ยอมจับคู่ผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ แม้ว่าทางสวนสัตว์ได้นำแรดตัวผู้ชื่ออีซี่บอย (Easyboy) ไปอยู่ด้วย แต่ทั้งสองตัวกลับคลอเคลียกันเหมือนพี่น้อง แทนที่จะจับคู่กัน

จากนั้นทีมสัตวแพทย์จากเยอรมัน ออสเตรีย และฮังการี


ต่างช่วยผสมเทียมให้ลูลู อุ้มท้องอยู่นาน 16 เดือน 15 วัน จนกระทั่งตกลูกเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่จนกว่าลูลู จะพร้อมเลี้ยงลูก เนื่องจากยังเลี้ยงลูกไม่เป็น และแสดงท่าทีก้าวร้าวอยู่บ้าง สัตวแพทย์ระบุว่า เป็นเรื่องปกติของสัตว์ตัวเมียที่ไม่เคยมีลูก

สวนสัตว์บูดาเปสต์


เตรียมนำลูกแรดจากการผสมเทียมตัวแรกของโลกนี้ออกโชว์ต่อสาธารณชนในอีก 2 เดือนข้างหน้า



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์