นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า
ตนมีนโยบายที่จะให้ความสำคัญในโครงการช่วยน้องให้อิ่มท้องของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพราะหากเด็กได้กินอิ่มก็จะอิ่มใจ อยู่ในห้องเรียน และโรงเรียนอย่างมีความสุข ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า เด็กไทย เตี้ย อ้วน และโง่ ดังนั้นการแก้ปัญหาทุพ โภชนาการจะต้องร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งให้ความรู้แก่ผู้ปกครองว่าการเตรียมอาหารให้เด็กรับประทานก่อนมาโรงเรียนจะทำให้มีสุขภาพที่ดี และขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดอาหารกลางวันเพิ่มเติมให้แก่นักเรียน ส่วนโรงเรียนต้องจัดอาหารกลางวันที่ดีและมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ โดยต้องหาวิธีนำดอกเบี้ยกองทุนอาหารกลางวันปีละ 400 ล้านบาทมาดำเนินการ
นายชินวรณ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับค่านิยมของวัยรุ่นยุคปัจจุบันที่ไม่ชอบทานอาหารเพราะต้องการลดความอ้วนนั้น
หากลดอาหารและดูแลสุขภาพไปด้วยก็เป็นสิ่งที่ดี แต่หากลดอาหารที่มีประโยชน์แล้วหันไปทานอาหารฟาสต์ฟู้ดแทนอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ ศธ.จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจใหม่ ๆ ให้แก่เด็กและผู้ปกครองต่อไป
ดร.อุไรพร จิตต์แจ้ง หัวหน้าฝ่ายวิชาการ สถาบัน โภชนาการ ม.มหิดล กล่าวว่า
จากข้อมูลภาวะโภชนาการของ นักเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปีการศึกษา 2552 กว่า 4 ล้านคน พบว่ามีอัตราภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ถึงร้อยละ 8 สะท้อนให้เห็นว่าเด็กไทยยังเติบโตไม่เต็มตามศักยภาพ
“เมื่อแยกข้อมูลตามระดับชั้นก็พบว่า เด็กระดับอนุบาลเป็นกลุ่มที่มีอัตราปัญหาสูงกว่าเด็กประถมศึกษา โดยมีอัตราปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์เกินร้อยละ 10 ในเด็กอนุบาลทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง โดยภาคใต้มีอัตราปัญหาสูงสุด ทั้งนี้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีอัตราปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์อายุสูงสุดเป็น 3 ลำดับแรกของประเทศ ได้แก่ นราธิวาส ร้อยละ 17.32 ยะลา ร้อยละ 16.82 และปัตตานี ร้อยละ 16.39 ขณะที่อัตราภาวะส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุสูงสุดอยู่ที่จังหวัดตาก ร้อยละ 18.45 ยะลา ร้อยละ 17.25 และนราธิวาส ร้อยละ 16.45” ดร.อุไรพร กล่าว.
ศธ.เข้มอาหารนร.หลังสธ.ชี้เด็กไทยเตี้ย-อ้วน-โง่
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ ศธ.เข้มอาหารนร.หลังสธ.ชี้เด็กไทยเตี้ย-อ้วน-โง่