เผย10จังหวัด มี"คนจน"สูงสุดปี66 อึ้งบางแห่งติดโผหลายปีต่อกัน


เผย10จังหวัด มี"คนจน"สูงสุดปี66 อึ้งบางแห่งติดโผหลายปีต่อกัน


    สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เผยแพร่รายงานวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยประจำปี 2566 ซึ่งพบว่า จำนวนประชากรที่อยู่ในสถานะยากจนยังคงสูงถึงกว่า 2.39 ล้านคน หรือคิดเป็น 3.41% ของประชากรทั้งหมด

เมื่อพิจารณารายจังหวัด พบว่าภาพรวมของสถานการณ์ความยากจนมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งหลายจังหวัดมีสัดส่วนคนจนลดลงมากที่สุด ได้แก่:

1. แม่ฮ่องสอน
2. ตาก
3. ศรีสะเกษ
4. กาฬสินธุ์
5. พะเยา

อย่างไรก็ตาม มีเพียง 12 จังหวัดที่สัดส่วนคนจนเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ได้แก่:

1. ประจวบคีรีขันธ์
2. สุพรรณบุรี
3. กำแพงเพชร
4. สตูล
5. ชัยภูมิ
6. พิษณุโลก
7. ตราด
8. สุราษฎร์ธานี
9. สมุทรปราการ
10. ชลบุรี
11. สมุทรสงคราม
12. ปทุมธานี

ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคกลาง ทั้งนี้ กลุ่ม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงมีสัดส่วนคนจนสูงอย่างต่อเนื่อง

จากข้อมูลรายจังหวัด พบว่า 10 จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด ได้แก่:

1. ปัตตานี
2. นราธิวาส
3. แม่ฮ่องสอน
4. พัทลุง
5. สตูล
6. หนองบัวลำภู
7. ตาก
8. ประจวบคีรีขันธ์
9. ยะลา
10. ตรัง

ปัตตานีและแม่ฮ่องสอนติดอยู่ใน 5 อันดับแรกของจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดติดต่อกันอย่างน้อย 15 ปี สะท้อนปัญหาความยากจนเรื้อรังในพื้นที่เหล่านี้

เมื่อพิจารณา 10 จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดในปี 2566 จะเห็นว่าจังหวัดปัตตานี, นราธิวาส, แม่ฮ่องสอน, ตาก และยะลา ติดอันดับต้น ๆ ในหลายปี สะท้อนถึงปัญหาความยากจนที่ยาวนานและเรื้อรัง

เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนกับสัดส่วนคนจน พบว่าจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยสูงมักจะมีสัดส่วนคนจนต่ำ ขณะที่จังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำมักจะมีสัดส่วนคนจนสูง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นกลไกหลักในการลดความยากจน

อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลัง การเติบโตทางเศรษฐกิจมีผลลดความยากจนได้น้อยลง เนื่องจากการกระจายรายได้ไม่ได้ดีพอ ผลประโยชน์จึงกระจุกตัวในกลุ่มที่มีรายได้สูง

นอกจากนี้ ยังมีบางจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยสูงแต่สัดส่วนคนจนสูงเช่นกัน เช่น นครศรีธรรมราช, อ่างทอง, ลำปาง และบางพื้นที่ที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำแต่สัดส่วนคนจนต่ำ เช่น ชัยภูมิ, ร้อยเอ็ด ทำให้ไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่ารายได้สูงจะช่วยแก้ปัญหาความยากจนเสมอไป เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่น โดยเฉพาะเรื่องความเหลื่อมล้ำที่ซ่อนอยู่


เครดิต :
เครดิต : ที่นี่ดอทคอม ทันทุกเรื่องฮิต


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์