สามารถโต้ปูดรถไฟไทย-จีนล่ม ชี้แค่ไม่ร่วมลงทุนแนะเจรจาใหม่

สามารถโต้ปูดรถไฟไทย-จีนล่ม ชี้แค่ไม่ร่วมลงทุนแนะเจรจาใหม่

 10 มิ.ย.58 นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ นายไพศาล พืชมงคล คณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ในรัฐบาล

 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกมาระบุว่า มีนักการเมืองปล่อยข่าวโกหกเรื่องยุติโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนว่า ถือเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนขอ งนายไพศาล เพราะตนไม่ได้บอกว่าโครงการนี้จะยกเลิก แต่ให้ข้อมูลว่า จีนจะไม่ร่วมลงทุนด้วย ซึ่งหมายความว่า จีนจะไม่ลงเงินในการก่อสร้างรถไฟความเร็วปานกลางร่วมกับไทย เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ แต่จีนจะให้ไทยกู้เงินบางส่วนเพื่อใช้ในการก่อสร้างรถไฟเส้นทางดังกล่าว พร้อมทั้งจีนจะรับจ้างก่อสร้างงานบางส่วนที่ผู้รับเหมาไทยไม่ถนัด อีกทั้ง จีนจะขายขบวนรถไฟ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีในไทย

นายสามารถ กล่าวต่อว่า  โครงการดังกล่าวยังคงเดินหน้าตามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding หรือ MOU)


และบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Cooperation หรือ MOC) ระหว่างไทย-จีน แต่ตนทราบมาว่า การเจรจาเรื่องรูปแบบการลงทุนนั้นได้ผลสรุปว่า จีนจะไม่ลงเงินร่วมกับไทยเพื่อใช้ในการก่อสร้างรถไฟเส้นทางดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นไปตามที่คาดหวังกันไว้ นั่นหมายความว่า ในกรณีที่จีนร่วมลงเงินด้วย หากโครงการขาดทุนก็ขาดทุนด้วยกัน หากโครงการมีกำไรก็มีกำไรด้วยกัน

"แต่ในกรณีที่จีนไม่ร่วมลงเงินด้วย ไทยก็ต้องลงเงินทั้งหมด 100% ซึ่งจะเป็นภาระหนักของไทยที่ต้องกู้เงินจำนวนมากมาก่อสร้างและต้องแบกรับภาระความเสี่ยงรวมทั้งภาระดอกเบี้ยทั้งหมดเพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่จีนก็จะได้รับประโยชน์จากรถไฟเส้นทางดังกล่าวด้วย ทั้งดอกเบี้ย การก่อสร้าง การขายขบวนรถไฟและวัสดุอุปกรณ์โดยที่ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงใด ๆ เลย จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนและเจรจากับจีนใหม่เพื่อให้ลงทุนร่วมกันจึงจะทำให้โครงการนี้มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ไม่เช่นนั้นผมเชื่อว่าขาดทุนแน่นอน จึงอยากให้นายไพศาลพิจารณาข้อมูลของผมด้วยความเป็นธรรมจะได้เข้าใจ" นายสามารถกล่าว

นายสามารถ กล่าวด้วยว่า การเดินหน้าโครงการเช่นนี้แตกต่างจากที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เคยวางแนวทางไว้ว่า จะเป็นการร่วมลงทุนด้วยกันคือ

 ตั้งบริษัทร่วมทุน แต่กรณีนี้เท่ากับรัฐต้องลงทุนเอง 100 % เป็นภาระหนักของไทยเพราะเท่ากับขาดทุนฝ่ายเดียวและรับภาระดอกเบี้ย 2-4 % ทั้งที่จีนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ด้วยเพราะเป็นการเชื่อมต่อระบบรางระหว่างประเทศ จึงน่าจะลงทุนร่วมกันซึ่งจะทำให้มีโอกาสในการคุ้มทุน เพราะจีนก็จะพยายามส่งเสริมให้คนในประเทศเดินทางมาประเทศไทยซึ่งจะช่วยให้รถไฟเส้นทางนี้สามารถเลี้ยงตัวเองได้

"ผมยังเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนเรื่องนี้และพิจารณาสถานะประเทศก่อนตัดสินใจ เพราะหากลงทุนไม่คุ้มค่าก็จะเกิดผลเสีย ดังนั้นจึงควรหันมาพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ 1 เมตรให้ทั่วประเทศก่อนก็จะช่วยเรื่องระบบโลจิสติกได้มากและไม่เป็นภาระ กับประเทศด้วย จึงไม่เข้าใจว่าทำไมรัฐบาลจึงไม่ขยายรถไฟทางคู่ 1 เมตรทั่วประเทศ แทนที่จะทำทั้งรถไฟความเร็วสูงและรางมาตรฐานคือกว้างแบบ 1.4 เมตร เพราะจะเป็นภาระทางการเงินของประเทศมากจนเกินไป" นายสามารถกล่าว

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์แนวหน้า


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์