ย้อนไทม์ไลน์ คดี “โอ๊ค” ฟอกเงินกรุงไทย ก่อน “ยกฟ้อง”
โดยศาลได้นัดฟังคำพิพากษาคดีฟอกเงิน ทุจริตการปล่อยสินเชื่อของ ธ.กรุงไทย ให้ธุรกิจเครือกฤษดามหานคร คดีหมายเลขดำ อก.245/2561 ที่พนักงานอัยการคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน และสมคบกันฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5, 9, 60 และพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2558 มาตรา 10 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 91
โดยคดีนี้อัยการยื่นฟ้อง นายพานทองแท้ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561 จากกรณี นายพานทองแท้ รับโอนเงินเป็นเช็ค จำนวน 10 ล้านบาท เข้าบัญชี ซึ่งมีการกล่าวหาว่าเงินนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำจากการทุจริตปล่อยกู้สินเชื่อระหว่าง ธ.กรุงไทยกับเอกชนกลุมกฤษดามหานคร ที่มีนายวิชัย กฤษดาธานนท์ อายุ 80 ปี ผู้บริหารกฤษดามหานคร กับนายรัชฎา กฤษดาธานนท์ อายุ 53 ปี ซึ่งเป็นบุตรชายของนายวิชัย และอดีตคณะผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ตกเป็นจำเลยในคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้จำ โดยคดีนี้อัยการยื่นฟ้องนายพานทองแท้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561 กับ นายวิชัยและนายรัชฎา บุตรชาย บริษัทเอกชนในเครือกฤษดา รวม 6 คนนั้น ก็ถูกอัยการยื่นฟ้องความผิดฟอกเงินการทุจริตปล่อยกู้ดังกล่าวต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเช่นกันด้วย
ซึ่งขั้นพิจารณาศาลอาญาคดีทุจริต นายพานทองแท้ จำเลย ก็ให้การปฏิเสธสู้คดีว่าไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องซึ่งเงินดังกล่าวเป็นส่วนที่จะร่วมลงทุนธุรกิจนำเข้ารถซุปเปอร์คาร์กับนายรัชฎา บุตรชายของนายวิชัย อดีตผู้บริหารกฤษดามหานคร ขณะที่นายพานทองแท้ได้รับการประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี 1 ล้นบาท พร้อมเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
ในปี 2548 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ตรวจพบการกระทำความผิดและร้องทุกข์ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสอบสวน
เดือนกันยายน 2549 เกิดการรัฐประหาร โดยพล.อ.สนธิ บุณรัตกริน และมีการจัดตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส) และเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ป.ป.ช. ได้ส่งสำนวนการสอบสวนกรณีทุจริตปล่อยกู้กรุงไทย ให้ คตส.
เดือนมีนาคม 2550 กรมสอบสวนคดีพิเศษ ตั้งคดีพิเศษที่ 36/2550 เพื่อสอบสวนการกระทำความผิดฐานฟอกเงินของผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ซึ่งได้สอบสวนพยานอื่นๆที่เป็นผู้รับเงินด้วย รวมถึงนายพานทองแท้ นางกาญจนาภา นายวันชัย และนางเกศินี
เดือนสิงหาคม 2558 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาว่า ผู้บริหารธ.กรุงไทยและนายวิชัย-นายรัชฏา กฤษดาธานนท์ มีความผิดฐานทุจริตและใน ปี 2560 กรมสอบสวนคดีพิเศษ สรุปสำนวนคดีพิเศษที่ 36/2550 โดยมีความเห็นควรสั่งฟ้อง นายวิชัย นายรัชฎา กับบุคคลและนิติบุคคลอื่น รวม 13 ราย (หมดอายุความเพราะเป็นนิติบุคคล กับเสียชีวิตบางราย) ในความผิดฐานฟอกเงินและสมคบกันฟอกเงิน ส่งต่อพนักงานอัยการ
เดือนตุลาคม 2560 กรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวหานายพานทองแท้ ชินวัตร นางกาญจนาภา หงษ์เหิน นายวันชัย หงษ์เหิน และนางเกศินี จิปิภพ (เจาะจงกล่าวหาเฉพาะผู้รับโอนเพียง 4 ราย จากบรรดาผู้รับโอนทั้งหมดหนึ่งร้อยกว่าราย) ในมูลค่าการกระทำความผิด 26 ล้านบาท และ 10 ล้นบาท (จากมูลค่าเงินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดทั้งสิ้น 9,900 ล้านบาท)
เดือนสิงหาคม 2561 กรมสอบสวนคดีพิเศษ สรุปสำนวนคดีพิเศษที่ 25/2560 โดยมีความเห็นควรสั่งฟ้อง 3ราย คือ นายพานทองแท้ ขินวัตร นางกาญจนาภา หษ์เหิน นายวันชัย หงษ์เหิน ในความผิดฐานฟอกเงินและสมคบกันฟอกเงิน ส่งต่อพนักงานอัยการ
วันที่ 10 ตุลาคม 2561 อัยการยื่นฟ้องนายพานทองแท้ต่อศาลอาญคดีทุจริตฯ เนื่องจากนายพานทองแท้รับ เช็คจำนวน 10 ล้านบาทเข้าบัญชี ซึ่งการกล่าวอ้างว่าเงินนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการทุจริตปล่อยกุระหว่าง ธนาคารกรุงไทยกับกลุมกฤษดามหานคร โดยศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวจำเลย ในวงเงิน 1 ล้านบาท พร้อมห้ามออกนอกราชอาณาจักร
5 พฤศจิกยน 2561 ศาลอาญาคดีทุจริตฯ นัดสอบคำให้การนายพานทองแท้ว่าจะรับสารภาพหรือปฏิเสธ โดยจำเลยปฏิเสธว่า ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง และอ้างว่าเงินดังกล่าวได้จากการร่วมลงทุนกับเพื่อน และขอส่งคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้ง
โดยตั้งแต่ มกราคม ถึง เมษายน 2562 ศาลได้นัดตรวจพยานเอกสารหลักฐานของโจทก์และจำเลย และ วันที่ 24-26 กันยายน 2562 ศาลนัดไต่สวนพยานโจทก์และจำเลย 3 นัด รวม 5 ปาก
และเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ศาลนัดฟังคำพิพากษานายพานทองแท้ ชินวัตร โดยระหว่างอ่านคำพิพากษา ศาลได้พักการอ่านชั่วคราวเนื่องจากเอกสารขัดข้อง และในที่สุดเมื่อกลับมาอ่านค่ำพิพากษาใหม่ ได้ค่ำพิพากษา "ยกฟ้อง"