ลบสถิติตาย 4วัน-278ศพ

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 3 ม.ค. ที่ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปี 2552 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย

นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน แถลงภายหลังการประชุมศูนย์ฯว่า สถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่
2 ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่สี่ของการรณรงค์พบว่า เกิดอุบัติเหตุรวม 464 ครั้ง น้อยกว่าปี 2551 (858 ครั้ง) 394 ครั้ง หรือร้อยละ 45.92 ผู้เสียชีวิต 52 คน น้อยกว่าปี 2551 (74 คน) 22 คน หรือร้อยละ 29.73 ผู้บาดเจ็บ 492 คน น้อยกว่าปี 2551 (950 คน) 458 หรือร้อยละ 48.21 ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเทียบกับสถิติในปี 2551 แล้ว จำนวนลดลงทุกรายการ ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 41.59 รองลงมา ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 21.55 ส่วนยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 83.62 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 60.78 บนถนน อบต. หมู่บ้าน ร้อยละ 33.62 ทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 32.97


นายอนุชากล่าวว่า ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ช่วงกลางคืน ร้อยละ
66.59 โดยเฉพาะช่วงเวลา 16.00-20.00 น. ร้อยละ 33.19


ส่วนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า
25 ปี ร้อยละ 43.38 สำหรับจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ ชลบุรี 17 ครั้ง รองลงมา นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา เพชรบูรณ์ จังหวัดละ 16 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดได้แก่ พิจิตร 4 คน รองลงมา เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก ร้อยเอ็ด สิงห์บุรี และสุราษฎร์ธานี จังหวัดละ 3 คน จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุดได้แก่นครราชสีมา 21 คน รองลงมา เพชรบูรณ์ 19 คน ชลบุรี 18 คน ส่วนกรณีที่จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,959 จุด มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 76,650 คนนั้น ได้มีการเรียกตรวจยานพาหนะ 736,595 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดีตามมาตรการ 3 ม. 2 ข. 1 ร. รวม 57,656 ราย โดยไม่มีใบขับขี่ 20,018 ราย ไม่สวมหมวกนิรภัย 17,701 ราย

นายอนุชากล่าวด้วยว่า ส่วนผลสรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม
4 วัน (30 ธ.ค. 2551-2 ม.ค. 2552) รวม 2,793 ครั้ง น้อยกว่าปี 2551 (2,823 ครั้ง) 30
ครั้ง

หรือร้อยละ
1.06 ผู้เสียชีวิตสะสมรวม 278 คน มากกว่าปี 2551 (262 คน) 16 คน หรือร้อยละ 6.11 ผู้บาดเจ็บสะสมรวม 2,996 คน น้อยกว่าปี 2551 (3,081 คน) 85 คน หรือร้อยละ 2.76 สำหรับจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดได้แก่ สุรินทร์ 96 ครั้ง รองลงมา เชียงราย 94 ครั้ง สำหรับ จ.ยโสธร เป็นจังหวัดที่ยังไม่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุดได้แก่ เชียงราย 15 คน รองลงมา นครราชสีมา 11 คน จังหวัดที่ยังไม่มีผู้เสียชีวิตมี 10 จังหวัด จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุดได้แค่ นครราชสีมา 106 คน รองลงมา สุรินทร์ 105 คน

อธิบดี ปภ.กล่าวว่า สำหรับมาตรการในช่วง
1-2
วันที่ประชาชนจะทยอยเดินทางกลับจำนวนมากนั้น ได้สั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจเข้มงวดจับกุมดำเนินคดีกับผู้ขับขี่รถด้วยความประมาท

รวมถึงตรวจสอบรถโดยสารระยะทางไกลที่บรรทุกผู้โดยสารจำนวนมาก โดยเฉพาะรถเช่าเหมาทัศนาจร ที่มีพนักงานขับเพียงคนเดียว อาจเกิดการหลับในก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ และให้ จังหวัดนำอุปกรณ์ไฟสัญญาณวับวาบไปติดตั้งบริเวณเส้นทางสำคัญที่เป็นจุดเสี่ยง เพื่อเตือนให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ นอกจากนี้ขอให้ผู้ใช้รถตรวจสอบสภาพรถให้พร้อมก่อนเดินทาง โดยนำรถไปตรวจสอบสภาพรถยนต์และรถจักรยานยนต์แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ศูนย์บริการตรวจสอบสภาพรถ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ขอให้ร่วมกันสอดส่องดูแลพฤติกรรมการขับขี่ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น แซงกระชั้นชิด ขับส่ายไปมา บรรทุกผู้โดยสารและสัมภาระมากกว่าปกติ หากเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ เพื่อดำเนินการเรียกตรวจในทันที

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์