วงเสวนา”การควบคุมยาสูบในสถานศึกษา”เผย 28.9% คิดว่าการสูบบุหรี่ทำให้มีเพื่อนมากขึ้น และ 8.3% คิดว่าทำให้มีเสน่ห์ จากการเสวนา “การควบคุมยาสูบในสถานศึกษา” ซึ่งจัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ร่วมกับศูนย์วิจัยและจักการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ(ศจย.) เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่โรงแรมสยามซิตี้ รศ.ดร.สุรินธร กลัมพากร อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล นำเสนอผลการศึกษาโครงการ “การวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การใช้ยาสูบของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)“ ว่า การวิจัยเชิงสำรวจจากข้อมูลทุติยภูมิสุรปรายงานสภาพการใช้สารเสพติดหรือยาเสพติดในสถานศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ถึง ม.ปลาย ในปีการศึกษา 2553 ทั้งสิ้น 5,805,560 คน จำแนกเป็นชาย 2,784,527 คน คิดเป็น 47.9% หญิง 3,021,033 คน คิดเป็น 52.1% พบว่า มีเด็กที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติดจำนวน 67,000 คน เป็นชายมากกว่าหญิงและส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ม.ปลาย รองลงมา คือ ม.ต้น โดยพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้มากที่สุด
รศ.ดร.สุรินธร กล่าวต่อไปว่า สำหรับข้อมูลของกลุ่มที่สงสัยว่าค้ายา มีจำนวน 112 คน โดยเป็นชายมากกว่าหญิง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ม.ต้น ม.ปลาย และอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ทั้งนี้เมื่อจำแนกประเภทของสารเสพติดในกลุ่มที่ยังใช้อยู่ พบว่า ส่วนใหญ่มีการเสพสารเสพติดประเภทบุหรี่และแอลกอฮอล์มากสุด โดยผู้ชายจะสูบบุหรี่มากสุด ส่วนเพศหญิงจะดื่มแอลกอฮอล์มากสุด และยังพบว่าในทุกระดับการศึกษาในทุกพื้นที่ฯจะมีการสูบบุหรี่มากกว่าสารเสพติดประเภทอื่น และขณะนี้ผู้ที่กำลังบำบัดบุหรี่ส่วนใหญ๋ศึกษาอยู่ในระดับ ม.ปลาย ซึ่งภาคกลางและภาคตะวันออกมีกลุ่มผู้บำบัดมากสุด ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนะว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเชิงลึกถึงสาเหตุที่นำไปสู่พฤติกรรมการสูบบุหรี่หรือสารเสพติดประเภทอื่น โดยเจาะจงศึกษาในกลุ่มนักเรียนที่ติดสารเสพติดในโรงเรียน เพื่อเป็นแนวทางการป้องกันการเข้าถึงยาสูบและสารเสพติดต่างๆ รวมถึงเป็นการดำเนินการช่วยให้นักเรียนเลิกบุหรี่และสารเสพติดต่อไป
นางจุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัด ศธ. กล่าวว่า ปัจจุบัน ศธ.ได้ร่วมมือในการควบคุมยาสูบในสถานศึกษา ซึ่งได้มีการกำหนดให้บรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนโรคที่เกี่ยวกับบุหรี่ และสำรวจสภาพการใช้สารเสพติดในสถานศึกษาทุกแห่งปีละ 2 ครั้ง เพื่อจัดระบบการดูแลป้องกันอย่างเข้มงวด สร้างจิตสำนึก รวมทั้งบำบัดรักษา โดยจะมีโทษทางวินัยหากพบว่ามีการสูบบุหรี่เมื่ออยู่ในเครื่องแบบ
ดร.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์ ผอ.ศจย. กล่าวว่า จากข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2552 ที่ได้สำรวจเยาวชนอายุ 13-15 ปีทั่วประเทศ จำนวน 7,649 คน มีข้อมูลที่น่าเป็นห่วงคือ 28.9% คิดว่าการสูบบุหรี่ทำให้มีเพื่อนมากขึ้น และ 8.3% คิดว่าทำให้มีเสน่ห์ แต่ก็ยังมีเยาวชนที่ต้องการเลิกบุหรี่ถึง 75.5% จึงจำเป็นต้องให้ความรู้ เพื่อช่วยเหลือในการเลิกบุหรี่ ทั้งนี้การป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่นั้น จะต้องเร่งให้ความรู้ในโรงเรียน ควบคู่กับการรณรงค์ผ่านสื่อ, ลดปัจจัยยั่วยุ เช่น สร้างคนต้นแบบ อาทิ เพื่อน ดารา ใช้มาตรการลดการทำตลาด สกัดบุหรี่บางประเภท อาทิ บุหรี่ขนมหวาน บุหรี่เมนทอล เป็นต้น และลดช่องทางการเข้าถึงยาเสพติดของเยาวชน ตลอดจนกำหนดภาษีให้บุหรี่มีราคาสูงขึ้น
Love Attack เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน
Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้
Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว