
พบ ดาวเคราะห์น้อยขนาดมหึมา พุ่งผ่านโลก

ระทึก พบดาวเคราะห์น้อยขนาดมหึมา เทียบเท่ามหาพีระมิด โคจรพุ่งผ่านโลกด้วยความเร็ว 90,000 กม./ชม.
ถึงแม้ดาวเคราะห์น้อย ‘2024 JZ' ได้ถูกนักวิทยาศาสตร์ของนาซา จัดให้เป็นวัตถุใกล้โลก แต่ไม่จำเป็นต้องไปหลบภัยในบังเกอร์ เพราะกลัวว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะพุ่งชนโลก เนื่องจากเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์น้อย ‘2024 JZ' นั้นมีระยะห่างจากโลกราว 4.2 ล้านกิโลเมตร
ขณะที่ ทางด้านดร.เอ็ดเวิร์ด บลูเมอร์ นักดาราศาสตร์อาวุโสประจำหอดูดาวรอยัล กรีนวิช ได้ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นว่า การโคจรผ่านโลกของดาวเคราะห์น้อย 2024 JZ ในวันนี้ เป็นเรื่องที่เราไม่ต้องกังวลหรือวิตกเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยดวงนี้แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม นาซา ระบุไว้ว่า วัตถุใกล้โลก (NEOs) มีทั้งดาวหางและดาวเคราะห์น้อย ที่ถูกแรงดึงดูดจากแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ใกล้เคียงผลักเข้าสู่วงโคจร ซึ่งทำให้เข้ามาในบริเวณใกล้กับโลกของเราได้
โดยดาวหางมีต้นกำเนิดจากการก่อตัวนอกระบบดาวเคราะห์ ที่เย็นยะเยือก มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็งที่มีอนุภาคฝุ่นฝังอยู่ ส่วนดาวเคราะห์น้อยมีต้นกำเนิดในระบบสุริยะของเรา ที่มีความอุ่นกว่าและโคจรระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี
นอกจากนี้ ดาวเคราะห์น้อยถูกกำหนดให้เป็นโคจรใกล้โลกที่อาจเป็นอันตราย หากดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้เข้ามาภายในรัศมีห่างจากโลกราว 4.65 ล้านไมล์ของโลก และมีขนาดใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 140 เมตร
ทั้งนี้ แม้ว่า ดาวเคราะห์น้อย ‘2024 JZ' จะอยู่ในระยะห่างที่ปลอดภัยอย่างสมบูรณ์แบบที่ 0.028 AU จากโลก แต่ก็ถือว่าค่อนข้างใกล้เคียงในแง่ดาราศาสตร์
เว็บไซต์ต่างประเทศ เผยรายงานขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือ นาซา ว่า มีดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ เกือบจะเท่ากับมหาพีระมิดแห่งกีซา โคจรพุ่งผ่านโลกด้วยความเร็วถึง 56,000 ไมล์ต่อชั่วโมงหรือราว 90,000 กม./ชม. ซึ่งเร็วกว่าความเร็วกระสุนปืนถึง 65 เท่า
โดยดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ดวงนี้ ถูกนักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อเรียกว่า ‘2024 JZ' มีขนาดความยาวถึง 120 เมตร ได้โคจรพุ่งผ่านโลกเมื่อ 9 พ.ค. 2567 ตามเวลาท้องถิ่นที่ผ่านมาถึงแม้ดาวเคราะห์น้อย ‘2024 JZ' ได้ถูกนักวิทยาศาสตร์ของนาซา จัดให้เป็นวัตถุใกล้โลก แต่ไม่จำเป็นต้องไปหลบภัยในบังเกอร์ เพราะกลัวว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะพุ่งชนโลก เนื่องจากเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์น้อย ‘2024 JZ' นั้นมีระยะห่างจากโลกราว 4.2 ล้านกิโลเมตร
ขณะที่ ทางด้านดร.เอ็ดเวิร์ด บลูเมอร์ นักดาราศาสตร์อาวุโสประจำหอดูดาวรอยัล กรีนวิช ได้ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นว่า การโคจรผ่านโลกของดาวเคราะห์น้อย 2024 JZ ในวันนี้ เป็นเรื่องที่เราไม่ต้องกังวลหรือวิตกเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยดวงนี้แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม นาซา ระบุไว้ว่า วัตถุใกล้โลก (NEOs) มีทั้งดาวหางและดาวเคราะห์น้อย ที่ถูกแรงดึงดูดจากแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ใกล้เคียงผลักเข้าสู่วงโคจร ซึ่งทำให้เข้ามาในบริเวณใกล้กับโลกของเราได้
โดยดาวหางมีต้นกำเนิดจากการก่อตัวนอกระบบดาวเคราะห์ ที่เย็นยะเยือก มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็งที่มีอนุภาคฝุ่นฝังอยู่ ส่วนดาวเคราะห์น้อยมีต้นกำเนิดในระบบสุริยะของเรา ที่มีความอุ่นกว่าและโคจรระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี
นอกจากนี้ ดาวเคราะห์น้อยถูกกำหนดให้เป็นโคจรใกล้โลกที่อาจเป็นอันตราย หากดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้เข้ามาภายในรัศมีห่างจากโลกราว 4.65 ล้านไมล์ของโลก และมีขนาดใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 140 เมตร
ทั้งนี้ แม้ว่า ดาวเคราะห์น้อย ‘2024 JZ' จะอยู่ในระยะห่างที่ปลอดภัยอย่างสมบูรณ์แบบที่ 0.028 AU จากโลก แต่ก็ถือว่าค่อนข้างใกล้เคียงในแง่ดาราศาสตร์



Love Attack เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน
Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้
Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว