สวนดุสิตโพลเผย ประชาธิปัตย์ ครองใจวัยโจ๋ เชื่อเลือกตั้งแล้วบ้านเมืองเหมือนเดิม

"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สอบถามความคิดเห็นจากวัยรุ่นและเยาวชนทั่วประเทศ กรณีความสนใจของ "วัยรุ่น/เยาวชน" กับการเลือกตั้ง จำนวนทั้งสิ้น 1,219 คน  ระหว่างวันที่ 14-17 พฤษภาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้

1.  "สื่อ" ที่ทำให้ วัยรุ่น/เยาวชน รับรู้ข่าวสารการเลือกตั้งมากที่สุด 
1.โทรทัศน์ 62.60% 2.อินเทอร์เน็ต 12.32% 3.หนังสือพิมพ์ 9.73% 4.ป้ายประกาศ /ป้ายหาเสียง 8.96% และอื่นๆ    เช่น วิทยุ ,สื่อบุคคล เช่น จากเพื่อน คนใกล้ชิด ฯลฯ 6.39%

2. "พรรคการเมือง" ที่วัยรุ่น/เยาวชน ชื่นชอบมากที่สุด คือ
1.พรรคประชาธิปัตย์    37.18%
2.พรรคเพื่อไทย    32.03%
3.ไม่ชอบพรรคใดเลย    24.92%
4.พรรคชาติไทยพัฒนา 3.85% และอื่นๆ เช่น พรรคการเมืองใหม่ พรรคภูมิใจไทย พรรครักษ์สันติ พรรคประชาราษฎร์ ฯลฯ 2.02%

3. "ส.ส." แบบใด? ที่วัยรุ่น/เยาวชน อยากได้
1.เป็นคนดี ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง มีคุณธรรม 35.47%
2.พูดจริงทำจริง  ขยัน ตั้งใจทำงาน ปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด 28.13%
3.เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า / ไม่เห็นแก่พวกพ้องหรือแบ่งพรรคแบ่งพวก 18.28%
4.เข้าถึงประชาชน รับฟังปัญหา /เป็นกระบอกเสียง เป็นตัวแทนประชาชน 10.68%
5.เป็นคนรุ่นใหม่ มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ 7.44%

4. วัยรุ่น/เยาวชน  คิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะทำให้บ้านเมืองเป็นอย่างไร ?
1.เหมือนเดิม 72.58% เพราะถึงแม้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้ชนะแต่อีกฝ่ายก็จะไม่เห็นด้วยอยู่ดี ยังคงทะเลาะเบาะแว้ง แตกแยก ขาดความสามัคคีเหมือนเดิม การเมืองมีแต่เรื่องแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ ฯลฯ
2. ดีขึ้น 22.18% เพราะเป็นการเลือกตั้งที่มาจากเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง  มีความเป็นประชาธิปไตย , เป็นการเปิดโอกาสให้ ส.ส. ที่ได้รับเลือกเข้ามาได้พิสูจน์หรือแสดงฝีมือให้ประชาชนได้เห็นถึงความรู้ความสามารถที่มี ฯลฯ
3. แย่ลง 5.24% เพราะจากข่าวที่นำเสนอจะเห็นได้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ดุเดือด รุนแรง ,อาจมีการชุมนุม ต่อต้านจากกลุ่มคนที่ไม่ยอมรับกับผลที่ออกมา สร้างสถานการณ์บ้านเมืองให้วุ่นวาย ฯลฯ

5. วัยรุ่น/เยาวชน  มีความคิดเห็นอย่างไร? กับการติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์   (เช่น  facebook   twitter  chat  internet)
1.ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทั้งทางมือถือ โน๊ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์ ฯลฯ 43.36%
2.เป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถสืบค้นหรืออ่านข่าวย้อนหลังได้ 22.27%
3.เปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นลงไปในหัวข้อหรือกระทู้ต่างๆได้ 15.40%
4.มีเสรีภาพในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจนทำให้บางครั้งข้อมูลมีความคลาดเคลื่อน เพราะยังไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด /ควบคุมยาก /ผู้อ่านควรมีวิจารณญาณ 12.38%
5. เป็นช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นได้ง่ายแต่อาจจะไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม เช่น เด็กที่อยู่ในเมืองกับนอกเมือง 6.59%

6. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารบนโลกอินเทอร์เน็ตหรือผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งหรือไม่?  
1.มีผล 56.04% เพราะทำให้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากกลุ่มคนที่หลากหลาย รู้ว่าคนส่วนใหญ่คิดอย่างไร เป็นการเปิดกว้างทางความคิด, ทำให้รู้ว่าแต่ละพรรคการเมืองมีนโยบายหรือวิธีการทำงานอย่างไร, สามารถสืบค้น ค้นหาข้อมูลที่ต้องการหรืออยากรู้ได้ เช่น ประวัติ ผลงาน การทำงานของนักการเมือง ฯลฯ
2.ไม่มีผล 43.96% เพราะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและมุมมองของแต่ละคน มีนักการเมืองที่ชื่นชอบอยู่แล้ว,ไม่ว่าจะเผยแพร่ข่าวสารทางช่องทางใด พฤติกรรมของนักการเมืองและสภาพการเมืองไทยก็ยังคงเหมือนเดิม, ตั้งใจว่าจะไม่เลือกใคร ฯลฯ

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์