ซื้อบัตรโดยสารรถไฟฟ้า 15,000 บาทลดหย่อนภาษีได้เพื่อมนุษย์เงินเดือนจริงหรือ?
เริ่ม....
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า เที่ยวเดินทางที่เติมในบัตรมีอายุการใช้งาน 30 วัน นับจากวันที่ใช้เดินทางครั้งแรก ใน 1 เดือน
แอดมินทำงาน 20 วัน (4 สัปดาห์ๆ ละ 5 วัน) ใช้บริการแน่ๆ 40 เที่ยว ถ้าแอดมินเลือกใช้บัตรโดยสารแรบบิทประเภทสำหรับบุคคลทั่วไป ซื้อเที่ยวในอัตราสูงสุด 50 เที่ยว แอดมินอาจจะเสีย 10 เที่ยวไปฟรีๆ ก็เลยเลือกซื้อเที่ยวในอัตรา 40 เที่ยว มูลค่า 1,080 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 27 บาท เมื่อนำมูลค่า 1,080 บาทที่ต้องจ่ายทุกเดือนเป็นจำนวน 12 เดือน จะเท่ากับต้องใช้ซื้อตั๋ว 12,960 บาท
อย่างไรก็ตาม เคยมีงานวิจัยจาก นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เปิดเผยผลการศึกษาของ TDRI เรื่องการเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายระบบขนส่งสาธารณะรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑลพบข้อมูลว่าค่ารถไฟฟ้าในเมืองหลวงเมื่อวัดตามอำนาจดัชนีการซื้อ (Purchasing Power Parity : PPP) มีราคาค่อนข้างสูงหรือเฉลี่ยราว 28.30 บาท/เที่ยว" และเมื่อคำนวณตั๋วของแอดมินที่ซื้อ 40 เที่ยวจะอยู่ที่ เฉลี่ยเที่ยวละ 27 บาท ใน 1 วันจะถูกหักค่าโดยสาร 54 บาท (ไป-กลับ)
ขณะที่ค่าโดยสารรถไฟฟ้าเฉลี่ยของสิงคโปร์อยู่ที่ 13.3 บาท/คน/เที่ยว ส่วนฮ่องกงอยู่ที่ 16.78 บาท/คน/เที่ยว ถือว่าของไทยค่าโดยสารระบบรางสูงกว่าประเทศในภูมิภาคเอเชีย
และถ้าคิดเป็นต่อ 1 กิโลเมตร ประเทศไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 14.8 บาท ขณะที่ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ อยู่ที่ 12.4 บาท สิงคโปร์อยู่ที่ 2.3 บาท และฮ่องกง 4.08 บาท
เปิดสูตร !! ค่ารถไฟฟ้า เหลือ 15 บาทตลอดสาย
อย่างไรก็ตาม แอดมินก็คาดหวังว่าในอนาคตที่ยังต้องใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าแล้วเสร็จในอีกหลายสาย เช่น ปี 2563 สายสีเขียว สายสีน้ำเงิน ปี 2564 สายสีแดงเข้ม ปี 2565 สายสีชมพู สายสีเหลือง และปี 2566 สายสีส้ม ราคาค่าโดยสารอาจจะเหมาะสมกับค่าครองชีพมากขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นแล้วแม้จะมีจำนวนรถไฟฟ้าที่คลอบคลุมการเดินทางแต่ยังคิดค่าโดยสารแบบปัจจุบันนั่นหมายความว่า "ยิ่งเปลี่ยนหลายสาย ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งต้องเพิ่มขึ้น"