สรุปเหตุการณ์เสียชีวิต รศ.ดร.ภาณุวรรณ กับชีวิต10ปีที่ต้องอยู่กับPM2.5


สรุปเหตุการณ์เสียชีวิต รศ.ดร.ภาณุวรรณ กับชีวิต10ปีที่ต้องอยู่กับPM2.5


ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ พ.ร.บ.อากาศสะอาด จะสามารถปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานการดำรงชีวิตของเราให้ได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ในพื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยของตัวเองสักที

สรุปเหตุการณ์การเสียชีวิตของ รศ.ดร.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านผึ้ง เสียชีวิตด้วยมะเร็งปอด นำมาสู่การถอดบทเรียนชีวิตคนเชียงใหม่ หลังถูกขนานนามว่า 'เมืองจมฝุ่น (PM2.5)' มา10 กว่าปีแล้ว และเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่เชียงใหม่จะไม่มีฝุ่นเหมือนเมื่อก่อน

1. วันที่ 18 มี.ค. 2565 วงการวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมไทยต้องสูญเสีย รศ.ดร.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านผึ้ง อาจารย์ประจำภาค วิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. รศ.ดร.ภาณุวรรณ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาชีววิทยา (เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง) จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2538 และสำเร็จการศึกษาระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา จุลชีววิทยา จาก Cardiff University สหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2542 ได้รับทุนการศึกษาและทุนวิจัย ดังนี้
- โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ปี พ.ศ. 2535-2542
- ทุนวิจัยหลังปริญญาเอก Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology of Japan ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2543-2544
- ทุนวิจัยหลังปริญญาเอก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ปี พ.ศ. 2544-2546 และทุนเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของอาจารย์รุ่นกลางในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ปี พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน
- ทุนวิจัยระยะสั้น
- หน่วยวิจัยผึ้งแห่งชาติ ห้องปฏิบัติการกลาง สหราชอาณาจักร ปี พ.ศ. 2548 และ RIKEN ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2551 สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและทุน Hitachi research fellowship ปี พ.ศ. 2552




สรุปเหตุการณ์เสียชีวิต รศ.ดร.ภาณุวรรณ กับชีวิต10ปีที่ต้องอยู่กับPM2.5


3. ผศ.ดร.ว่าน วิริยา ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยนำอาการป่วยของ ดร.ภาณุวรรณ มาเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาบนเวทีเสวนา "เชียงใหม่ เพื่อลมหายใจที่ดีกว่า" ดร.ภาณุวรรณ ไม่มีประวัติเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่หรือใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่ จึงคาดว่าสาเหตุของโรคร้ายที่คร่าชีวิตครั้งนี้มาจากการอยู่อาศัยในพื้นที่มีฝุ่นควันPM 2.5 ในเชียงใหม่มานานกว่า 10 ปี รศ.ดร.ภาณุวรรณ เพิ่งทราบว่าตนเองเป็นมะเร็งปอดระยะที่ 3 เมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ท่ามกลางความแปลกใจคนใกล้ชิด เพราะอายุยังน้อย ไม่สูบบุหรี่หรือใกล้ชิดกับกิจกรรมเสี่ยงอื่น ยกเว้นอาศัยอยู่ในเมืองเชียงใหม่ซึ่งมีปัญหาฝุ่นควัน pm2.5 มายาวนาน

4. ผศ.ดร.ว่าน กล่าวอีกว่าสิ่งสุดท้ายที่อาจารย์ได้สั่งเสียไว้ "การจากไปครั้งนี้ของอาจารย์ไม่รู้จะสามารถทำได้แค่ไหน แต่จะพยายามทำให้ดีที่สุด ขอให้อาจารย์ไปอยู่บนฟ้าบนสวรรค์ ช่วยให้ท่านผู้บริหารประเทศเราได้เห็นความสำคัญของ พ.ร.บ.อากาศสะอาดเสียที"

5. รศ.ดร.สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยถึงการเสียชีวิตของ รศ.ดร.ภาณุวรรณ ซึ่งสอดคล้องกับ ผศ.ดร.ว่าน ที่ระบุว่า หนึ่งในสาเหตุที่เกิดขึ้นเชื่อว่าเกิดมลพิษทางอากาศ นับเป็นถือว่าเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่อีกครั้งในแวดวงวิชาการ เพราะ รศ.ดร.ภาณุวรรณ ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผึ้ง ทำงานวิจัยเชิงลึกกับชาวต่างชาติหลายประเทศ เพิ่งได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นอายุไม่เกิน 45 ปี นับเป็นการสูญเสียบุคลากรที่ทรงคุณค่าทางวิทยาศาสตร์


สรุปเหตุการณ์เสียชีวิต รศ.ดร.ภาณุวรรณ กับชีวิต10ปีที่ต้องอยู่กับPM2.5


6. ย้อนกลับไปเมื่อ 12 ม.ค. 2565 ผู้ใช้โซเชียลชวนติด #อย่าปัดตก หลังจากเครือข่ายอากาศสะอาด ประเทศไทย ได้รวบรวมรายชื่อประชาชน 24,000 รายชื่อที่ลงชื่อสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติกำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาด เพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ พ.ศ. ...." เพื่อยื่นต่อรัฐสภาในวันที่ 21 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา

7. ขณะที่วันนี้ (19 มี.ค. 65) นายวราวุธ ศิลปะอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ได้มอบนโยบายและข้อสั่งการการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและPM2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ

8. แน่นอนว่าเป็นภารกิจของรัฐบาล ทุกๆ ปีที่จะต้องหาวิธีรับมือและดำเนินการแก้ปัญหา ย้อนกลับไปเมื่อปีก่อนๆ ที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสั่งยกระดับปัญหา PM2.5 เป็นวาระแห่งชาติ ปี 2564 พล.อ.ประวิตร เคยบอกว่า "ปัญหาฝุ่น PM2.5 ปีหน้าต้องดีกว่าปีนี้ 20%" ขณะที่ประชาชนอยากให้แก้ปัญหาจริงจัง ไม่ใช่แก้ปัญหาแบบ ‘ไฟไหม้ฟาง'

9. ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผอ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวในการประชุมเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ (สภน.) ครั้งที่ 1/19 มี.ค. 65 ณ ห้องทิพย์พิมาน โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ ว่า จังหวัดเชียงใหม่มีปัญหามลพิษทางอากาศต่อเนื่องมายาวนานตั้งแต่ปี 2550 - 2565 ยิ่งช่วงระยะ 10 ปีให้หลัง PM2.5 ชัดเจนมากขึ้น หากเปรียบเทียบกับการสูบบุหรี่ที่เข้าไปในปอดโดยตรง PM2.5 ถือว่ารุนแรงมาก ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ถ้าทางอ้อมสารโลหะหนักบนผิวของฝุ่นจิ๋วเมื่อเข้าปอดก็สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ทันที พิสูจน์ได้ว่ามลภาวะทางอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ซึ่งยอมรับว่าพบเจอผู้ป่วยกรณีนี้อยู่เรื่อยมา ส่วนผลกระทบโดยตรงเมื่อฝุ่นจิ๋วเมื่อเข้าไปในปอดโดยเฉพาะฤดูหมอกควันจะมีคนป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นจนเกิดการเสียชีวิตได้


สรุปเหตุการณ์เสียชีวิต รศ.ดร.ภาณุวรรณ กับชีวิต10ปีที่ต้องอยู่กับPM2.5


10. นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 (19 มี.ค. 65) ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังคงเกินมาตรฐานในจังหวัดภาคเหนือตอนบนอย่างต่อเนื่องใน 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ พะเยา และตาก สถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ รวมทั้งการเผาป่าปัจจุบันยังเพิ่มมากขึ้นและยังเป็นปัญหาระดับชาติที่ยังแก้ไขไม่ได้ ล่าสุดโดยพื้นที่ ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน มีค่าฝุ่นสูงถึง 140 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีจำนวนวันที่ค่าฝุ่นอยู่เกินมาตรฐานสูงสุดจำนวน 19 วัน และมีค่าฝุ่นอยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) สูงถึง 11 วัน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะเด็กที่เป็นกลุ่มเปราะบาง เด็กจะมีอัตราการหายใจมากกว่าผู้ใหญ่

 

11. ฐานข้อมูลเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2564 มีรายงานจำนวนเด็กอายุ 0-9 ปี ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 27,550 ราย ซึ่ง จ.แม่ฮ่องสอน มีจำนวนถึง 2,688 ราย โดยกิจกรรมนอกบ้านของเด็กๆ เช่น การวิ่งเล่น กระโดด ปีนป่าย ทั้งที่สนามเด็กเล่น สนามกีฬา และลานกิจกรรม สูดอากาศที่มี PM2.5 ปะปนโดยไม่รู้ตัว


สรุปเหตุการณ์เสียชีวิต รศ.ดร.ภาณุวรรณ กับชีวิต10ปีที่ต้องอยู่กับPM2.5


12. ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผอ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวในการประชุมเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ (สภน.) ครั้งที่ 1/2565 (19 มี.ค. 65) ว่า จังหวัดเชียงใหม่มีปัญหามลพิษทางอากาศต่อเนื่องมายาวนานเกือบ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2550 - 2565 ยิ่งช่วงระยะ 10 ปีให้หลังที่ผ่านมา PM2.5 ชัดเจนมากขึ้น หากเปรียบเทียบกับการสูบบุหรี่ที่เข้าไปในปอดโดยตรง PM2.5 ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ถ้าทางอ้อมสารโลหะหนักบนผิวของฝุ่นจิ๋วเมื่อเข้าปอดสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ทันที พิสูจน์ได้ว่ามลภาวะทางอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ซึ่งยอมรับว่าพบเจอผู้ป่วยกรณีนี้อยู่เรื่อยมา ส่วนผลกระทบโดยตรงเมื่อฝุ่นจิ๋วเมื่อเข้าไปในปอดโดยเฉพาะฤดูหมอกควันจะมีคนป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นจนเกิดการเสียชีวิตได้

13. สภาลมหายใจภาคเหนือ - เชียงใหม่ จับมือ กรีนพีซ - Enlaw จะร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ กระทรวงอุตสาหกรรม ฐานละเลยการปฎิบัติหน้าที่ โดยทั้งหมดเตรียมที่จะเดินทางไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ในวันอังคารที่ 22 มี.ค. 2565 เวลา 11.00 น. เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำหน้าที่ตามกฎหมาย แก้ไขปัญหา PM2.5 อย่างเป็นรูปธรรม และหยุดละเมิดสิทธิในการเข้าถึงอากาศสะอาด อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน
PM2.5 ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นชีวิตประชากรจะยิ่งสั้นลง


สรุปเหตุการณ์เสียชีวิต รศ.ดร.ภาณุวรรณ กับชีวิต10ปีที่ต้องอยู่กับPM2.5

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี Workpoint


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : อย่าตายฟรี
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 101.109.162.0

101.109.162.0,,node-w00.pool-101-109.dynamic.totinternet.net ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
พี่น้องชาวเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ไม่ต้องรอรัฐบาล มาช่วย เค้าประกาศห้ามเผาฝางข้าว ก็ไม่ฟังแอบเผา ถึงจะบอกว่าทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โกฐปีแสงแล้วก็ตาม ตอนนี้มลภาวะเป็นพิษเป็นไปทั่ว คุณอย่าให้ อาจารย์เค้าตายฟรีนะ พ่อแม่พี่น้องชาวเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ภาคเหนือทั้งหลาย


[ วันอาทิตย์ ที่ 20 มีนาคม 2565 เวลา 14:05 น. ]
คุณ : ธนาคาร
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 171.6.158.93

171.6.158.93,,mx-ll-171.6.158-93.dynamic.3bb.co.th ความคิดเห็นที่ 2 [อ้างอิง]
ชอบเผากันนักนี่ ในเมื่อคนบางคนในพื้นที่ไม่ห่วงสิ่งแวดล้อม ไม่รักษาสภาพอากาศ เห็นแก่ตัวเห็นแก่ประโยชน์ คนรับกรรมก็เป็นคนในพื้นที่ด้วยกันนี่แหละ ถ้ามัวแต่โทษผู้บริหารประเทศแต่ยังลักลอบเผาไม่เลิกก็ไม่มีวันแก้ไขได้หรอก ปัญหามีมานาน เปลี่ยนมาหลายรัฐบาลก็ยังไม่เลิกเผา กฎหมายมีก็มีคนแอบฝ่าฝืน ไม่แปลกเลยถ้าจะมีคนในพื้นที่เป็นมะเร็งปอดตายอีกเรื่อยๆ น่ะ


[ วันอาทิตย์ ที่ 20 มีนาคม 2565 เวลา 15:06 น. ]
คุณ : กลมป่าไม้
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 124.120.16.254

124.120.16.254,,ppp-124-120-16-254.revip2.asianet.co.th ความคิดเห็นที่ 4 [อ้างอิง]
ปิดเข้าออกเชียงใหม่ 1 เดือน ควบคุมไฟป่า ให้ธรรมชาติบำบัด รับรองฝุ่นหายครับ ทึกอย่างมันสัมพันธกันคนเยอะ=ฝุ่นเยอะด้วย ไม่ใช่แค่มลพิษจากรถหรือไฟป่าเพียงอย่างเดียว


[ วันอังคาร ที่ 22 มีนาคม 2565 เวลา 09:03 น. ]
คุณ : รัก
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 171.100.239.136

171.100.239.136,,cm-171-100-239-136.revip10.asianet.co.th ความคิดเห็นที่ 5 [อ้างอิง]
เกิดจากไม่ให้ความร่วมมือเรื่องการเผาป่าเผาหญ้ากันอย่างจริงจัง


[ วันอังคาร ที่ 22 มีนาคม 2565 เวลา 16:42 น. ]
คุณ : เพื่อทุยควายโง่
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 171.6.140.226

171.6.140.226,,mx-ll-171.6.140-226.dynamic.3bb.in.th ความคิดเห็นที่ 6 [อ้างอิง]
ควายเห็น 3 โคตรโง่เลย แค่ 8 ปีเหรอ เผากันมาตั้งนานแล้วโว้ย แล้วไอ้บรรดานักการเมืองทั้งระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น สส แถวภาคเหนือน่ะ มาจากพรรคไหน ควายเห็น 3 ทำไมไม่กล้าด่าตรงๆ ล่ะ แดงเถือกขนาดนั้น ไปดูได้เลยรายชื่อ สส พรรคไหนที่ครองพื้นที่จังหวัดในภาคเหนือมายาวนานมาก ไปบอกพวกมันให้แก้ปัญหาดิ


[ วันอังคาร ที่ 22 มีนาคม 2565 เวลา 23:05 น. ]
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 9 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:23 น. ]
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์