ความสนใจของคนไทยที่มีต่อเจ้าชายจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก
ผู้มีพระอัธยาศัยงดงาม อ่อนโยน และได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งภูฏานเมื่อกลางเดือนธันวาคม นำไปสู่ความอยากรู้อยากเห็นที่มากขึ้นเรื่อยๆ ต่อแผ่นดินภูฏาน
เห็นได้จากนักท่องเที่ยวไทยที่ไปเยี่ยมแผ่นดินภูฏาน ปีละ 800 คน เพิ่มเป็น 8,000 คน ในเวลา 6 เดือน มีหนังสือที่เกี่ยวกับความเป็นมาและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงามของภูฏานนับสิบเล่ม
เรื่องราวของสิ่งที่เห็นในแผ่นดินภูฏานที่นำมาเขียนมาเล่าในที่นี้ มองจากสายตาของสถาปนิก จึงเป็นเรื่องราวทางสถาปัตยกรรมและบ้านเมือง
ระยะเวลาที่เห็นอาจจะสั้น 4 วัน แต่ความประทับใจในความงดงามยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรม ประเพณีของชาวภูฏานที่ยังมีชีวิต งดงาม อลังการ
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้น ประโยชน์ในอดีตที่ยังคงมีชีวิตได้รับใช้ผู้คนอยู่ในปัจจุบัน ย่อมเป็นสิ่งที่ชี้ชัดถึงความยิ่งใหญ่ ความมีชีวิตชีวา
สถาปัตยกรรมหรือผลงานก่อสร้างอันยิ่งใหญ่ของชาวภูฏานคือ "ชอง" ชองคืออาคารที่เป็นวิถีชีวิตของชาวภูฏาน เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานราชการ เป็น