#ย้อนความทรงจำปีหนูดุ ข่าวเด่น-ข่าวดัง รอบปี2563
โควิด-19 ระบาดทั่วไทย
13 มกราคม 2563 ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 รายแรกจากการคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศ และนับเป็นผู้ป่วยโรคโควิด-19 รายแรกนอกประเทศจีนที่เป็นต้นตอของการระบาด
ณ วันที่ 7 มกราคม 2564 ไทยมีผู้ป่วยรวมสะสม 9,636 (+305)
หายแล้ว 4,521 (+103) ผู้เสียชีวิต 67(+1)
เมื่อนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กับคณะ เข้ายื่นคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160(5) และมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 186 วรรคหนึ่ง และมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (3) หรือไม่จากกรณีพักอาศัยในบ้านพักรับรองของกองทัพบก หลังเกษียณอายุราชการตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2557 จนถึงปัจจุบัน
โดยคดีนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องไว้ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ก่อนที่จะนัดอ่านคำวินิจฉัยในวันที่ 2 ธันวาคม และมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ว่าความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160(5) และมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 186 วรรคหนึ่งและมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (3) และไม่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงแต่อย่างใด โดยให้เหตุผลว่า บ้านพักอาศัยของ พล.อ.ประยุทธ์ เปลี่ยนสถานะเป็นบ้านพักรับรองตามระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการเข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรองกองทัพบก 2548 ซึ่งกำหนดให้อดีตผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกองทัพบก ซึ่งทำคุณประโยชน์ให้กับกองทัพและประเทศชาติ และเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกมาแล้ว มีสิทธิเข้าพักอาศัย และกองทัพบกสามารถพิจารณาความเหมาะสมในการสนับสนุนงบประมาณค่ากระแสไฟฟ้าและน้ำประปาตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็น
เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์เคยเป็น ผบ.ทบ.จึงมีสิทธิเข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรองกองทัพบก และมีสิทธิได้รับสนับสนุนค่ากระแสไฟฟ้า น้ำประปา ตามระเบียบดังกล่าวเมื่อนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กับคณะ เข้ายื่นคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160(5) และมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 186 วรรคหนึ่ง และมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (3) หรือไม่จากกรณีพักอาศัยในบ้านพักรับรองของกองทัพบก หลังเกษียณอายุราชการตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2557 จนถึงปัจจุบัน
โดยคดีนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องไว้ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ก่อนที่จะนัดอ่านคำวินิจฉัยในวันที่ 2 ธันวาคม และมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ว่าความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160(5) และมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 186 วรรคหนึ่งและมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (3) และไม่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงแต่อย่างใด โดยให้เหตุผลว่า บ้านพักอาศัยของ พล.อ.ประยุทธ์ เปลี่ยนสถานะเป็นบ้านพักรับรองตามระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการเข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรองกองทัพบก 2548 ซึ่งกำหนดให้อดีตผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกองทัพบก ซึ่งทำคุณประโยชน์ให้กับกองทัพและประเทศชาติ และเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกมาแล้ว มีสิทธิเข้าพักอาศัย และกองทัพบกสามารถพิจารณาความเหมาะสมในการสนับสนุนงบประมาณค่ากระแสไฟฟ้าและน้ำประปาตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็น
เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์เคยเป็น ผบ.ทบ.จึงมีสิทธิเข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรองกองทัพบก และมีสิทธิได้รับสนับสนุนค่ากระแสไฟฟ้า น้ำประปา ตามระเบียบดังกล่าวการออกมาชุมนุมต่อต้านรัฐบาลตลอดปี 2563 ที่ผ่านมาของกลุ่มม็อบราษฎร เริ่มก่อตัวตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยมีพัฒนาการเรื่อยมาตั้งแต่เป็น "แฟลชม็อบ" ของเหล่านักศึกษาตามมหาวิทยาลัยที่พ่วงท้ายด้วยคำว่า #จะไม่ทน เริ่มต้นมาจากการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกตัดสินให้ถูกยุบ ก่อนพ่วงด้วยการปราศรัยวิพากษ์การทำงานของรัฐบาลในด้านต่างๆ ย้อนทวงถามความไม่ชอบธรรมของ คสช.ที่สืบทอดอำนาจ และอื่นๆ อีกมากมาย
โดยขยายสู่การมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงคนเสื้อแดง และนักเรียนมัธยม นัดหมายผ่านโซเชียลมีเดีย พร้อมยุทธวิธีต่างๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของไทย แม้หยุดชะงักไปช่วงหนึ่งจากสถานการณ์โควิด แต่กลับมาอีกครั้งอย่างเข้มข้นกว่าเก่าจนถึงปลายปี 2563
แกนนำผู้ชุมนุมล้วนแล้วเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ แม้ยืนยันว่าเป็นม็อบไม่มีแกนนำ เพราะทุกคนคือแกนนำ แต่ผู้ขับเคลื่อนหลักกลางสปอตไลต์ มีหลายราย อาทิ อานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน, เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์, ไมค์ ภาณุพงศ์ จาดนอก, อั๋ว จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ รวมถึง รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล โดยมีข้อเรียกร้องหลักให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีลาออก การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
การชุมนุมดุเดือดอีกครั้งช่วงเดือนตุลาคม เมื่อมีการฉีดน้ำผสมสารเคมีใส่ผู้ชุมนุมที่แยกปทุมวัน คณะราษฎร 2563 ประกาศว่าต่อไปนี้เหลือเพียง "ราษฎร" นำมาซึ่งม็อบราษฎรนัดไป "แกง" (แกล้ง) ไปตามสถานีรถไฟฟ้าและจุดสำคัญต่างๆ อาทิ ห้าแยกลาดพร้าว, แยกท่าพระ, แยกอุดมสุข-บางนา และอื่นๆ กระทั่งช่วงท้ายปี
มีการออกหมายเรียกจนถึงหมายจับแกนนำและผู้ปราศรัยตามมาตรา 112 และ 116 นำมาซึ่งการเรียกร้องอย่างกว้างขวางให้ยกเลิกมาตรา 112 เกิดการชุมนุมที่หน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ หลังม็อบที่หน้ารัฐสภาแยกเกียกกายในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนเมื่อสภาตีตกร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ "ไอลอว์" นำเสนอ
ในขณะเดียวกัน กลุ่ม "ไทยภักดี" และเครือข่ายออกมามีบทบาทต่อต้านแนวคิดยกเลิกมาตรา 112 คัดค้านกลุ่มราษฎร โดยนัดรวมตัวชุมนุมหลายครั้ง กระทั่งหวิด "ม็อบชนม็อบ" จนสถานการณ์บานปลายที่แยกเกียกกายมีผู้บาดเจ็บจากการถูกยิงด้วยอาวุธปืน
การเคลื่อนไหวใหญ่ครั้งสุดท้ายของปีเกิดขึ้นในวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว จัดเสวนาหัวข้อรัฐสวัสดิการ การปฏิรูปสถาบัน และร้องเพลงฉ่อยเสียดสีการเมือง โดยประกาศย้ำชัดว่าปีหน้า 2564 เข้มข้นแน่นอน พร้อมปักธงนำผู้ลี้ภัยในต่างแดนกลับมาฉลองปีใหม่ 2565 ร่วมกันให้ได้
ลาแล้วปีหนูภัย ปีที่คนไทยและทั่วโลกจำจนตาย หลังเผชิญกับเชื้ออุบัติใหม่ ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ต้องอัดฉีดเงินก้อนมหาศาลเพื่อช่วยเหลือประชากรในประเทศและพยุงไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศพัง
ประเทศไทยก็หนีไม่พ้น รัฐบาลออก พ.ร.ก.เงินกู้ 3 ฉบับ วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยภาคประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม และอีกส่วนอยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มุ่งช่วยเหลือภาคเอกชนโดยตรง
ซึ่งดูเหมือนการใช้เงินกู้เพื่อการเยียวยาประชาชนถูกใช้มากที่สุด 344,734 ล้านบาท จากก้อน 550,000 ล้านบาท ขณะที่เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ วงเงิน 4 แสนล้านบาท ให้แต่ละกระทรวงทำโครงการเสนอสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา รวมถึง พ.ร.ก.ซอฟต์โลนช่วยเหลือเอสเอ็มอี กลับไม่ค่อยมีความคืบหน้า ขณะที่ พ.ร.ก.ตราสารหนี้แทบไม่มีธุรกิจเอกชนรายใดขอใช้บริการ
โดยรวมแล้วในส่วนเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ยังเหลืออยู่ประมาณ 2 แสนกว่าล้านบาท
เป็นอีกหนึ่งประเด็นฮอตฮิตปี 2563 สายการบินแห่งชาติ "การบินไทย" ประกาศล้มละลาย! ชนวนเริ่มมาตั้งแต่ปี 2551 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีผลขาดทุนมากเป็นประวัติการณ์ 21,314 ล้านบาท นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เข้ามารับตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) และนายบรรยง พงษ์พานิช เข้ารับตำแหน่งกรรมการการบินไทย เพื่อปฏิบัติภารกิจฟื้นการบินไทย จนพลิกกำไรได้ ปี 2553 สูงเป็นประวัติการณ์ 15,350 ล้านบาท แต่หลังจบภารกิจส่งไม้ต่อให้ผู้บริหารคนอื่น การบินไทยก็กลับมาขาดทุน ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมาขาดทุนสะสมปีละหลักหมื่นล้านบาท จนต้องขอเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ
เดือนพฤษภาคม 2563 กระทรวงคมนาคมเห็นชอบให้ฟื้นฟูภายใต้กฎหมายบัญญัติล้มละลาย ต้องมีแผนผ่าตัดองค์กร ปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นต่อเจ้าหนี้
ทั้งนี้ ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 ให้เดินหน้าแผนฟื้นฟูที่ยื่นต่อศาลได้ โดยตั้งคณะผู้ทำแผน ได้แก่ บริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่เซอร์วิสเซส จำกัด และบอร์ดการบินไทย 6 คน ตามแผนต้นปี 2564 ศาลน่าจะมีคำสั่งเห็นชอบแผนและแต่งตั้งผู้บริหารแผนในไตรมาส 1กลับมาเป็นข่าวครึกโครมอีกครั้งภายหลังสำนักข่าว CNN รายงานข่าว ว่าพนักงานอัยการกลับคำสั่งไม่ฟ้อง นายวรยุทธ อยู่วิทยา ทายาทเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ทุกฐานความผิดกรณีขับรถเฟอร์รารีพุ่งชน ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผบ.หมู่งานปราบปราม สน.ทองหล่อ เสียชีวิต ราว 05.30 น.ของวันที่ 3 ก.ย.55 ที่ช่วงปากซอยสุขุมวิท 47 แล้วหลบหนีไปที่บ้านพักเลขที่ 9 ซอยสุขุมวิท 53 โดยปิดเงียบหลายเดือนกว่าสื่อมวลชนจะทราบคำสั่งดังกล่าว จนล่าสุดมีกระบวนการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องคดีดังกล่าวของนายเนตร นาคสุข รอง อสส.เป็นคนเซ็นคำสั่งจากคำร้องขอความเป็นธรรมไม่ฟ้อง ส่งไปให้รอง ผบ.ตร.ไม่เเย้งคำสั่งมา จบที่ไม่ฟ้องนายวรยุทธ
กระบวนการตรงนี้เเม้จบเเล้วเเต่สังคมยังไม่จบ มีการยื่นหนังสือขอให้มีการพิจารณาคำสั่งดังกล่าวนี้ใหม่ไปยังนายกรัฐมนตรี, ประธาน ก.อ.และอัยการสูงสุด จนมีการตั้งคณะทำงาน และคณะกรรมการอีกหลายชุดพิจารณาประเด็นในคดีเเตกออกไปหลายประเด็นใหญ่
ล่าสุดมีเห็นผลชัดไป 1 ประเด็น สำนักงานอัยการสูงสุด คณะทำงานของสำนักงานฯ ที่ตั้งขึ้นมีความเห็นโดยเอกฉันท์ ว่าคดีปรากฏพยานหลักฐานใหม่และเป็นพยานสำคัญแก่คดีซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหาได้จึงสั่งฟ้องนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ผู้ต้องหา ในข้อหาขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อาญา มาตรา 291 เเละคดีมีพยานหลักฐานทั้งปรากฏในสำนวนอยู่เดิมและได้จากการสอบสวนเพิ่มเติม สั่งฟ้องนายวรยุทธ ผู้ต้องหา ในข้อหาเสพยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 (โคเคน หรือโคคาอีน) โดยผิดกฎหมาย โดยแจ้งให้พนักงานสอบสวนนำตัวมาเพื่อฟ้องต่อไป
ส่วนประเด็นการสอบสวนนายเนตรเเละอัยการที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งไม่ฟ้องก่อนหน้านี้ก็ต้องติดตามความคืบหน้าต่อไปในปี'64เช้าวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน โดยปมเหตุที่เป็นชนวนให้ จ.ส.อ.จักรพันธ์ ถมมา ทหารสังกัดกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 กองทัพภาคที่ 2 จ.นครราชสีมา ลงมือก่อเหตุกราดยิงประชาชน เริ่มจากแรงกดดัน กรณีกู้เงินผ่านกองทุนสวัสดิการทหารบก 1 ล้าน 1 แสนบาท มาสร้างบ้านในโครงการสวัสดิการบ้านพักฯ แต่ราคาบ้านสร้างจริง 7-8 แสนบาท แต่ไม่ได้รับเงินทอนจากผู้บังคับบัญชา จึงเข้ากราดยิง พ.อ.อนันต์ฐโรจน์ กระแสร์ อายุ 48 ปี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา และยิงนางอนงค์ มิตรจันทร์ อายุ 63 ปี ผู้เป็นแม่ยายของ พ.อ.อนันต์ฐโรจน์ จนเสียชีวิตทั้งคู่ และได้ขับรถไปยังกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กราดยิงพลทหารเจ็บ 1 นาย และเสียชีวิต 1 นาย พร้อมกับขโมยรถฮัมวี่ และก่อเหตุกราดยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่เสียชีวิตระหว่างทาง 5 ราย กระทั่งคนร้ายได้หลบหนีเข้าไปในศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช ท่ามกลางประชาชนที่พากันแตกตื่น วิ่งหลบหนี ซ่อนตัวตามจุดต่างๆ
ตลอดทั้งคืนเจ้าหน้าที่สนธิกำลังกระจายตัวในศูนย์การค้าเทอร์มินอลฯ ควบคู่กับการนำตัวประชาชนออกมา จนล่วงเลยเข้าสู่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.00 น. เจ้าหน้าที่ได้ตัดสินใจทำการวิสามัญคนร้ายจนเสียชีวิต นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ มีผู้เสียชีวิต 31 ราย และบาดเจ็บอีก 58 ราย
นับเป็นเหตุรุนแรงสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นช่วงต้นปี
เป็นอีกหนึ่งข่าวที่สร้างความหวาดผวาให้ผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก เมื่อตำรวจ อรินทราชบุกจู่โจมจับนายอภิชัย หรือไอซ์ องค์วิศิษฐ์ คาบ้านพักหรูแต่ทรุดโทรมท้ายซอยเพชรเกษม 47 แขวงบางแค เขตบางแค กทม.
เนื่องจากมีผู้ชี้เป้าว่าก่อเหตุขังหญิงสาวใส่หีบเหล็กจนเสียชีวิตแล้วฝังดินอำพรางภายในบ้านหลังดังกล่าว
เจ้าหน้าที่ใช้รถแบ๊กโฮขุดตามจุดที่พยานให้การจนพบโครงกระดูกของ หญิงสาวจริงๆ
ไม่เพียงหญิงสาวโชคร้ายรายเดียวเท่านั้น ช่วงเวลาเดียวกันมีผู้ให้เบาะแส เพิ่มเติม จนเจ้าหน้าที่ขุดค้นที่ดินในบ้านหลังดังกล่าวจนพรุนทุกพื้นที่ ก็พบซาก โครงกระดูกของหญิงสาวอีกอย่างน้อย 3 ราย
หลังจำนนต่อหลักฐานนายอภิชัยอ้างว่ารักฝ่ายหญิงมากไม่อยากให้หนีไปไหน อยากจะเก็บไว้ให้อยู่กับตัวเองตลอดความเจ็บช้ำของคนเป็นพ่อเป็นแม่คงไม่มีอะไรเกินเห็นลูกตัวน้อยๆ ถูกทำร้าย
กลางเดือน ก.ย. กลุ่ม ผู้ปกครองจำนวนมาก แห่ขึ้น โรงพักราชพฤกษ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี แจ้งความดำเนินคดี ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนชื่อดัง ที่มีสาขาทั่วประเทศ และครูหลายคนที่ทำร้ายนักเรียนในห้องที่ ตัวเองดูแลหลายครั้งหลายหน ไม่เว้นแต่ละวัน โดยมีภาพจากกล้องวงจรปิดเป็นหลักฐาน
ที่น่าตกใจก็คือหลังเรื่องแดงขึ้นมา ผู้ก่อตั้งโรงเรียนดังกล่าวกลับตอบโต้อย่างดุเดือดทำนองว่าผู้ปกครองออกมาโวยวายเพราะอยากได้เงิน
ประหนึ่งสาดน้ำมันลงกองเพลิง โดนทัวร์ลงทันทีทั้งในโลกออนไลน์ และโลกจริง
ทายาทผู้ก่อตั้งต้องออกมาขอโทษ อ้างการสื่อสารผิดพลาด พร้อมยอมชดใช้ค่าเสียหายให้นักเรียนทุกรายผู้คนอ้าปากค้างเป็นแถว เมื่อเห็นข่าวในช่วงกลางเดือน มิ.ย. ที่ตำรวจจับแก๊งคนร้ายที่วางแผนช่วย พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีตรัฐมนตรี ที่อยู่ในคุกเพราะตกเป็นผู้ต้องหาอุ้มฆ่าพี่ชาย ผู้พิพากษาคดี
แผนร้ายที่ถูกเปิดโปงออกมาราวกับภาพยนตร์แอ๊กชั่นระดับโลก มีทั้งระเบิดเสาธงให้พาดกำแพงคุกเพื่อหนีออกมา เตรียมเฮลิคอปเตอร์ใช้หลบหนี จับเมียผบ.เรือนจำใช้ต่อรอง รวมถึงแผนสำรองชิงตัวระหว่างถูกนำตัวออกจากเรือนจำไปขึ้นศาล
แม้ตัวพ.ต.ท.บรรยินก็ยังเครียดหลังรู้ข่าว พยายามผูกคอฆ่าตัวตาย แต่ยังไม่ถึงฆาตมีคนช่วยได้ในที่สุด
ล่าสุดวันที่ 15 ธ.ค. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษาตัดสินประหารชีวิตพ.ต.ท.บรรยิน พร้อมพวกในคดีดังกล่าว แต่ลดโทษเหลือจำคุกชั่วชีวิต
ขณะที่นายบวรศักดิ์ ทวิพัฒน์ อธิบดี ผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติ มิชอบกลาง มีความเห็นแย้งให้ประหาร สถานเดียว
ชี้พฤติการณ์ร้ายแรงไม่ยำเกรงกฎหมาย และกลับคำให้การรับสารภาพภายหลังเพราะจำนนต่อหลักฐานเครดิตแหล่งข้อมูล : khaosod,.matichon