ไอ้อ้วนไอ้เตี้ย ไอ้ดำ ไอ้โย่ง หมูตอน เหยิน ไอ้แว่น หยิก ใครจะคาดว่าคิดว่าคำแสนจะธรรมดาเหล่านี้เป็นชนวนเหตุแห่งความรุนแรง สร้างอันธพาลเด็ก
จากข้อมูลการสำรวจสถานการณ์ความรุนแรงในโรงเรียนของผศ.ดร.สมบัติตาปัญญา อ.ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ (มช.) ที่เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากครู1,300 คนและนร.ชั้นป.4-ม.2 จำนวน3,047 คนในกทม. นนทบุรี ลพบุรี ชลบุรี จันทบุรี ขอนแก่น สงขลา และเชียงใหม่ เดือน ก.พ.- มี.ค.2549 พบว่านร.40 % เคยถูกรังแกเดือนละ 2-3 ครั้งเป็นการล้อเลียนให้อับอาย เหยียดหยามดูถูกเชื้อชาติหรือผิวพรรณ เกิดขึ้นห้องเรียนเวลาที่ครูไม่อยู่ เกิดขึ้นมากสุดในชั้นป.4 และลดลงเรื่อยๆตามระดับชั้นที่สูงขึ้น
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือคำล้อเลียนในหมู่เด็กเหล่านี้ถูกเพิกเฉยจากครูพ่อแม่ และเพื่อน
โดยครูประจำชั้น 41.2 % ไม่เคยยุติการกระทำผู้ปกครอง 75.2 % ไม่ติดต่อกับโรงเรียนเพื่อห้ามและนักเรียนคนอื่นไม่สนใจจะห้าม 20.6 % ไม่เพียงเท่านี้การที่ครู 70 % เห็นว่าการลงโทษด้วยความรุนแรงจำเป็นเนื่องจากหากไม่ลงโทษด้วยความรุนแรงจะกำหราบเด็กไม่ได้
รูปแบบมีทั้งการตีก้นอดอาหารและจับขัง เป็นเสมือนตัวเชื้อที่เร่งปฏิกิริยาให้เกิดการตอบสนองในรูปแบบของความรุนแรง
เพราะไม่ได้รับการอธิบายชี้แนะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำให้ปัจจุบันมีเด็กไทยตกอยู่ในวังวน ตบ ตี เตะ ตึ้บ ถึงกว่า 7 แสนคนบางคนรุนแรงร้ายแรงถึงขั้นลงหน้า 1 หนังสือพิมพ์อย่างกรณี เด็กนักเรียนหญิงตบตีกันในโรงเรียนแล้วถ่ายคลิปวีดีโอเก็บไว้ เพียงไม่พอใจจากการถูกมองหน้า เป็นต้น