เปิดข้อมูลอาการ โควิด-19 แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มวัย


เปิดข้อมูลอาการ โควิด-19 แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มวัย


เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) เปิดเผยว่า ตนขอย้ำว่าในเรื่องของการติดเชื้อโควิด-19 โดยทั่วไปจะแสดงอาการภายในวันที่ 5 หลังจากการรับเชื้อ และระยะของการฝักตัว 10-14 วัน ความสามารถในการแพร่โรคของผู้ป่วยติดเชื้อจะแตกต่างกัน โดยปกติผู้ป่วย 1 คน สามารถแพร่โรคให้คนอื่นได้ประมาณ 2 คนครึ่ง (2.5) แต่ถ้าเป็นคนที่สามารถแพร่เชื้อได้ทีละมากๆ (super spreader) แพร่เป็นกลุ่มก้อน เช่น สนามมวย สถานบันเทิง เป็นต้น ตอนนั้นความสามารถในการแพร่โรคของผู้ป่วย 1 คน แพร่ต่อได้ 3 คนกว่าๆ (3.6) แต่ในขณะนี้ความสามารถในการแพร่โรคอยู่ที่ 1 คนเศษๆ



ทั้งนี้ การแพร่โรค มี 2 ทาง คือ 1.รับเชื้อไวรัสโดยตรง เมื่ออยู่ในระยะใกล้ชิดกับผู้ป่วย และมีผู้ที่ไอหรือจาม โดยไม่มีเครื่องป้องกัน 2.ผู้ป่วยไอ จาม มีละอองเชื้อติดตามผิวสัมผัสต่างๆ มีคนอื่นมาจับแล้ว ไม่ล้างมือแต่ไปจับหน้า จมูก ปากตัวเอง ทางแก้คือคนป่วยสวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ สามารถลดการแพร่เชื้อได้ 97% ส่วนคนไม่ป่วยให้สวมหน้ากากชนิดผ้า รวมถึงการทำความสะอาดพื้นผิวด้วยการเช็ดน้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ และหลีกเลี่ยงการนำมือสัมผัสใบหน้าบ่อยๆ และหมั่นล้างมือให้สะอาด ทั้งนี้โดยทั่วไปเชื้อไวรัสนี้ จะอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ประมาณ 24-72 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นผิวและอุณหภูมิ หากอุณหภูมิสูงเชื้อจะมีอายุที่สั้นลง



เปิดข้อมูลอาการ โควิด-19 แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มวัย


นพ.ธนรักษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับอาการพบว่าเด็กจะมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ โดยในส่วนของเด็กจะมีอาการไข้ 42% ไอ 49% มีน้ำมูก 8% อ่อนเพลีย 7% แต่หากเป็นผู้ใหญ่จะมีไข้ 89% ไอ 68% ซึ่งเป็นอาการหลักที่สำคัญ ส่วนเจ็บคอจะพบได้ 14% มีน้ำมูก 5% ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 15% อ่อนเพลีย 38% และหากมีอาการของปอดอักเสบจะเริ่มแสดงอาการ เหนื่อย หอบ หายใจเร็วและลำบาก ซึ่งช่วงอายุมีผลต่ออัตราการเสียชีวิต ซึ่งในกลุ่ม 10-19 ปีมีโอกาสต่ำมาก ช่วงอายุ 50-59 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงและช่วงอายุ 80 ปีขึ้นไปมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 14.8% โดยเฉพาะคนมีโรคประจำตัว

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยติดเชื้อนั้นพบว่า 80% มีอาการน้อยถึงน้อยมาก สามารถหายได้เอง ไม่จำเป็นต้องรับยา ในกลุ่มนี้มี 30% เป็นการติดเชื้อและมีภูมิคุ้มกันแต่ไม่มีอาการ นับว่าเป็นเรื่องที่ดี ส่วน 20% เป็นผู้ป่วยที่อาจต้องรักษาในรพ. ซึ่งในจำนวนนี้พบ 5% อาการรุนแรง ต้องรักษาในกรณีพิเศษ ส่วนอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1.4%.




นพ.ธนรักษ์ กล่าวถึงกรณีที่มีการขอความร่วมมือให้ผู้ป่วยที่หายจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มาบริจาคโลหิต ว่า เป็นหลักคิดเรื่องการบริจาคโลหิต ที่หลังจากผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งหายจะมีภูมิคุ้มกันและภูมิคุ้มกันสามารถที่จะไปจัดการกับเชื้อได้ โดยช่วงหนึ่งประเทศจีน ก็มีการเชิญชวนให้ผู้หายป่วยไปบริจาค เพื่อเอาภูมิคุ้มกันไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหนักต่อไป ส่วนประเทศไทยก็เคยทำ กรณีผู้ป่วยซึ่งเป็นคนขับรถแท็กซี่ รักษาหายเป็นรายแรกก็ขอให้บริจาคเช่นดัน อย่างไรก็ตามโดยหลักการภูมิคุ้มที่อยู่ในร่างกายเชิงทฤษฎีเชื่อว่าจะนำมาช่วยผู้ป่วยที่อาการรุนแรง และมีความเป็นไปได้ แต่ขณะนี้ในจีนก็ยังไม่ได้มีรายงานความคืบหน้าในเรื่องนี้



เครดิตแหล่งข้อมูล : pptvhd36


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:17 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์