เช็กเลย! ผลโพลนิด้า พรรคไหนมีโอกาสได้เป็นรัฐบาลในสายตา ปชช.
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง เช็กเลย! ผลโพลนิด้า พรรคไหนมีโอกาสได้เป็นรัฐบาลในสายตา ปชช.
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "6 พรรคกับโอกาส ได้เป็นรัฐบาล" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับ 6 พรรคกับโอกาสได้เป็นรัฐบาล
จากการสำรวจเมื่อให้ประชาชนวิเคราะห์ถึงโอกาสที่พรรคการเมืองทั้ง 6 พรรค ซึ่งกำลังมีกระแสข่าวการไหลเข้า-ออก ของนักการเมืองจะได้เป็นรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า
1.พรรคเพื่อไทย (นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว/น.ส.แพทองธาร ชินวัตร) ตัวอย่าง ร้อยละ 40.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก รองลงมา ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 16.88 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 2.06 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
2.พรรคก้าวไกล (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์) ตัวอย่าง ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 30.23 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 23.66 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 11.00 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.66 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
3.พรรคพลังประชารัฐ (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ตัวอย่าง ร้อยละ 33.51 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 32.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 20.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 10.76 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 2.75 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
4.พรรครวมไทยสร้างชาติ (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค/พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ตัวอย่าง ร้อยละ 43.12 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 15.73 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 5.73 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.97 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
5.พรรคภูมิใจไทย (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ตัวอย่าง ร้อยละ 39.16 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 30.84 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 21.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 4.96 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.44 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
6.พรรคประชาธิปัตย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ตัวอย่าง ร้อยละ 40.69 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 38.93 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 13.20 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 4.58 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อกระแสข่าวข้อตกลงการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.65 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย เพราะเป็นเพียงแค่กระแสข่าวลือ โอกาสเป็นไปได้ยาก
เนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน รองลงมา ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ เพราะทั้งสองพรรคต่างต้องการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของตนเองจึงไม่น่าจะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลได้ ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ เพราะการเมืองเป็นเรื่องของการหาผลประโยชน์จึงมีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองพรรคจะตกลงจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน ร้อยละ 5.19 ระบุว่า เชื่อมาก เพราะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยเคยมีความสัมพันธ์กันในอดีต จึงอาจมีการหารือเพื่อตกลงเรื่องผลประโยชน์หากได้เป็นรัฐบาลร่วมกัน และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
จากการสำรวจเมื่อให้ประชาชนวิเคราะห์ถึงโอกาสที่พรรคการเมืองทั้ง 6 พรรค ซึ่งกำลังมีกระแสข่าวการไหลเข้า-ออก ของนักการเมืองจะได้เป็นรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า
1.พรรคเพื่อไทย (นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว/น.ส.แพทองธาร ชินวัตร) ตัวอย่าง ร้อยละ 40.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก รองลงมา ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 16.88 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 2.06 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
2.พรรคก้าวไกล (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์) ตัวอย่าง ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 30.23 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 23.66 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 11.00 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.66 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
3.พรรคพลังประชารัฐ (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ตัวอย่าง ร้อยละ 33.51 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 32.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 20.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 10.76 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 2.75 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
4.พรรครวมไทยสร้างชาติ (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค/พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ตัวอย่าง ร้อยละ 43.12 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 15.73 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 5.73 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.97 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
5.พรรคภูมิใจไทย (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ตัวอย่าง ร้อยละ 39.16 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 30.84 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 21.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 4.96 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.44 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
6.พรรคประชาธิปัตย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ตัวอย่าง ร้อยละ 40.69 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 38.93 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 13.20 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 4.58 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อกระแสข่าวข้อตกลงการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.65 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย เพราะเป็นเพียงแค่กระแสข่าวลือ โอกาสเป็นไปได้ยาก
เนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน รองลงมา ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ เพราะทั้งสองพรรคต่างต้องการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของตนเองจึงไม่น่าจะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลได้ ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ เพราะการเมืองเป็นเรื่องของการหาผลประโยชน์จึงมีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองพรรคจะตกลงจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน ร้อยละ 5.19 ระบุว่า เชื่อมาก เพราะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยเคยมีความสัมพันธ์กันในอดีต จึงอาจมีการหารือเพื่อตกลงเรื่องผลประโยชน์หากได้เป็นรัฐบาลร่วมกัน และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น