เปิดโครงสร้าง ศอ.รส.ระดมกำลัง 34,000นายรับมือม็อบเสื้อแดง

หมายเหตุ"มติชนออนไลน์"-โครงสร้าง การบริหารจัดการ อำนาจหน้าที่ การกำกับติดตามสายการบังคับบัญชาของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.)ที่จัดตั้งขึ้นภายหลังรัฐบาลประกาศใช้ พ.รงบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551  เพื่อรับมือการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)หรือกลุ่มเสื้อแดง


ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติภารกิจในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง

และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอธัญบุรี อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี อำเภอกระทุ่มแบน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง อำเภอบางบ่อ อำเภอพระประแดง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอพุทธมณฑล อำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง และอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามประกาศเรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 17 ของ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551


1. โครงสร้างการจัด : ศอ.รส. มีการจัดประกอบไปด้วย 5 ส่วนงานหลัก ดังนี้


1.1 กองบัญชาการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (บก.ศอ.รส.) โดยประกอบไปด้วยกลุ่มฝ่ายอำนวยการของ ศอ.รส. จำนวน 6 ส่วน ดังนี้

1.1.1 ส่วนข่าวร่วม (สขร.)

1.1.2 ส่วนยุทธการ (สยก.)

1.1.3 ส่วนกิจการพลเรือน (สกร.)

1.1.4 ส่วนบริหารงานกลาง (สบก.)

1.1.5 ชุดประสานงาน กอ.รมน.

1.1.6 หน่วยแพทย์ (จัดตั้งโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ)


1.2 ส่วนระวังป้องกันกองบัญชาการ ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ส่วนระวังป้องกัน บก.ศอ.รส.)


1.3 กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) มีการจัดส่วนงาน จำนวน 4 ส่วน ดังนี้

.3.1 ที่บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (บก.กกล.รส.)
1.3.2 กำลังทหาร
1.3.3 กำลังตำรวจ
1.3.4 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร
1.3.5 หน่วยเรือรักษาความปลอดภัย
1.3.6 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย


1.4 ที่ปรึกษา


1.5 คณะทำงานประสานงานกับกลุ่มผู้ชุมนุม


2. สายการบังคับบัญชา


2.1 รอง นรม. (ฝ่ายความมั่นคง) เป็น ผอ.ศอ.รส.


2.2 รมว.กห. เป็น รอง ผอ.ศอ.รส.

2.3 ผบ.ทบ./รอง ผอ.รมน. เป็น ผช.ผอ.ศอ.รส.


2.4 ผบ.ตร. เป็น ผช.ผอ.ศอ.รส.

2.5 เสธ.ทบ./ลธ.รมน. เป็น เสธ.ศอ.รส.


3. ภารกิจของ ศอ.รส. : ป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และบรรเทาเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอธัญบุรี อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี อำเภอกระทุ่มแบน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง อำเภอบางบ่อ อำเภอพระประแดง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอพุทธมณฑล อำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง และอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2553 เป็นต้นไป เพื่อแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐให้คลี่คลายกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด


4. หน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละส่วนงาน


4.1 บก.ศอ.รส.

4.1.1 สขร. : วางแผน อำนวยการ ประสานงาน บูรณาการ และกำกับดูแลงานด้านการข่าวทั้งปวง ตลอดจนการดำเนินกรรมวิธีต่อข่าวสาร เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ที่รับผิดชอบตามที่ได้มีการประกาศพื้นที่ฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อสถานการณ์

4.1.2 สยก. :

4.1.2.1 วางแผน อำนวยการ ประสานงานและกำกับการใช้กำลัง ทหาร ตำรวจ พลเรือน ในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในพื้นที่ที่ได้มีการประกาศพื้นที่ฯ

4.1.2.2 วางแผน อำนวยการ ประสานงานและกำกับการปฏิบัติการข่าวสารเพื่อสนับสนุน ศอ.รส.

4.1.3 สกร. :

4.1.3.1 วางแผน อำนวยการ ประสานงานและกำกับการปฏิบัติงานกิจการพลเรือน งานปฏิบัติการจิตวิทยาและประชาสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุน ศอ.รส.

4.1.3.2 วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับดูแล เสนอแนะ การจัดตั้งและการปฏิบัติของหน่วยราชการพลเรือน องค์กรภาคเอกชน มวลชน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติของศอ.รส.

4.1.3.3 ประเมินผลกระทบการใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ตามที่ได้มีการประกาศพื้นที่ฯ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชา และหน่วยต่างๆ ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินสถานการณ์/พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง


4.1.4 สบก. : วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และกำกับการปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนทั้งปวงให้แก่ ศอ.รส. ทั้งด้านกำลังพล ส่งกำลังบำรุง งบประมาณ การเงิน งานสารบรรณ งานกฎหมาย และการจัดการประชุม

4.1.5 ชุดประสานงาน กอ.รมน.

4.1.5.1 ติดตาม/ประเมินสถานการณ์ อย่างใกล้ชิดเพื่อรายงาน/แจ้งเตือนการปฏิบัติที่สำคัญให้ ศอ.รส.ทราบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

4.1.5.2 ประสานส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ ศอ.รส.

4.1.5.3 จัดทำสรุปรายงานผลการปฏิบัติงานของ ศอ.รส.เพื่อเสนอต่อรัฐสภา

4.1.6 หน่วยแพทย์ (จัดตั้งโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ) : วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และกำกับการปฏิบัติด้านการให้บริการทางการแพทย์ แก่ ศอ.รส.


4.2 ส่วนระวังป้องกัน บก.สอ.รส. รับผิดชอบจัดการระวังป้องกันที่ตั้ง บก.ศอ.รส. ให้ปลอดภัยจากการก่อวินาศกรรม การจารกรรม รวมทั้งการสร้างสถานการณ์ความวุ่นวายจากบุคคล/กลุ่มบุคคลที่ไม่ประสงค์ดีต่างๆ


4.3 กกล.รส. : ใช้กำลังพลเรือน ตำรวจ และทหาร เพื่อปฏิบัติภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ที่มีการประกาศพื้นที่ฯ


4.4 ที่ปรึกษา ศอ.รส. : มีหน้าที่ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะแก่ ศอ.รส. หรือตามที่ ผอ.ศอ.รส.มอบหมาย


4.5 คณะทำงานประสานงานกับกลุ่มผู้ชุมนุม : มีหน้าที่ในการประสานงานกับกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อให้การชุมนุมอย่างสันติและปราศจากอาวุธ เป็นไปโดยสงบและไม่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น


5. ที่ตั้งของ ศอ.รส.


5.1 ที่ปฏิบัติงานหลัก : กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.)


5.2 ที่ปฏิบัติงานสำรอง : กองบัญชาการกองทัพไทย (บก.ทท.)


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์