หมายเหตุ"มติชนออนไลน์"-โครงสร้าง การบริหารจัดการ อำนาจหน้าที่ การกำกับติดตามสายการบังคับบัญชาของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.)ที่จัดตั้งขึ้นภายหลังรัฐบาลประกาศใช้ พ.รงบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 เพื่อรับมือการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)หรือกลุ่มเสื้อแดง
ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติภารกิจในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง
และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอธัญบุรี อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี อำเภอกระทุ่มแบน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง อำเภอบางบ่อ อำเภอพระประแดง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอพุทธมณฑล อำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง และอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามประกาศเรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 17 ของ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551
1. โครงสร้างการจัด : ศอ.รส. มีการจัดประกอบไปด้วย 5 ส่วนงานหลัก ดังนี้
1.1 กองบัญชาการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (บก.ศอ.รส.) โดยประกอบไปด้วยกลุ่มฝ่ายอำนวยการของ ศอ.รส. จำนวน 6 ส่วน ดังนี้
1.1.1 ส่วนข่าวร่วม (สขร.)
1.1.2 ส่วนยุทธการ (สยก.)
1.1.3 ส่วนกิจการพลเรือน (สกร.)
1.1.4 ส่วนบริหารงานกลาง (สบก.)
1.1.5 ชุดประสานงาน กอ.รมน.
1.1.6 หน่วยแพทย์ (จัดตั้งโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ)
1.2 ส่วนระวังป้องกันกองบัญชาการ ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ส่วนระวังป้องกัน บก.ศอ.รส.)
1.3 กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) มีการจัดส่วนงาน จำนวน 4 ส่วน ดังนี้
.3.1 ที่บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (บก.กกล.รส.)
1.3.2 กำลังทหาร
1.3.3 กำลังตำรวจ
1.3.4 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร
1.3.5 หน่วยเรือรักษาความปลอดภัย
1.3.6 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1.4 ที่ปรึกษา
1.5 คณะทำงานประสานงานกับกลุ่มผู้ชุมนุม