ค้านลอยตัวค่าแรง! อ.เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯจี้รัฐบาล อย่ามองแรงงาน แค่เป็นปัจจัยการผลิต

ค้านลอยตัวค่าแรง! อ.เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯจี้รัฐบาล อย่ามองแรงงาน แค่เป็นปัจจัยการผลิต

ค้านลอยตัวค่าแรง! อ.เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯจี้รัฐบาล อย่ามองแรงงาน แค่เป็นปัจจัยการผลิต

ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ระบบค่าจ้างลอยตัวนั้น หากนำมาใช้กับประเทศไทย หมายความว่า ไทยจะไม่มีค่าจ้างขั้นต่ำ โดยค่าจ้างขั้นต่ำถือเป็นเงินที่ประกันค่าใช้จ่ายในการครองชีพว่าต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน คือประกันค่าความเป็นคน ไม่ใช่ค่าผลผลิตของลูกจ้างคนนั้น ระบบค่าจ้างลอยตัว เป็นการใช้กลไกทางเศรษฐศาสตร์มาเป็นตัวกำหนด โดยวัดที่ผลงานว่า ยิ่งดีเท่าไรค่าจ้างก็จะสูงเท่านั้น หากผลงานไม่ดีค่าจ้างก็จะลดหลั่นกันลงไป หากใช้วิธีนี้คนที่เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ๆ อาจไม่มีความสามารถมากพอที่จะได้รายได้มาเลี้ยงชีพ

"หากปล่อยให้ค่าจ้างลอยตัว ลูกจ้างจะอยู่ไม่ได้ นั่นแสดงว่ารัฐบาลไม่ได้ดูแล รัฐบาลต้องมองลูกจ้างที่ความเป็นคน ไม่ใช่ปัจจัยการผลิต ค่าจ้างขั้นต่ำถือเป็นการแทรกแซงกลไกการตลาด ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามกลไกการตลาดก็ไม่ใช่ค่าจ้างขั้นต่ำ" นายแลกล่าว และว่า ไม่เห็นด้วยที่คณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) จะกลับไปใช้การพิจารณาค่าจ้างตามจังหวัด เนื่องจากที่ผ่านมาการเก็บข้อมูลค่าครองชีพของอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดมักจะเก็บข้อมูลรวมไปถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านเข้าไปด้วยอีกทั้งร้านสะดวกซื้อในทุกจังหวัดก็มีราคาสินค้าเท่ากัน ดังนั้นการนำวิถีชีวิตชาวบ้านไปรวมกับแรงงานแล้วคิดออกมาเป็นค่าครองชีพในจังหวัดต่างๆ นั้นจึงไม่ถือว่าเป็นการสะท้อนค่าครองชีพที่แท้จริง

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์