ครม.ไฟเขียวงบ 4 พันล้าน ทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ช่วงโควิด


ครม.ไฟเขียวงบ 4 พันล้าน ทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ช่วงโควิด

8 กันยายน 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ... ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เสนอ โดยงบประมาณในการทำประชามติใช้งบประมาณ 3,000 ล้านบาท แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทางเลขาธิการกกต.แจ้งว่า อาจต้องใช้งบเพิ่ม 1,000 ล้านบาทรวมเป็น 4,000 ล้านบาท

ด้าน น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเป็นการดำเนินการควบคู่ไปกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รัฐสภากำลังจะเข้าสู่วาระการพิจารณาและเสียงเรียกร้องของประชาชน รัฐบาลจึงเห็นด้วยกับเรื่องนี้ที่จะเดินหน้าต่อไป ทั้งนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2560 รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (8) กำหนดว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆตามรัฐธรรมนูญจะต้องมีการทำประชามติ ซึ่งปัจจุบันเรายังไม่มีการตรากฎหมายการออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญ 2560 กฎหมายฉบับเก่าเป็นของรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งขณะนี้ยกเลิกไปเรียบร้อยแล้ว จึงมีความจำเป็นต้องยกร่างกฎหมายพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ดังนั้น ที่ประชุมครม.จึงมีมติเห็นชอบ โดยลำดับต่อไปจะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วนและประสานกับทางสภาฯต่อไป

น.ส.รัชดา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สาระสำคัญร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ เป็นการกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกเสียงประชามติ โดยยังคงหลักการตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการออกเสียง พ.ศ. 2552 แต่มีการปรับแก้ให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน โดยสาระสำคัญคือ

1. กำหนดให้การออกเสียงประชามติมี 2 กรณี คือ กรณีมาตรา 166 ของรัฐธรรมนูญ ครม.จะขอให้มีการออกเสียงในเรื่องที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับคนหรือคณะบุคคลใดเพื่อให้มีข้อยุติ โดยให้นายกฯประกาศให้มีการออกเสียงประชามติในราชกิจจานุเบกษา

2.เป็นไปตามมาตรา 256 (8) ของรัฐธรรมนูญ ถ้าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆให้กกต.ประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา รวมถึงกำหนดให้การออกเสียงใช้วิธีลงคะแนนโดยตรงและลับ

3.กำหนดให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบเรื่องการทำประชามติต้องดำเนินการให้ข้อมูลการจัดทำประชามติแก่ผู้มีสิทธิออกเสียงได้รับทราบอย่างเพียงพอและกำหนดให้ผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด เช่น สัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันออกเสียง รวมถึงกำหนดความผิดและบทลงโทษ เช่น กำหนดโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับหรือเพิ่มถอนสิทธิการเลือกตั้งไม่เกิน 5 ปี และกรณีศาลมีคำพิพากษาลงโทษผู้ใดตามฐานความผิด ตามพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวและเป็นผู้กระทำให้การออกเสียงไม่เป็นไปโดยสุจริต ผู้นั้นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการออกเสียงในหน่วยนั้นด้วย

"ค่าใช่จ่ายประมาณการไว้ 3,150 ล้านบาท แต่ช่วงสถานการณ์โควิดเกิดขึ้น รูปแบบการจัดการประชามติ ต้องมีการปรับจำนวนหน่วยลงคะแนนมีเพิ่มมากขึ้น ยืนยันว่างบ 4 พันล้านเป็นงบเฉพาะการจัดการให้มีการลงคะแนนประชามติ ส่วนการลงมติรัฐธรรมนูญถ้ามีงบในเรื่องของการจัดพิมพ์รายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นของสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ" น.ส.รัชดา กล่าว


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์แนวหน้า


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10:13 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์