เปิดช่องร้านอาหารในห้างขายได้โดยไม่ต้องผ่านไรเดอร์
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ เปิดช่องร้านอาหารในห้างขายได้โดยไม่ต้องผ่านไรเดอร์
เมื่อวันที่ 3 ส.ค.64 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงประเด็นการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ หลังจากประกาศ ฉบับที่ 30 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหาร ว่า
ในส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด ห้ามนั่งรับประทานในร้านอาหาร เครื่องดื่ม การจำหน่ายให้เป็นการนำกลับไปรับประทานที่บ้าน กรณีร้านอาการในห้างสรรพสินค้าได้ผ่อนคลายให้จำหน่ายได้ในลักษณะเดลิเวอรี่ โดยระยะเวลาให้บริการไม่เกิน 20.00 น.
สำหรับประเด็นการซื้ออาหารจากร้านที่เปิดในห้างนั้น ยังไม่ให้ผู้บริโภคติดต่อกับร้านค้าโดยตรง แต่สามารถจัดให้มีบริการเดลิเวอรี่ จัดบริการนำส่งอาหารหรือเครื่องดื่มของร้านที่อยู่ภายในห้างได้ ผ่านระบบออนไลน์ หรือโทรศัพท์ หรือระบบพนักงานให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น
โดยการดำเนินการลักษณะนี้ทำมาตั้งแต่ปี 2563 ที่มีการปิดห้างสรรพสินค้า แต่อนุญาตให้ร้านอาหารจำหน่ายแต่ไม่ให้ผู้บริโภคแออัดหรือไปออกันอยู่ที่หน้าร้านโดยตรง
ทั้งนี้ หากห้างฯ ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอล ไม่สามารถดำเนินการตามนี้ได้ก็ไม่สามารถเปิดให้บริการลักษณะนี้ได้ จะต้องให้ผู้บริโภคสั่งผ่าน Food delivery Serviceในข้อกำหนดฉบับที่ 30 กำหนดว่า ห้างฯ ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอล มีหน้าที่และมีความรับผิดชอบที่จะต้องจัดให้มีระบบการคัดกรอง ในปัจจุบันไม่ใช่คัดกรองเฉพาะไข้ระบบทางเดินหายใจหรืออาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิดอย่างเดียว แต่จะต้องคัดกรองไปถึงประวัติความเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงของคนทำงานที่เกี่ยวข้องด้วย ต้องตรวจสอบการลงทะเบียนโดยเฉพาะผู้ขนส่งอาหารหรือคนทำงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะเข้ามาในพื้นที่อาคารนั้น ต้องมีการจัดระบบคิวเพื่อลดความแออัด
กำหนดพื้นที่เฉพาะสำหรับรอคิว มีบริเวณพักคอย ที่เว้นระยะห่างระหว่างที่นั่งหรือที่ยืนอย่างเข้มงวด โดยรวมในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่จะมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ส่วนคือร้านอาหาร สถานที่ห้างฯ ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอล ต้องจัดให้มีทางเข้าออกที่ชัดเจน และเข้มงวดในการมีจุดคัดกรอง และลงทะเบียนอย่างชัดเจน ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าจะต้องให้ความสำคัญในการกำกับว่าหากมีคนทำงานที่เกี่ยวข้องมีอาการไม่สบายต้องให้หยุดงานและไปรับคำปรึกษารับการตรวจที่เหมาะสมต่อไป
ในส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด ห้ามนั่งรับประทานในร้านอาหาร เครื่องดื่ม การจำหน่ายให้เป็นการนำกลับไปรับประทานที่บ้าน กรณีร้านอาการในห้างสรรพสินค้าได้ผ่อนคลายให้จำหน่ายได้ในลักษณะเดลิเวอรี่ โดยระยะเวลาให้บริการไม่เกิน 20.00 น.
สำหรับประเด็นการซื้ออาหารจากร้านที่เปิดในห้างนั้น ยังไม่ให้ผู้บริโภคติดต่อกับร้านค้าโดยตรง แต่สามารถจัดให้มีบริการเดลิเวอรี่ จัดบริการนำส่งอาหารหรือเครื่องดื่มของร้านที่อยู่ภายในห้างได้ ผ่านระบบออนไลน์ หรือโทรศัพท์ หรือระบบพนักงานให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น
โดยการดำเนินการลักษณะนี้ทำมาตั้งแต่ปี 2563 ที่มีการปิดห้างสรรพสินค้า แต่อนุญาตให้ร้านอาหารจำหน่ายแต่ไม่ให้ผู้บริโภคแออัดหรือไปออกันอยู่ที่หน้าร้านโดยตรง
ทั้งนี้ หากห้างฯ ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอล ไม่สามารถดำเนินการตามนี้ได้ก็ไม่สามารถเปิดให้บริการลักษณะนี้ได้ จะต้องให้ผู้บริโภคสั่งผ่าน Food delivery Serviceในข้อกำหนดฉบับที่ 30 กำหนดว่า ห้างฯ ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอล มีหน้าที่และมีความรับผิดชอบที่จะต้องจัดให้มีระบบการคัดกรอง ในปัจจุบันไม่ใช่คัดกรองเฉพาะไข้ระบบทางเดินหายใจหรืออาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิดอย่างเดียว แต่จะต้องคัดกรองไปถึงประวัติความเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงของคนทำงานที่เกี่ยวข้องด้วย ต้องตรวจสอบการลงทะเบียนโดยเฉพาะผู้ขนส่งอาหารหรือคนทำงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะเข้ามาในพื้นที่อาคารนั้น ต้องมีการจัดระบบคิวเพื่อลดความแออัด
กำหนดพื้นที่เฉพาะสำหรับรอคิว มีบริเวณพักคอย ที่เว้นระยะห่างระหว่างที่นั่งหรือที่ยืนอย่างเข้มงวด โดยรวมในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่จะมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ส่วนคือร้านอาหาร สถานที่ห้างฯ ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอล ต้องจัดให้มีทางเข้าออกที่ชัดเจน และเข้มงวดในการมีจุดคัดกรอง และลงทะเบียนอย่างชัดเจน ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าจะต้องให้ความสำคัญในการกำกับว่าหากมีคนทำงานที่เกี่ยวข้องมีอาการไม่สบายต้องให้หยุดงานและไปรับคำปรึกษารับการตรวจที่เหมาะสมต่อไป
กรณีที่ 2 ห้างฯ มีหน้าที่ในการจัดระบบและควบคุมกำกับไม่ให้ไรเดอร์มารวมกลุ่ม หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการสูงสุด ส่วนจะมีการเอาผิดหรือไม่นั้นขอชี้แจงว่า
ข้อกำหนดต่างๆ ที่ออกตามมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ร่วมกับพ.ร.บโรคติดต่อซึ่ง ประกาศชัดว่ากรณีที่อยู่นอกเคหสถาน หากไม่สวมหน้ากากอนามัยจะมีความผิดและคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติก็ได้ออกระเบียบตามมาตรา 34 (6) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวัน 7 มิ.ย. มีผลวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมาก็กำหนดความผิดเรื่องการรวมกลุ่ม การไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกัน การสูบบุหรี่หรือมีกิจกรรมนันทนาการใดๆ ก็ตามมีความผิด หากเป็นครั้งแรกมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ครั้งที่ 2 ปรับ 1,000-10,000 บาท ครั้งที่ 3 ปรับ 10,000-20,000 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานตามกฎหมายที่สำคัญคือคณะกรรมการโรคติดต่อของกรุงเทพฯ ทุกจังหวัดมีหน้าที่ผู้กำกับให้เป็นไปตามประกาศของแต่ละจังหวัด ถือเป็นหน้าที่ แต่ส่วนสำคัญคือประชาชนต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ เป็นหูเป็นตา สอดส่อง ถ้าเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็ขอให้แจ้งไปที่จังหวัดอย่าปล่อยให้พฤติกรรมเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโควิด 19 ถือเป็นเรื่องปกติหรือเรื่องที่ยอมรับได้ ความสำเร็จในการควบคุมโรคเป็นความร่วมมือของทุกคน
"มาตรการต่างๆ ที่ให้ภาครัฐออกมาส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจทั้งระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน อย่างยิ่งแต่เมื่อสถานการณ์ปัจจุบันมีจำนวนผู้ติดเชื้อ เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น มีผู้ติดเชื้ออาการหนัก ซึ่งตอนนี้เกินกำลังระบบการแพทย์และสาธารณสุขจะรองรับได้ เพราะฉะนั้นมาตรการต่างๆ ที่ออกมาจึงจำเป็น เพื่อลดการติดเชื้อและเพื่อชะลอผู้จะมีอาการหนักให้ระบบทางการแพทย์และสาธารณสุขสามารถรองรับได้ เพื่อลดการเสียชีวิต
จึงขอความร่วมมือจากประชาชน ขณะเดียวกันรัฐบาลกำลังพิจารณาเรื่องการลดผลกระทบดังกล่าวควบคู่กันไปด้วย ผมเชื่อว่า 14-28 วันจากนี้จะเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญของการที่เราจะมีส่วนในการชะลอย้ำว่าเป็นการทะเลาะเพราะว่าตอนนี้การแพร่ระบาดของโควิด 19 เข้าไปในชุมชน และลงไปจนถึงระดับครอบครัว ครอบคลุมทุกจังหวัด สิ่งที่สำคัญคือเราจะต้องชะลอเพื่อให้ระบบทางการแพทย์และสาธารณสุขสามารถจะกลับมารองรับได้ โดยกำลังทำเรื่องให้ผู้ป่วยสีเขียวดูแลตัวเองที่บ้าน หรือที่ชุมชน" นพ.สุวรรณชัย กล่าว
ข้อกำหนดต่างๆ ที่ออกตามมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ร่วมกับพ.ร.บโรคติดต่อซึ่ง ประกาศชัดว่ากรณีที่อยู่นอกเคหสถาน หากไม่สวมหน้ากากอนามัยจะมีความผิดและคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติก็ได้ออกระเบียบตามมาตรา 34 (6) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวัน 7 มิ.ย. มีผลวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมาก็กำหนดความผิดเรื่องการรวมกลุ่ม การไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกัน การสูบบุหรี่หรือมีกิจกรรมนันทนาการใดๆ ก็ตามมีความผิด หากเป็นครั้งแรกมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ครั้งที่ 2 ปรับ 1,000-10,000 บาท ครั้งที่ 3 ปรับ 10,000-20,000 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานตามกฎหมายที่สำคัญคือคณะกรรมการโรคติดต่อของกรุงเทพฯ ทุกจังหวัดมีหน้าที่ผู้กำกับให้เป็นไปตามประกาศของแต่ละจังหวัด ถือเป็นหน้าที่ แต่ส่วนสำคัญคือประชาชนต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ เป็นหูเป็นตา สอดส่อง ถ้าเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็ขอให้แจ้งไปที่จังหวัดอย่าปล่อยให้พฤติกรรมเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโควิด 19 ถือเป็นเรื่องปกติหรือเรื่องที่ยอมรับได้ ความสำเร็จในการควบคุมโรคเป็นความร่วมมือของทุกคน
"มาตรการต่างๆ ที่ให้ภาครัฐออกมาส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจทั้งระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน อย่างยิ่งแต่เมื่อสถานการณ์ปัจจุบันมีจำนวนผู้ติดเชื้อ เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น มีผู้ติดเชื้ออาการหนัก ซึ่งตอนนี้เกินกำลังระบบการแพทย์และสาธารณสุขจะรองรับได้ เพราะฉะนั้นมาตรการต่างๆ ที่ออกมาจึงจำเป็น เพื่อลดการติดเชื้อและเพื่อชะลอผู้จะมีอาการหนักให้ระบบทางการแพทย์และสาธารณสุขสามารถรองรับได้ เพื่อลดการเสียชีวิต
จึงขอความร่วมมือจากประชาชน ขณะเดียวกันรัฐบาลกำลังพิจารณาเรื่องการลดผลกระทบดังกล่าวควบคู่กันไปด้วย ผมเชื่อว่า 14-28 วันจากนี้จะเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญของการที่เราจะมีส่วนในการชะลอย้ำว่าเป็นการทะเลาะเพราะว่าตอนนี้การแพร่ระบาดของโควิด 19 เข้าไปในชุมชน และลงไปจนถึงระดับครอบครัว ครอบคลุมทุกจังหวัด สิ่งที่สำคัญคือเราจะต้องชะลอเพื่อให้ระบบทางการแพทย์และสาธารณสุขสามารถจะกลับมารองรับได้ โดยกำลังทำเรื่องให้ผู้ป่วยสีเขียวดูแลตัวเองที่บ้าน หรือที่ชุมชน" นพ.สุวรรณชัย กล่าว
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น