ปิยบุตร ซัดรัฐบาลซ่อนเร้น อ้างโควิด-19หวังนศ.เลิกชุมนุม!
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 1 มี.ค. นายปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก เกี่ยวกับประเด็นการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินนี้ว่า "ผมเคยประกอบอาชีพอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิชาหนึ่งที่ผมรับผิดชอบบรรยายต่อเนื่องทุกปี คือ วิชากฎหมายปกครอง ในระบบกฎหมายปกครอง มีหลักการพื้นฐานที่สำคัญ คือ "หลักความชอบด้วยกฎหมาย" ซึ่งเรียกร้องว่า
2. การใช้อำนาจต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย - เมื่อมีกฎหมายให้อำนาจแล้ว องค์กรเจ้าหน้าที่ต้องใช้อำนาจนั้นโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
คำสั่งหรือกฎที่อออกมาแล้วไม่ชอบด้วยกฎหมายมาจากหลายเหตุ เหตุหนึ่งที่สำคัญ คือ การใช้อำนาจโดยบิดผัน หรือที่ในกฎหมายปกครองฝรั่งเศส ซึ่งประเทศไทยรับมาใช้ เรียกว่า "Détournement de pouvoir"
กล่าวคือ มีกฎหมายให้อำนาจองค์กรเจ้าหน้าที่ในการจำกัดเสรีภาพหลากหลายฉบับ แต่ละฉบับก็จะมีวัตถุประสงค์กำกับ เมื่อใช้กฎหมายเหล่านั้น ก็ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ยังมีหลักเรื่อง "ความพอสมควรแก่เหตุ" หรือ "ความได้สัดส่วน" ที่เรียกร้องว่า การออกมาตรการหรือคำสั่งที่กระทบกับเสรีภาพ ต้องทำเท่าที่จำเป็น ไม่เกินกว่าเหตุ หากมีการออกคำสั่งห้ามการชุมนุมโดยอ้างเรื่องป้องกันโรคระบาด แต่ลึก ๆ แล้ว มีเจตนาต้องการห้ามมิให้ชุมนุมต้านรัฐบาล เช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจตัดสินใจออกคำสั่งที่บิดผัน อ้างเรื่องโรคระบาด ทั้ง ๆ ที่ลึก ๆ แล้วไม่ต้องการให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ต่อต้านรัฐบาล
นอกจากนี้ การห้ามการชุมนุมโดยอ้างเรื่องป้องกันโรคระบาด ก็ต้องพิจารณาเรื่องความพอสมควรแก่เหตุด้วย ดังนี้ 1. เมื่อสั่งห้ามการชุมนุมแล้วสามารถป้องกันการระบาดได้จริง, 2. ไม่มีวิธีการอื่นใดที่ดีกว่านี้อีกแล้ว ที่จะป้องกันโรคระบาดได้ นอกจากห้ามการชุมนุม, 3. การห้ามการชุมนุม ได้ประโยชน์มากกว่าสิ่งที่เสียไป ดังนั้นหากมีมาตรการอื่นที่ป้องกันได้ และกระทบเสรีภาพน้อยกว่า ไม่ต้องถึงขั้นห้ามชุมนุม ก็ต้องใช้มาตรการอื่นก่อนสถานการณ์โรคระบาด
ขณะนี้น่าเป็นห่วงมาก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชน รัฐบาลจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันอย่างรอบด้าน ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนโปร่งใสตรงไปตรงมาต่อประชาชน และควรต้องทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอุปกรณ์และสิ่งของจำเป็นในการป้องกันโรคระบาดได้ มิใช่พุ่งเป้ามาที่การห้ามการรวมตัวของคนหมู่มากในที่ชุมนุมของนิสิตนักศึกษา
ทั้งหมดนี้ต้องกระทำด้วยความจริงใจมิใช่มีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้น มิเช่นนั้นประชาชนย่อมมีสิทธิตั้งข้อสงสัยได้ว่าในท้ายที่สุดแล้ว การห้ามชุมนุมเป็นการใช้ประโยชน์จากสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดเพื่อจำกัดเสรีภาพการแสดงออกของนักเรียนนิสิตนักศึกษาเยาวชนหรือไม่?