จตุพร พ้อ วิบากกรรมยังไม่สิ้น 3แกนนำนปช.ร่วมชดใช้เหยื่อม็อบปี53
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง จตุพร พ้อ วิบากกรรมยังไม่สิ้น 3แกนนำนปช.ร่วมชดใช้เหยื่อม็อบปี53
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2562 นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวในรายการ "ลมหายใจ พีซทีวี เวทีทัศน์"
ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนได้ถึงพูดเรื่องวิบากกรรมของ นปช.ยังไม่สิ้นสุด พูดไม่ทันขาดคำ อย่างกับตาเห็น ในวันที่ 22 สิงหาคม 2562 มีคำพิพากษาศาลแพ่ง ซึ่งมีตน , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช.และนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง อดีตแกนนำ นปช.เป็นจำเลยร่วมให้ชดใช้ค่าเสียหายในคดีแพ่ง ซึ่งต่างคนก็ไม่ทราบว่าศาลฯ ได้นัดอ่านคำพิพากษา เนื่องจากไม่ได้รับหมายศาล
ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนได้ถึงพูดเรื่องวิบากกรรมของ นปช.ยังไม่สิ้นสุด พูดไม่ทันขาดคำ อย่างกับตาเห็น ในวันที่ 22 สิงหาคม 2562 มีคำพิพากษาศาลแพ่ง ซึ่งมีตน , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช.และนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง อดีตแกนนำ นปช.เป็นจำเลยร่วมให้ชดใช้ค่าเสียหายในคดีแพ่ง ซึ่งต่างคนก็ไม่ทราบว่าศาลฯ ได้นัดอ่านคำพิพากษา เนื่องจากไม่ได้รับหมายศาล
นายจตุพร กล่าวว่า คดีนี้โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารพาณิชย์และผู้เช่าอาคารพาณิชย์ บริเวณถนนราชปรารภ ซึ่งเกิดเพลิงไหม้ ได้ฟ้อง ไม่ใช่เพียงแค่ตน 3 คน เท่านั้น ยังมีจำเลยอีกหลายคน โดยคดีนี้ มี 2 สำนวน ซึ่งมารวมกันภายหลัง
ทั้งนี้ จำเลยที่ 1 ชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำเลยที่ 2 ชื่อ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จำเลยที่ 3 กระทรวงการคลัง จำเลยที่ 4 กระทรวงกลาโหม จำเลยที่ 5 กองทัพบก จำเลยที่ 6 ตน จำเลยที่ 7 นายณัฐวุฒิ จำเลยที่ 8 นายอริสมันต์ จำเลยที่ 9 กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 10 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จำเลยที่ 11 นายทักษิณ ชินวัตร
ในการวางเพลิงคดีดังกล่าวนี้ ไม่มีการจับกุมผู้ต้องหาได้แม้แต่เพียงรายเดียว ในคดีอาญา ส่วนในคดีแพ่ง โจทก์ก็ไม่สามารถมายืนยันได้ว่าใครเป็นคนเผา และโจทก์ก็ไม่ได้ปรักปรำใคร ได้ฟ้องคนที่เกี่ยวข้องในการชุมนุมทั้งหมด ทั้งฝ่ายรัฐและผู้ชุมนุมร่วมกันเป็นจำเลย เรียกค่าเสียหายตามจริง
นายจตุพร กล่าวต่อว่า เมื่อตนได้ยินข่าวคำพิพากษานี้ ด้วยว่าไม่ได้รับหมาย จึงไม่ได้ไปฟัง เมื่อฟังข่าวนี้ เราก็เลือกที่จะตั้งหลักแล้วก็เงียบ แต่ปรากฏว่า นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นคนออกมาแถลงเรื่องนี้ ตนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องอธิบาย ด้วยเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เมื่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง แล้วศาลฎีกา ลงให้พวกตนทั้งสามคน ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 19 ล้าน 3 แสน รวมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 เป็นเงินประมาณ 30 ล้านบาท
นายจตุพร กล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นในเวลา 19 นาฬิกาเศษของวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ภายหลังพวกตนได้ยุติการชุมนุมในเวลา 13 นาฬิกา 45 นาที ซึ่งจากสาระสำคัญของคำวินิจฉัยศาลฎีกา มีถ้อยคำคำให้การของโจทก์ที่น่าสนใจ ทั้งนี้ตนยืนยันว่า อย่างไรก็ตาม พวกตนน้อมรับคำตัดสินของศาลทุกประการ ไม่มีคำพูดใดที่มีเนื้อหาละเมิดอำนาจศาลทั้งสิ้น ไม่ว่าจะรู้สึกเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม
นายจตุพร ระบุว่า แต่เมื่อโฆษกพรรคประชาธิปัตย์เอาเรื่องนี้มาแถลงเป็นประเด็น ในการฟ้องของโจทก์ก็ได้ให้ความเป็นธรรม จึงฟ้องทุกฝ่ายว่าต้องรับผิดชอบ โจทก์ได้เล่าตามข้อเท็จจริงในการเบิกความ โดยระบุว่า ในวันที่ 19 พฤษภาคมมีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าควบคุมพื้นที่ชุมนุมในเวลา 14นาฬิกา กลุ่มผู้ชุมนุมประกาศสลายการชุมนุม จนกระทั่งเวลา 16 นาฬิกา มีเจ้าหน้าที่ทหารวางรั้วลวดหนามไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าบริเวณถนนราชปรารถ และนำป้ายข้อความว่า พื้นที่ใช้กระสุนจริงวางไว้กลางถนน เมื่อเวลาประมาณ 17 นาฬิกา 30 นาที มีเจ้าหน้าที่ทหารกลุ่มหนึ่งมาเคาะประตูบ้าน แจ้งให้โจทก์ที่ 2 ออกจากบ้าน โดยอ้างว่าจะมีการดับไฟฟ้า เพราะต้องการให้ผู้อยู่อาศัยในบริเวณนี้ย้ายไปอยู่ที่อื่น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทหารควบคุมพื้นที่ จะได้ปฎิบัติเคลียร์ผู้ชุมนุมออกไปจากสามเหลี่ยมดินแดง และหากไม่ออกไปจะไม่รับรองความปลอดภัย ต่อมาเวลาประมาณ 19 นาฬิกา 45 นาที ก็ได้เกิดเพลิงไหม้บริเวณอาคารของโจทก์ที่ 2 ถึง 4 ได้รับความเสียหาย ซึ่งขณะนั้นพื้นที่อยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหาร
ส่วนหนึ่งของคำพิพากษา มีใจความว่า ในการปราศรัยของจำเลยที่ 6 ได้ใช้คำพูดปราศรัยในทำนองปลุกเร้าให้ผู้ชุมนุมตอบโต้อำนาจรัฐด้วยการเผาบ้านเผาเมือง เหมือนจำเลยที่ 7 นายณัฐวุฒิ และจำเลย ที่ 8 นายอริสมันต์ ซึ่งก็ได้อธิบายความกันแล้วว่า คำพูดดังกล่าวอยู่กันคนละห้วงเวลา จำเลยที่ 6 หมายถึงตน เพียงพูดในลักษณะให้มารวมตัวกันที่ศาลากลางจังหวัดเหมือนคำพูดของจำเลยที่ 11 คืออดีตนายกฯทักษิณ แต่จำเลยที่ 6 เป็นประธานกลุ่ม นปช. แสดงบทบาทเป็นหลักเป็นแกนสำคัญ ในการชุมนุมครั้งนี้โดยตรง จำเลยที่ 6 อยู่ร่วมรับรู้การปราศรัยของ จำเลยที่ 7 และ 8 และกล่าวอ้างกรณีที่ นายจตุพร ให้การเบิกความ แก้ตัวแทนจำเลยที่ 7 และ 8 ในทำนองพูดเพื่อป้องปราม มิให้รัฐใช้กำลัง เจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาสลายการชุมนุม
นายจตุพร ยังระบุอีกว่า เรื่องนี้ตนอยากเรียนด้วยความเคารพว่า การพูดว่าหากมีการปราบปรามให้ไปรวมตัวที่ศาลากลาง ตนพูดในวันที่ 3 เมษายน 2553 และในขณะที่พูด ตนไม่ได้เป็นประธาน นปช. แต่ตอนนั้น นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ เป็นประธาน นปช. ตนพึ่งได้รับตำแหน่งประธาน นปช.ปี 2557 แต่คำวินิจฉัยศาลบอกว่า แม้ว่าไม่มีถ้อยคำเป็นการปลุกเร้า เป็นถ้อยคำเดียวกับอดีตนายกฯ ทักษิณ แต่คดีนี้ นายกฯ ทักษิณ ยกฟ้อง แต่นายจตุพรพูดคำเดียวกันไม่ยกฟ้อง เพราะเป็นประธาน นปช.ซึ่งข้อเท็จจริงในขณะนั้น ตนไม่ได้เป็น ประธาน นปช.ในขณะนั้น
สิ่งสำคัญที่สุดคือ คดีนี้ ตนอยากสื่อสารไปยังโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ว่าไม่มีผู้ต้องหาสักรายเดียว ที่ถูกจับกุมและซัดทอด โจทก์เบิกความชัดเจน ว่าถูกเจ้าหน้าที่ให้ออกจากบริเวณอาคารดังกล่าว และอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่แบบเบ็ดเสร็จ มีการขึงลวดหนามเรียบร้อย และเขียนป้ายพื้นที่ใช้กระสุนจริง
รวมทั้ง ระบุว่า เมื่อคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วก็เป็นที่ยุติ แบบไม่ทันตั้งตัว พวกตนก็เป็นหนี้กันได้ 19 ล้าน 3 แสนบาท สามคนบวกดอกเบี้ย เฉลี่ยคนละ 10 ล้าน ซึ่งก็ต้องปรึกษาหารือกันกับพรรคพวกอีกสองคน แม้เรื่องทั้งหมดไม่ได้กระทำการ ไม่ว่าอย่างไรเมื่อคำตัดสินออกมาเช่นนี้ พวกตนก็ต้องน้อมรับทุกประการ เพียงแต่ข้อเท็จจริง โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นเอกชน เขาไม่ได้ฟ้องในลักษณะปรักปรำ เขาจึงฟ้องทุกภาคส่วน ไม่ว่าฝ่ายรัฐ กระทรวงทบวงกรม กรุงเทพมหานครหรือ ผู้ชุมนุม จำเลยอีกสองคน ทั้งนายณัฐวุฒิ และ นายอริสมันต์ ก็มีประเด็นที่ได้มีการหักล้างกันไปแล้ว ว่าพูดที่เขาสอยดาว และหน้ากองบัญชาการกองทัพบก เป็นคนละบริบท
"ทั้งนี้ ตนเกรงจะมีการขยายนำเอาคำพิพากษานี้ มาหยิบใช้ทางการเมืองจนเกินงาม หลังจากนี้เราทั้งสามคน จะมานั่งคุยกันว่ามีขั้นตอนทางกฎหมายเรื่องชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร ในกรณีจำเลยไม่ได้รับหมายศาล ซึ่งก็พิสูจน์ได้" นายจตุพร กล่าว
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น