ยกเคสชายวัย44‘ติดโควิดดับ’ อาการรุนแรง ไม่พบแพทย์ใน 48 ชม.
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ ยกเคสชายวัย44‘ติดโควิดดับ’ อาการรุนแรง ไม่พบแพทย์ใน 48 ชม.
เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 1 มกราคม 2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข( สธ.) นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป และปฏิบัติหน้าที่รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีการระบาดในสถานบันเทิงและร้านอาหารบริเวณบางพลัด กทม. ว่า ล่าสุดมีข้อมูลเพิ่มเติมโดยพบผู้ติดเชื้อเพิ่มเป็น 48 ราย จากเดิม 43 ราย เพิ่มขึ้นอีก 5 ราย หากรวมผู้ติดเชื้อรายแรกข้อมูล ณ วันที่ 15-31 ธันวาคม 2563 รวมเป็น 49 ราย ซึ่งเหตุการณ์นี้เริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2563 ที่พบผู้ชายป่วย และตรวจพบเชื้อ หลังจากนั้นพบเพื่อนร่วมงานในสถานที่ทำงานเดียวกัน คือ ร้านอาหารแซ่บอีสาน ร้านอีสานกรองแก้ว และร้านน้องใหม่พลาซ่า นอกจากพนักงานร้านตรวจพบโควิด ยังพบลูกค้าติด โดยพบจังหวัดใกล้เคียงอย่าง จ.นนทบุรี และนครปฐม
ทั้งนี้ ข้อมูลน่าสนใจ คือ รายที่ 49 คือ คนที่เสียชีวิตเป็นชายไทยอายุ 44 ปี เคสเสียชีวิตรายที่ 62 จากทั้งหมด ณ ขณะนี้ 63 ราย เสียชีวิตเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 จากประวัติพบว่าป่วยมาแล้วตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2563 หลังจากรับประทานอาหารวันที่ 20 ธันวาคม 2563 และมีอาการป่วยก็ยังไม่พบแพทย์ทันที หลังจากนั้น 2 วันเริ่มเหนื่อยหอบ
และเมื่อเหนื่อยมากขึ้นก็ไปตรวจคลินิกทางเดินหายใจที่ รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ โดยความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดลดลงเหลือ 80 จากปกติ 90-100 โดยวันที่ 31 ธันวาคม 2563 อาการไม่ดีขึ้น ส่งต่อไปรพ.จุฬาลงกรณ์ และเสียชีวิตเมื่อช่วงเวลา 15.00 น. ขณะนี้มีการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้งครอบครัวและในโรงพยาบาล
กรณีนี้คือตัวอย่างของการป่วยที่นำมาซึ่งอาการรุนแรงในเวลาอันสั้น จึงขอย้ำเตือนว่ากลุ่มที่ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด คือ ผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีประวัติโรคประจำตัว โรคปอด โรคเบาหวาน หากมีอาการทางเดินหายใจต้องรีบมาพบแพทย์ หากมาช้าเกิน 48 ชั่วโมง มีโอกาสเสียชีวิต.. นพ.โสภณ กล่าว
นพโสภณ กล่าวย้ำว่า กลุ่มเสี่ยงยังคงเป็นกลุ่มผู้ที่สูงอายุ มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ปอด หญิงตั้งครรภ์ หรือเด็ก จึงขอให้กลุ่มเสี่ยงปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ก่อนไปพบแพทย์ต้องสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง รวมทั้งล้างมือบ่อยๆ เลี่ยงการเข้าสถานที่มีคนแออัด หรือหากมีอาการเหนื่อยหอบมาให้โทรแจ้งให้รถพยาบาลมารับ แต่หากอาการน้อยให้หลีกเลี่ยงการใช้รถสาธารณะ ลักษณะของสถานที่ปิด ไม่มีการระบายอากาศ รวมถึงมีการรวมคนจำนวนมาก ทำให้โอกาสแพร่เชื้อจากสถานที่ดังกล่าว เช่น สถานบันเทิง ร้านคาราโอเกะ ผับ บาร์ ฯลฯ เกิดขึ้นได้ง่าย ขอแนะนำว่าหากพนักงานในร้านมีอาการป่วยให้รีบหยุดงาน เพื่อลดโอกาสแพร่เชื้อ เนื่องจากผู้ที่ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ ดังนั้นการสวมหน้ากากตลอดเวลาทั้งผู้ให้บริการและผู้เข้ารับบริการ เว้นระยะห่าง และล้างมือ เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากสถานที่ดังกล่าว
ส่วน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ขณะนี้ผู้ป่วยโควิดมีความสัมพันธ์กับร้านอาหาร โดยเฉพาะนั่งกินในร้านมีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อมาก ยิ่งไม่ใส่หน้ากากอนามัยยิ่งมีความเสี่ยง ซึ่งวันนี้มีการประชุมศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีโรคโควิด-19 (ศปค.สธ.) ซึ่งมีข้อแนะนำให้กับพื้นที่มีการระบาดโควิด-19 โดยสถานบันเทิง และร้านอาหารนั่งกินในร้านให้ปิดดำเนินการ 14 วัน แต่อนุญาตให้สามารถซื้อกลับไปรับประทานที่บ้านได้อยู่ ซึ่งจะเสนอคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร และ ศบค.ชุดใหญ่ พิจารณา หากประชาชนหลีกเลี่ยงการรับประทานในร้านขอให้ซื้อกลับไปที่บ้าน โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง ทั้งกทม. ปริมณฑล รวมถึงภาคกลาง และภาคตะวันออกด้วย
ทั้งนี้ ข้อมูลน่าสนใจ คือ รายที่ 49 คือ คนที่เสียชีวิตเป็นชายไทยอายุ 44 ปี เคสเสียชีวิตรายที่ 62 จากทั้งหมด ณ ขณะนี้ 63 ราย เสียชีวิตเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 จากประวัติพบว่าป่วยมาแล้วตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2563 หลังจากรับประทานอาหารวันที่ 20 ธันวาคม 2563 และมีอาการป่วยก็ยังไม่พบแพทย์ทันที หลังจากนั้น 2 วันเริ่มเหนื่อยหอบ
และเมื่อเหนื่อยมากขึ้นก็ไปตรวจคลินิกทางเดินหายใจที่ รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ โดยความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดลดลงเหลือ 80 จากปกติ 90-100 โดยวันที่ 31 ธันวาคม 2563 อาการไม่ดีขึ้น ส่งต่อไปรพ.จุฬาลงกรณ์ และเสียชีวิตเมื่อช่วงเวลา 15.00 น. ขณะนี้มีการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้งครอบครัวและในโรงพยาบาล
กรณีนี้คือตัวอย่างของการป่วยที่นำมาซึ่งอาการรุนแรงในเวลาอันสั้น จึงขอย้ำเตือนว่ากลุ่มที่ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด คือ ผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีประวัติโรคประจำตัว โรคปอด โรคเบาหวาน หากมีอาการทางเดินหายใจต้องรีบมาพบแพทย์ หากมาช้าเกิน 48 ชั่วโมง มีโอกาสเสียชีวิต.. นพ.โสภณ กล่าว
นพโสภณ กล่าวย้ำว่า กลุ่มเสี่ยงยังคงเป็นกลุ่มผู้ที่สูงอายุ มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ปอด หญิงตั้งครรภ์ หรือเด็ก จึงขอให้กลุ่มเสี่ยงปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ก่อนไปพบแพทย์ต้องสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง รวมทั้งล้างมือบ่อยๆ เลี่ยงการเข้าสถานที่มีคนแออัด หรือหากมีอาการเหนื่อยหอบมาให้โทรแจ้งให้รถพยาบาลมารับ แต่หากอาการน้อยให้หลีกเลี่ยงการใช้รถสาธารณะ ลักษณะของสถานที่ปิด ไม่มีการระบายอากาศ รวมถึงมีการรวมคนจำนวนมาก ทำให้โอกาสแพร่เชื้อจากสถานที่ดังกล่าว เช่น สถานบันเทิง ร้านคาราโอเกะ ผับ บาร์ ฯลฯ เกิดขึ้นได้ง่าย ขอแนะนำว่าหากพนักงานในร้านมีอาการป่วยให้รีบหยุดงาน เพื่อลดโอกาสแพร่เชื้อ เนื่องจากผู้ที่ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ ดังนั้นการสวมหน้ากากตลอดเวลาทั้งผู้ให้บริการและผู้เข้ารับบริการ เว้นระยะห่าง และล้างมือ เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากสถานที่ดังกล่าว
ส่วน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ขณะนี้ผู้ป่วยโควิดมีความสัมพันธ์กับร้านอาหาร โดยเฉพาะนั่งกินในร้านมีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อมาก ยิ่งไม่ใส่หน้ากากอนามัยยิ่งมีความเสี่ยง ซึ่งวันนี้มีการประชุมศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีโรคโควิด-19 (ศปค.สธ.) ซึ่งมีข้อแนะนำให้กับพื้นที่มีการระบาดโควิด-19 โดยสถานบันเทิง และร้านอาหารนั่งกินในร้านให้ปิดดำเนินการ 14 วัน แต่อนุญาตให้สามารถซื้อกลับไปรับประทานที่บ้านได้อยู่ ซึ่งจะเสนอคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร และ ศบค.ชุดใหญ่ พิจารณา หากประชาชนหลีกเลี่ยงการรับประทานในร้านขอให้ซื้อกลับไปที่บ้าน โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง ทั้งกทม. ปริมณฑล รวมถึงภาคกลาง และภาคตะวันออกด้วย
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น