IMFส่งจนท.ประเมินการป้องกันฟอกเงินของไทย

ปปง.เตรียมรับการประเมินจากไอเอ็มเอฟ


ลุ้นมาตรการป้องกันการฟอกเงินสนับสนุนก่อการร้ายของไทย อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสากลหรือไม่ หากตกชั้นไทยอาจถูกแทรกแซงเช่นเดียวกับพม่า


24กพ.) พ.ต.อ.ยุทธบูล ดิสสะมาน เลขาธิการ


สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ เวลา 09.00-16.00 น. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูง 5 คน เข้ามาประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการสนับสนุนการเงินเกี่ยวกับการก่อการร้าย ของประเทศไทย


โดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน


จะเป็นหน่วยงานแรกจาก 42 หน่วยงานของไทย ที่ต้องเข้ารับการประเมิน ซึ่งการที่ไอเอ็มเอฟเข้ามาประเมินประเทศไทย เพื่อตรวจสอบความพร้อมของไทยในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือไม่

โดยสิ่งที่ประเทศไทยจะต้องถูกประเมิน คือ


มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดสากลในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และเงินสนับสนุนการก่อการร้ายอย่างไร มีกฎหมายควบคุมอย่างไร และมีการรายงานธุรกรรมต้องสงสัย ตามระเบียบสากลกำหนดหรือไม่ นอกจากนี้การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในแต่ละประเทศ ต้องมีการประสานความร่วมมือจากหลายหน่วยงานภายในประเทศ โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้วย

พ.ต.อ.ยุทธบูล กล่าวอีกว่า


ปีที่แล้วไอเอ็มเอฟประเมินประเทศสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ส่วนปีนี้ได้ เลือกที่จะประเมินไทย มาเลเซีย และกัมพูชา

หากไทยผ่านการประเมินครั้งนี้

จะได้รับความเชื่อมั่น และความร่วมมือในด้านการทำธุรกรรมการเงินจากทั่วโลก

แต่หากไม่ผ่านผลการประเมิน

ไทยจะถูกแทรกแซงทางการเงิน โดยจะส่งผลให้การโอนเงินระหว่างประเทศ จะไม่สามารถทำได้ หรือมีปัญหา เช่นเดียวกับประเทศพม่าที่ไม่ผ่านการประเมิน ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ก็มีผลการประเมินที่ไม่ค่อยดีนัก

พ.ต.อ.ยุทธบูล กล่าวด้วยว่า


สำหรับหน่วยงานไทยที่ไอเอ็มเอฟจะเข้าประเมิน ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม สำนักงานปปง. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ รวมทั้งผู้ประกอบการโอนเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น


โดยการประเมินดังกล่าว จะครอบคลุมเรื่องการจัดระบบกฎหมาย


ระบบการป้องกันการฟอกเงินสำหรับสถาบันการเงิน และการดำเนินงานของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ซึ่งจะมีคำถามสอบถามแต่ละหน่วยงานกว่า 500 ข้อ ที่เน้นในการปฏิบัติตามกรอบกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 49 ข้อ และกฎหมายป้องกันการสนับสนุนการเงินเกี่ยวกับการก่อการร้าย 9 ข้อ โดยในการประเมินแต่ละครั้งจะมีข้อแนะนำในการปฏิบัติของสถาบันการเงิน ที่จะต้องรู้จักลูกค้า และแหล่งที่มาของเงินดังกล่าว ซึ่งจะมีการปรับเพิ่มมาตรฐานมากขึ้น


อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้า


นี้ปปง.ได้ร่วมมือกับสถาบันการเงินต่างๆ ในการพัฒนาระบบตรวจสอบธุรกรรมการเงินต้องสงสัย เพื่อรองรับการเข้ามาประเมินผลของไอเอ็มเอฟ โดยมีการกำชับให้สถาบันการเงินเข้มงวดการเปิดบัญชีเงินฝากของลูกค้า ซึ่งผู้เปิดบัญชีเงินฝากต้องมีตัวตนจริง ไม่สามารถเปิดบัญชีเงิน ฝากหรือทำธุรกรรมการเงินโดยใช้นามแฝง


นอกจากนี้


ยังมีการออกระเบียบให้ผู้ประกอบการค้าอัญมณีทองคำ และรถยนต์ ส่งรายงานธุรกรรมลูกค้าที่ซื้อขายด้วยเงินสดมายังปปง.ด้วย นอกจากนี้ปปง.ยังได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมเป็นสายลับปปง. เพื่อแจ้งเบาะแสพฤติกรรมการฟอกเงินเข้ามายังปปง.ด้วย

ในส่วนของระเบียบปปง.ที่ให้สินบนรางวัล


แก่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบพบธุรกรรมการเงิน ที่ได้มาจากการฟอกเงิน โดยถือเป็นระเบียบที่ไม่มีปฏิบัติในสำนักงานปปง.ของประเทศใดในโลก จนเป็นที่หวั่นเกรงว่า อาจทำให้ไทยไม่ผ่านการประเมินนั้น กระทรวงยุติธรรมได้ยกร่างแก้ไขกฎหมาย ไม่ให้มีเงินสินบนรางวัล โดยให้เปลี่ยนสินบนรางวัล เป็นการจัดตั้งกองทุนป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อนำเงินส่วนแบ่งที่ได้จากการยึดอายัดทรัพย์มาใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรของปปง.


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์