"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สอบถามความคิดเห็นจากวัยรุ่นและเยาวชนทั่วประเทศ กรณีความสนใจของ "วัยรุ่น/เยาวชน" กับการเลือกตั้ง จำนวนทั้งสิ้น 1,219 คน ระหว่างวันที่ 14-17 พฤษภาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้
1. "สื่อ" ที่ทำให้ วัยรุ่น/เยาวชน รับรู้ข่าวสารการเลือกตั้งมากที่สุด
1.โทรทัศน์ 62.60% 2.อินเทอร์เน็ต 12.32% 3.หนังสือพิมพ์ 9.73% 4.ป้ายประกาศ /ป้ายหาเสียง 8.96% และอื่นๆ เช่น วิทยุ ,สื่อบุคคล เช่น จากเพื่อน คนใกล้ชิด ฯลฯ 6.39%
2. "พรรคการเมือง" ที่วัยรุ่น/เยาวชน ชื่นชอบมากที่สุด คือ
1.พรรคประชาธิปัตย์ 37.18%
2.พรรคเพื่อไทย 32.03%
3.ไม่ชอบพรรคใดเลย 24.92%
4.พรรคชาติไทยพัฒนา 3.85% และอื่นๆ เช่น พรรคการเมืองใหม่ พรรคภูมิใจไทย พรรครักษ์สันติ พรรคประชาราษฎร์ ฯลฯ 2.02%
3. "ส.ส." แบบใด? ที่วัยรุ่น/เยาวชน อยากได้
1.เป็นคนดี ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง มีคุณธรรม 35.47%
2.พูดจริงทำจริง ขยัน ตั้งใจทำงาน ปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด 28.13%
3.เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า / ไม่เห็นแก่พวกพ้องหรือแบ่งพรรคแบ่งพวก 18.28%
4.เข้าถึงประชาชน รับฟังปัญหา /เป็นกระบอกเสียง เป็นตัวแทนประชาชน 10.68%
5.เป็นคนรุ่นใหม่ มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ 7.44%
4. วัยรุ่น/เยาวชน คิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะทำให้บ้านเมืองเป็นอย่างไร ?
1.เหมือนเดิม 72.58% เพราะถึงแม้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้ชนะแต่อีกฝ่ายก็จะไม่เห็นด้วยอยู่ดี ยังคงทะเลาะเบาะแว้ง แตกแยก ขาดความสามัคคีเหมือนเดิม การเมืองมีแต่เรื่องแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ ฯลฯ
2. ดีขึ้น 22.18% เพราะเป็นการเลือกตั้งที่มาจากเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง มีความเป็นประชาธิปไตย , เป็นการเปิดโอกาสให้ ส.ส. ที่ได้รับเลือกเข้ามาได้พิสูจน์หรือแสดงฝีมือให้ประชาชนได้เห็นถึงความรู้ความสามารถที่มี ฯลฯ
3. แย่ลง 5.24% เพราะจากข่าวที่นำเสนอจะเห็นได้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ดุเดือด รุนแรง ,อาจมีการชุมนุม ต่อต้านจากกลุ่มคนที่ไม่ยอมรับกับผลที่ออกมา สร้างสถานการณ์บ้านเมืองให้วุ่นวาย ฯลฯ
5. วัยรุ่น/เยาวชน มีความคิดเห็นอย่างไร? กับการติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ (เช่น facebook twitter chat internet)
1.ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทั้งทางมือถือ โน๊ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์ ฯลฯ 43.36%
2.เป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถสืบค้นหรืออ่านข่าวย้อนหลังได้ 22.27%
3.เปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นลงไปในหัวข้อหรือกระทู้ต่างๆได้ 15.40%
4.มีเสรีภาพในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจนทำให้บางครั้งข้อมูลมีความคลาดเคลื่อน เพราะยังไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด /ควบคุมยาก /ผู้อ่านควรมีวิจารณญาณ 12.38%
5. เป็นช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นได้ง่ายแต่อาจจะไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม เช่น เด็กที่อยู่ในเมืองกับนอกเมือง 6.59%
6. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารบนโลกอินเทอร์เน็ตหรือผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งหรือไม่?
1.มีผล 56.04% เพราะทำให้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากกลุ่มคนที่หลากหลาย รู้ว่าคนส่วนใหญ่คิดอย่างไร เป็นการเปิดกว้างทางความคิด, ทำให้รู้ว่าแต่ละพรรคการเมืองมีนโยบายหรือวิธีการทำงานอย่างไร, สามารถสืบค้น ค้นหาข้อมูลที่ต้องการหรืออยากรู้ได้ เช่น ประวัติ ผลงาน การทำงานของนักการเมือง ฯลฯ
2.ไม่มีผล 43.96% เพราะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและมุมมองของแต่ละคน มีนักการเมืองที่ชื่นชอบอยู่แล้ว,ไม่ว่าจะเผยแพร่ข่าวสารทางช่องทางใด พฤติกรรมของนักการเมืองและสภาพการเมืองไทยก็ยังคงเหมือนเดิม, ตั้งใจว่าจะไม่เลือกใคร ฯลฯ
สวนดุสิตโพลเผย ประชาธิปัตย์ ครองใจวัยโจ๋ เชื่อเลือกตั้งแล้วบ้านเมืองเหมือนเดิม
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง สวนดุสิตโพลเผย ประชาธิปัตย์ ครองใจวัยโจ๋ เชื่อเลือกตั้งแล้วบ้านเมืองเหมือนเดิม
Love illusion ความรักลวงตา เพลงที่เข้ากับสังคมonline
Love illusion Version 2คนฟังเยอะ จนต้องมี Version2กันทีเดียว
Smiling to your birthday เพลงเพราะๆ ไว้ส่งอวยพรวันเกิด หรือร้องแทน happybirthday