เฮ!อนุมัติร้านยาขายแอนติเจน เทสต์ คิท อีก 1 สัปดาห์ ซื้อใช้เอง
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ เฮ!อนุมัติร้านยาขายแอนติเจน เทสต์ คิท อีก 1 สัปดาห์ ซื้อใช้เอง
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงถึงแนวทางการค้นหาผู้ป่วยโควิด-19 เชิงรุก ว่ากรณีการไปรอตรวจเชื้อโควิด-19 จำนวนมากนั้น สธ.พยายามวางระบบแก้ปัญหา โดยกรณีการตรวจเชื้อโควิด-19 ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมควบคุมโรค มีการพิจารณาการตรวจหาเชื้อ
โดยปัจจุบันมีชุดตรวจที่เรียกว่า แอนติเจน เทสต์ คิท (Antigen Test Kit) หรือ ATK จะนำมาใช้ในวงกว้างมากขึ้น แต่เนื่องจากชุดตรวจนี้ยังมีปัญหาอยู่ คือ
1.ชุดตรวจนี้ให้ผลประมาณร้อยละ 90 ทางวิทยาศาสตร์ยอมรับได้ แต่ทางการแพทย์ยังคิดว่าอาจมีช่อง จึงต้องปิดช่องโหว่
และ 2.เมื่อตรวจพบผลบวก หรือลบจะทำอย่างไร ทาง สธ.จึงร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) และภาคีเครือข่าย ภาคประชาสังคมต่างๆ จัดระบบมาดูแล โดยเดิมเราตรวจหาเชื้อผ่านวิธีอาร์ที-พีซีอาร์ (RT-PCR) เมื่อพบเชื้อให้รักษาในโรงพยาบาล (รพ.) ปรากฏว่าขณะนี้มีปัญหาเรื่องเตียง จึงเปลี่ยนแนวคิดว่าหากป่วยไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย ให้ดูแลรักษาที่บ้านที่เรียกว่าการแยกกักที่บ้าน หรือโฮม ไอโซเลชั่น (Home Isolation: HI) และการแยกกักตัวในชุมชน กรณีชุมชนมีความเข้มแข็งก็จะจัดสถานที่ดูแลเรียกว่า คอมมูนิตี้ ไอโซเลชั่น (Community Isolation: CI)
"โดยทั้งสองแบบจะมีระบบสาธารณสุขไปติดตามดูแล เมื่อเข้าสู่ระบบนี้จะติดตามวันละ 2 ครั้ง มีเครื่องมือวัดไข้ วัดออกซิเจน ให้ยา ทำให้การดูแลที่บ้านมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่หลุดออกจากระบบสาธารณสุข พร้อมๆ กับมีชุดตรวจ ATK ซึ่งระยะแรกจะใช้ในสถานพยาบาลก่อน ได้แก่ รพ.หรือคลินิก หรือคลินิกชุมชนอบอุ่น หรือคลินิกต่างๆ ที่ใกล้เคียง สามารถไปขอใช้บริการ ซึ่งเมื่อผลออกมาบวกหรือลบทางคลินิกจะช่วยเหลือต่อไป และจะสอนวิธีการตรวจ อีกทั้งในอนาคตจะทดสอบด้วยตัวเอง น่าจะเป็นสัปดาห์หน้า วางจำหน่ายในร้านขายยา หากผลบวกลบอย่างไรให้ติดต่อคลินิกใกล้บ้านเพื่อรองรับตัวท่านต่อไป" นพ.เกียรติภูมิกล่าว
โดยปัจจุบันมีชุดตรวจที่เรียกว่า แอนติเจน เทสต์ คิท (Antigen Test Kit) หรือ ATK จะนำมาใช้ในวงกว้างมากขึ้น แต่เนื่องจากชุดตรวจนี้ยังมีปัญหาอยู่ คือ
1.ชุดตรวจนี้ให้ผลประมาณร้อยละ 90 ทางวิทยาศาสตร์ยอมรับได้ แต่ทางการแพทย์ยังคิดว่าอาจมีช่อง จึงต้องปิดช่องโหว่
และ 2.เมื่อตรวจพบผลบวก หรือลบจะทำอย่างไร ทาง สธ.จึงร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) และภาคีเครือข่าย ภาคประชาสังคมต่างๆ จัดระบบมาดูแล โดยเดิมเราตรวจหาเชื้อผ่านวิธีอาร์ที-พีซีอาร์ (RT-PCR) เมื่อพบเชื้อให้รักษาในโรงพยาบาล (รพ.) ปรากฏว่าขณะนี้มีปัญหาเรื่องเตียง จึงเปลี่ยนแนวคิดว่าหากป่วยไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย ให้ดูแลรักษาที่บ้านที่เรียกว่าการแยกกักที่บ้าน หรือโฮม ไอโซเลชั่น (Home Isolation: HI) และการแยกกักตัวในชุมชน กรณีชุมชนมีความเข้มแข็งก็จะจัดสถานที่ดูแลเรียกว่า คอมมูนิตี้ ไอโซเลชั่น (Community Isolation: CI)
"โดยทั้งสองแบบจะมีระบบสาธารณสุขไปติดตามดูแล เมื่อเข้าสู่ระบบนี้จะติดตามวันละ 2 ครั้ง มีเครื่องมือวัดไข้ วัดออกซิเจน ให้ยา ทำให้การดูแลที่บ้านมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่หลุดออกจากระบบสาธารณสุข พร้อมๆ กับมีชุดตรวจ ATK ซึ่งระยะแรกจะใช้ในสถานพยาบาลก่อน ได้แก่ รพ.หรือคลินิก หรือคลินิกชุมชนอบอุ่น หรือคลินิกต่างๆ ที่ใกล้เคียง สามารถไปขอใช้บริการ ซึ่งเมื่อผลออกมาบวกหรือลบทางคลินิกจะช่วยเหลือต่อไป และจะสอนวิธีการตรวจ อีกทั้งในอนาคตจะทดสอบด้วยตัวเอง น่าจะเป็นสัปดาห์หน้า วางจำหน่ายในร้านขายยา หากผลบวกลบอย่างไรให้ติดต่อคลินิกใกล้บ้านเพื่อรองรับตัวท่านต่อไป" นพ.เกียรติภูมิกล่าว
นพ.เกียรติภูมิกล่าวว่า นอกจากนี้ ระหว่างล็อกดาวน์ 2 สัปดาห์ยังมีระบบบริการแบบปฐมภูมิในการดูแลคนที่อยู่ใน HI หรือ CI โดย สธ.จะร่วมกับ กทม. ภาคีเครือข่าย และคลินิกชุมชนอบอุ่น จัดทีม 188 ทีมไปดูแลในชุมชน
โดยจะมีองค์ประกอบประมาณ 8 คนคือ บุคลากรสาขาต่างๆ ทำหน้าที่
1.ไปให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลตัวเอง ทั้งมีเชื้อ และไม่มีเชื้อระหว่างดูแลตัวเองที่บ้าน
2.หากมีการเจ็บป่วยก็จะไปดูแลรักษา ทั้งทางกายและใจ จะมียาเข้าไป ทั้งฟ้าทะลายโจรและยาต้านไวรัส แล้วแต่กรณีที่ได้รับ
3.หากพบคนสูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังทีมนี้จะเข้าไปฉีดวัคซีน เพื่อเข้าถึงประชาชนได้เลย
และ 4.การเชื่อมต่อระบบบริการ หากบุคคลเหล่านี้ไปถึงและพบว่าประชาชนมีการเจ็บป่วยจะรีบให้การดูแล หรือจะมีระบบเทเลเมดิซีนให้คำปรึกษาได้อย่างทันท่วงที และหากมีอาการมากขึ้นทีมนี้จะจัดการนำส่งเข้าสู่ รพ. โดยในกรุงเทพฯ มีประมาณเกือบ 200 พื้นที่ โดยจะไปดูแลในช่วง 2 สัปดาห์จากนี้
ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงชุดแอนติเจน เทสต์ คิท ว่าปัจจุบันขอเรียกว่า ชุดแอนติเจน เทสต์ คิท (Antigen Test Kit) ไม่ขอเรียกว่า แรพิด แอนติเจน เทสต์ (Rapid Antigen Test) เพราะจะเกิดความสับสน คำว่า แรพิด ที่แปลว่าเร็ว อาจเข้าใจว่าตรวจจับไวรัสเร็ว ซึ่งไม่ใช่ แต่เป็นการรู้ผลเร็ว จึงขอเปลี่ยนเป็นใช้คำว่า Antigen Test Kit
โดยปัจจุบันมี 24 ยี่ห้อ และขึ้นทะเบียน เป็นแบบ Professional Use ต้องใช้ในบุคลากรทางการแพทย์ ไม่สามารถตรวจเองได้ แต่ในอนาคตทาง อย.เสนอให้ปลดล็อกตรงนี้ว่าหากมีการวางจำหน่ายในร้านยาประชาชนก็อาจซื้อไปตรวจได้
นพ.ศุภกิจกล่าวอีกว่า การตรวจเชื้อนั้นทำเหมือนการตรวจแบบ RT-PCR คือแยงจมูก ไปจนคอหอย หรือทางช่องปาก ตรวจทางน้ำลาย ขึ้นอยู่กับชุดตรวจว่าให้เก็บสิ่งส่งตรวจอย่างไร โดยการตรวจชนิดนี้เป็นการคัดกรองเบื้องต้น ซึ่งความจำเพาะและความไวสู้แบบ RT-PCR ที่เป็นวิธีมาตรฐานไม่ได้ แต่การรอคิวนาน ชุดตรวจนี้ก็จะช่วยได้เบื้องต้น แต่ถ้าคนที่มีอาการมากๆ ขอให้ตรวจ RT-PCR แต่หากสถานพยาบาลไหนมีคนรอตรวจมากๆ เบื้องต้นตรวจด้วย Antigen Test Kit ก่อน และหากผลบวกก็ต้องคอนเฟิร์ม RT-PCR อีกที
นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ส่วนคนที่สงสัยและไม่มีอาการใดๆ เบื้องต้นท่านอาจไปพบคลินิก หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านก่อนเพื่อร้องขอการตรวจด้วยชุด Antigen Test Kit ก่อนได้ โดยหากพบว่าเป็นผลลบ ซึ่งชุดตรวจนี้หากเชื้อไม่มากพออาจตรวจไม่เจอ ดังนั้น ต้องตรวจซ้ำ หากไม่มีอาการให้รอ 3-5 วันค่อยตรวจซ้ำ แต่หากมีอาการก็ตรวจได้เลย
โดยจะมีองค์ประกอบประมาณ 8 คนคือ บุคลากรสาขาต่างๆ ทำหน้าที่
1.ไปให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลตัวเอง ทั้งมีเชื้อ และไม่มีเชื้อระหว่างดูแลตัวเองที่บ้าน
2.หากมีการเจ็บป่วยก็จะไปดูแลรักษา ทั้งทางกายและใจ จะมียาเข้าไป ทั้งฟ้าทะลายโจรและยาต้านไวรัส แล้วแต่กรณีที่ได้รับ
3.หากพบคนสูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังทีมนี้จะเข้าไปฉีดวัคซีน เพื่อเข้าถึงประชาชนได้เลย
และ 4.การเชื่อมต่อระบบบริการ หากบุคคลเหล่านี้ไปถึงและพบว่าประชาชนมีการเจ็บป่วยจะรีบให้การดูแล หรือจะมีระบบเทเลเมดิซีนให้คำปรึกษาได้อย่างทันท่วงที และหากมีอาการมากขึ้นทีมนี้จะจัดการนำส่งเข้าสู่ รพ. โดยในกรุงเทพฯ มีประมาณเกือบ 200 พื้นที่ โดยจะไปดูแลในช่วง 2 สัปดาห์จากนี้
ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงชุดแอนติเจน เทสต์ คิท ว่าปัจจุบันขอเรียกว่า ชุดแอนติเจน เทสต์ คิท (Antigen Test Kit) ไม่ขอเรียกว่า แรพิด แอนติเจน เทสต์ (Rapid Antigen Test) เพราะจะเกิดความสับสน คำว่า แรพิด ที่แปลว่าเร็ว อาจเข้าใจว่าตรวจจับไวรัสเร็ว ซึ่งไม่ใช่ แต่เป็นการรู้ผลเร็ว จึงขอเปลี่ยนเป็นใช้คำว่า Antigen Test Kit
โดยปัจจุบันมี 24 ยี่ห้อ และขึ้นทะเบียน เป็นแบบ Professional Use ต้องใช้ในบุคลากรทางการแพทย์ ไม่สามารถตรวจเองได้ แต่ในอนาคตทาง อย.เสนอให้ปลดล็อกตรงนี้ว่าหากมีการวางจำหน่ายในร้านยาประชาชนก็อาจซื้อไปตรวจได้
นพ.ศุภกิจกล่าวอีกว่า การตรวจเชื้อนั้นทำเหมือนการตรวจแบบ RT-PCR คือแยงจมูก ไปจนคอหอย หรือทางช่องปาก ตรวจทางน้ำลาย ขึ้นอยู่กับชุดตรวจว่าให้เก็บสิ่งส่งตรวจอย่างไร โดยการตรวจชนิดนี้เป็นการคัดกรองเบื้องต้น ซึ่งความจำเพาะและความไวสู้แบบ RT-PCR ที่เป็นวิธีมาตรฐานไม่ได้ แต่การรอคิวนาน ชุดตรวจนี้ก็จะช่วยได้เบื้องต้น แต่ถ้าคนที่มีอาการมากๆ ขอให้ตรวจ RT-PCR แต่หากสถานพยาบาลไหนมีคนรอตรวจมากๆ เบื้องต้นตรวจด้วย Antigen Test Kit ก่อน และหากผลบวกก็ต้องคอนเฟิร์ม RT-PCR อีกที
นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ส่วนคนที่สงสัยและไม่มีอาการใดๆ เบื้องต้นท่านอาจไปพบคลินิก หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านก่อนเพื่อร้องขอการตรวจด้วยชุด Antigen Test Kit ก่อนได้ โดยหากพบว่าเป็นผลลบ ซึ่งชุดตรวจนี้หากเชื้อไม่มากพออาจตรวจไม่เจอ ดังนั้น ต้องตรวจซ้ำ หากไม่มีอาการให้รอ 3-5 วันค่อยตรวจซ้ำ แต่หากมีอาการก็ตรวจได้เลย
"การใช้ชุดตรวจหากอนาคตวางขายหรือร้องขอสถานพยาบาลก็ต้องเป็นชุดตรวจที่เก็บได้ด้วยตัวเองโดยง่าย ทั้งโพรงจมูก หรือน้ำลาย โดยขณะนี้มีชุดตรวจจำนวนหนึ่งกำลังปรับและแจ้งขอ อย.เพื่อให้มีทางเลือกต่อไป ส่วนการตรวจเทคนิคอื่นๆ เช่น ตรวจด้วยน้ำลาย ตรวจแบบรวมตัวอย่างก็เป็นอีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แต่ในอนาคตหากชุดตรวจ Antigen Test Kit ที่วางขายให้ไปตรวจเองนั้น คนเอาไปใช้ต้องศึกษาเอกสารกำกับให้ชัด เพราะทุกวันนี้ให้บุคลากรการแพทย์ใช้ การเขียนอาจซับซ้อน แต่ต่อไปผู้ผลิตต้องปรับเพื่อให้เข้าใจง่าย และการเก็บชุดตรวจต้องดี ต้องตรวจสอบวันหมดอายุ และต้องระวังในการตรวจ ไม่ให้ปะปนกับคนอื่น ป้องกันการแพร่เชื้อ และเมื่อตรวจแล้ว อุปกรณ์ต่างๆ ต้องเก็บให้ดี และต้องใส่น้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น" นพ.ศุภกิจกล่าว
นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ที่สำคัญเมื่อผลตรวจออกมานั้นหากทดสอบให้ผลบวกต้องรีบแจ้งหน่วยบริการใกล้บ้านและแยกกักตัวเอง รอการเข้าสู่ระบบ แต่หากผลเป็นลบ แต่คิดว่ามีความเสี่ยงสูง แต่อาการไม่ดี ก็ต้องตรวจซ้ำประมาณ 3-5 วัน หากเป็นลบอีกโอกาสเป็นก็น้อยลง อย่างไรก็ตาม ระหว่างรอหากมีอาการขึ้นมาให้รีบตรวจซ้ำทันที หรือไปพบคลินิก
"ขณะนี้ สปสช.กำลังดำเนินการและจะกำหนดว่าสถานพยาบาลแห่งใดที่ประชาชนสามารถร้องขอชุดตรวจ ATK ที่ไหนได้บ้าง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่อนาคตจะเปิดช่องให้สามารถซื้อขายได้ต่อไป ซึ่งเมื่อมีมากราคาก็จะถูกลง" นพ.ศุภกิจกล่าว
เมื่อถามว่ากรณีชุด ATK จะแจกฟรีหรือจำหน่ายผ่านช่องทางไหน นพ.ศุภกิจกล่าวว่า
หากอนาคตให้ซื้อเองได้นั้นต้องขายผ่านร้านขายยา มีเภสัชกร แต่จะไม่มีการให้ขายในอินเตอร์เน็ตเพราะสินค้านี้จะขึ้นทะเบียนกับ อย.
นพ.ไพศาลกล่าวว่า เมื่อเป็นเครื่องมือแพทย์ซึ่งเรื่องนี้เป็นกลไกทางการตลาด แต่เมื่อใช้ด้วยตัวเอง หากตัวซัพพลายเพิ่มขึ้น แม้ดีมานด์เพิ่มขึ้นแต่ราคาก็ต้องสมเหตุสมผล แต่หากราคาไม่แน่นอนก็ต้องเสนอไปยังการควบคุมราคาสินค้า ซึ่งมีกระทรวงพาณิชย์ดูแลต่อไป
นพ.ศุภกิจกล่าวว่า จริงๆ เรามีของฟรี ไม่ต้องซื้อเอง โดยในสถานพยาบาล คลินิก ให้กับประชาชนไปใช้บริการเองได้ ซึ่งเมื่อมีของฟรีก็มองว่าผู้ขายก็น่าจะทำให้ราคาไม่สูงเกินไป
นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ที่สำคัญเมื่อผลตรวจออกมานั้นหากทดสอบให้ผลบวกต้องรีบแจ้งหน่วยบริการใกล้บ้านและแยกกักตัวเอง รอการเข้าสู่ระบบ แต่หากผลเป็นลบ แต่คิดว่ามีความเสี่ยงสูง แต่อาการไม่ดี ก็ต้องตรวจซ้ำประมาณ 3-5 วัน หากเป็นลบอีกโอกาสเป็นก็น้อยลง อย่างไรก็ตาม ระหว่างรอหากมีอาการขึ้นมาให้รีบตรวจซ้ำทันที หรือไปพบคลินิก
"ขณะนี้ สปสช.กำลังดำเนินการและจะกำหนดว่าสถานพยาบาลแห่งใดที่ประชาชนสามารถร้องขอชุดตรวจ ATK ที่ไหนได้บ้าง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่อนาคตจะเปิดช่องให้สามารถซื้อขายได้ต่อไป ซึ่งเมื่อมีมากราคาก็จะถูกลง" นพ.ศุภกิจกล่าว
เมื่อถามว่ากรณีชุด ATK จะแจกฟรีหรือจำหน่ายผ่านช่องทางไหน นพ.ศุภกิจกล่าวว่า
หากอนาคตให้ซื้อเองได้นั้นต้องขายผ่านร้านขายยา มีเภสัชกร แต่จะไม่มีการให้ขายในอินเตอร์เน็ตเพราะสินค้านี้จะขึ้นทะเบียนกับ อย.
ด้าน นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการ อย.กล่าวว่า ปัจจุบันชุดตรวจ ATK ยังใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งกำลังเปลี่ยนเพิ่มเป็นชุดตรวจด้วยตนเอง หรือ Home use ซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ การตรวจด้วยตัวเองต้องรอการอนุญาตก่อน และช่องทางการจำหน่ายจะจำกัดช่องทางจำหน่าย ซึ่งเพิ่มมาเป็นร้านขายยาที่มีเภสัชกร หากขายผ่านอินเตอร์เน็ตไม่ได้ เพราะจำกัดเฉพาะสถานพยาบาล คลินิกเวชกรรม คลินิกเทคนิคการแพทย์ และร้านขายยา อย่างไรก็ตาม วันนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการ สธ. ได้ลงนามในประกาศกระทรวงแล้ว เหลือรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา เบื้องต้นมี 24 บริษัท ที่ใช้แบบบุคลากรทางการแพทย์ใช้ก็ยังอยู่ และจะมีอีกประมาณ 7 บริษัท ซึ่งก็จะมีการปรับรูปแบบการใช้ มีเอกสารการใช้ คาดว่าสัปดาห์หน้าจะใช้ได้ต่อไป
เมื่อถามถึงการควบคุมราคามีมาตรการอย่างไรนพ.ไพศาลกล่าวว่า เมื่อเป็นเครื่องมือแพทย์ซึ่งเรื่องนี้เป็นกลไกทางการตลาด แต่เมื่อใช้ด้วยตัวเอง หากตัวซัพพลายเพิ่มขึ้น แม้ดีมานด์เพิ่มขึ้นแต่ราคาก็ต้องสมเหตุสมผล แต่หากราคาไม่แน่นอนก็ต้องเสนอไปยังการควบคุมราคาสินค้า ซึ่งมีกระทรวงพาณิชย์ดูแลต่อไป
นพ.ศุภกิจกล่าวว่า จริงๆ เรามีของฟรี ไม่ต้องซื้อเอง โดยในสถานพยาบาล คลินิก ให้กับประชาชนไปใช้บริการเองได้ ซึ่งเมื่อมีของฟรีก็มองว่าผู้ขายก็น่าจะทำให้ราคาไม่สูงเกินไป
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น