แนะใช้ATK ผ่านรับรองอย.เท่านั้น ป้องกันผลคลาดเคลื่อน
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ แนะใช้ATK ผ่านรับรองอย.เท่านั้น ป้องกันผลคลาดเคลื่อน
ใช้ต้องอ่านเอกสารแนะนำการใช้ให้ละเอียด พร้อมอ่านผลตามเวลาที่กำหนดป้องกันผลลบ-บวกลวง ในขณะที่องค์การเภสัชกรรม ยืนยันชุดตรวจATKที่อภ.จัดซื้อตามโครงการATKคุณภาพเพื่อสังคมไทยได้ราคาถูกเพราะซื้อจำนวนมากและการันตีเป็นชุดตรวจที่ผ่านอย.ด้วย
9 พ.ย.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวประเด็น ประสิทธิภาพของ ATK ที่ใช้ในประเทศไทยว่า วัตถุประสงค์ในการใช้ชุดตรวจ ATK คือผู้ที่มีความเสี่ยง ทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอากา รหลังจากสัมผัสโรค 3-5 วันหรือตามความจำเป็น รวมถึงผู้ที่มีอาการต้องสงสัยติดเชื้อทางเดินหายใจ มีอาการไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบาก ตาแดง ผื่น ถ่ายเหลว
นอกจากนี้ยังใช้เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อในสถานประกอบการ สถานบริการหรือสถานที่ต่างๆ โดยมีความถี่ของการตรวจเป็นไปตามข้อแนะนำ ในเบื้องต้นสามารถตรวจได้ทุกสัปดาห์หรือมากกว่านั้นตามความจำเป็น อย่างไรก็ตามการเลือกชุดทดสอบให้ใช้ชุดทดสอบที่ผ่านการประเมินและได้รับอนุญาตแล้วกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)เท่านั้น
นพ.ศุภกิจ กล่าวอึกว่า สำหรับการเก็บตัวอย่าง ควรเก็บตัวอย่างจากรูจมูกทั้งสองข้าง ลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร ปั่นข้างละ 5 รอบ กรณีเก็บตัวอย่างน้ำลายใช้กับชุดทดสอบ ที่ระบุว่าใช้กับน้ำลายได้เท่านั้น ซึ่งขอให้อ่านเอกสารแนะนำให้ละเอียด และอ่านผลตามเวลาที่กำหนดไม่เร็วหรือช้าเกินไปด้วย ส่วนกรณีผลตรวจเป็นบวกปลอม ทั้งๆที่ไม่ได้รับเชื้อ อาจเกิดขึ้นจากชุดตรวจไม่ได้มาตรฐาน มีการปนเปื้อน หรืออ่านผลเกินเวลาที่กำหนด ในกรณีผลลบปลอม เป็นผู้ติดเชื้อแต่ให้ผลการทดสอบเป็นลบ อาจเกิดขึ้นจากเพิ่งติดเชื้อในระยะแรกมีปริมาณไวรัสต่ำ การเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง
ด้านนพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า เกณฑ์การทดสอบหรือวิเคราะห์ชุดตรวจทาวอย.จะพิจารณาใน 3 ด้านคือ
1. ด้านประสิทธิภาพ 2. ด้านคุณภาพและความปลอดภัย 3. รายงานผลการทดสอบทางคลินิกในประเทศไทยซึ่งดำเนินการในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานในโรงเรียนแพทย์
ทั้งนี้กำหนดความไวเชิงวินิจฉัยไว้ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 90 เปอร์เซ็นต์ ความจำเพาะเชิงวินิจฉัยมากกว่าหรือเท่ากับ 98% และความไม่จำเพาะน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันให้การรับรองชุดตรวจ ATK แล้ว 193 รายการ แบ่งเป็นใช้โดยประชาชนทั่วไป 100 รายการและใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ 93 รายการ สามารถตรวจสอบได้ในเว็บไซต์ของอย.
9 พ.ย.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวประเด็น ประสิทธิภาพของ ATK ที่ใช้ในประเทศไทยว่า วัตถุประสงค์ในการใช้ชุดตรวจ ATK คือผู้ที่มีความเสี่ยง ทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอากา รหลังจากสัมผัสโรค 3-5 วันหรือตามความจำเป็น รวมถึงผู้ที่มีอาการต้องสงสัยติดเชื้อทางเดินหายใจ มีอาการไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบาก ตาแดง ผื่น ถ่ายเหลว
นอกจากนี้ยังใช้เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อในสถานประกอบการ สถานบริการหรือสถานที่ต่างๆ โดยมีความถี่ของการตรวจเป็นไปตามข้อแนะนำ ในเบื้องต้นสามารถตรวจได้ทุกสัปดาห์หรือมากกว่านั้นตามความจำเป็น อย่างไรก็ตามการเลือกชุดทดสอบให้ใช้ชุดทดสอบที่ผ่านการประเมินและได้รับอนุญาตแล้วกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)เท่านั้น
นพ.ศุภกิจ กล่าวอึกว่า สำหรับการเก็บตัวอย่าง ควรเก็บตัวอย่างจากรูจมูกทั้งสองข้าง ลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร ปั่นข้างละ 5 รอบ กรณีเก็บตัวอย่างน้ำลายใช้กับชุดทดสอบ ที่ระบุว่าใช้กับน้ำลายได้เท่านั้น ซึ่งขอให้อ่านเอกสารแนะนำให้ละเอียด และอ่านผลตามเวลาที่กำหนดไม่เร็วหรือช้าเกินไปด้วย ส่วนกรณีผลตรวจเป็นบวกปลอม ทั้งๆที่ไม่ได้รับเชื้อ อาจเกิดขึ้นจากชุดตรวจไม่ได้มาตรฐาน มีการปนเปื้อน หรืออ่านผลเกินเวลาที่กำหนด ในกรณีผลลบปลอม เป็นผู้ติดเชื้อแต่ให้ผลการทดสอบเป็นลบ อาจเกิดขึ้นจากเพิ่งติดเชื้อในระยะแรกมีปริมาณไวรัสต่ำ การเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง
ด้านนพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า เกณฑ์การทดสอบหรือวิเคราะห์ชุดตรวจทาวอย.จะพิจารณาใน 3 ด้านคือ
1. ด้านประสิทธิภาพ 2. ด้านคุณภาพและความปลอดภัย 3. รายงานผลการทดสอบทางคลินิกในประเทศไทยซึ่งดำเนินการในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานในโรงเรียนแพทย์
ทั้งนี้กำหนดความไวเชิงวินิจฉัยไว้ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 90 เปอร์เซ็นต์ ความจำเพาะเชิงวินิจฉัยมากกว่าหรือเท่ากับ 98% และความไม่จำเพาะน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันให้การรับรองชุดตรวจ ATK แล้ว 193 รายการ แบ่งเป็นใช้โดยประชาชนทั่วไป 100 รายการและใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ 93 รายการ สามารถตรวจสอบได้ในเว็บไซต์ของอย.
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น