คดีพลิก!? ทนายดังชี้ ‘อาม ชุติมา’ ไม่รอด ยกฎีกาเป็นตัวอย่างชี้สัญญาสมบูรณ์แล้ว
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ คดีพลิก!? ทนายดังชี้ ‘อาม ชุติมา’ ไม่รอด ยกฎีกาเป็นตัวอย่างชี้สัญญาสมบูรณ์แล้ว
เฟซบุ๊กเพจ สายตรงกฎหมาย ได่โพสต์เกี่ยวกับกรณีดราม่าไหแตกระหว่าง อาม ชุติมา กับนายห้าง ประจักษ์ชัย เนาวรัตน์ โดยได้ระบุข้อความไว้ว่า
เรื่องของน้องอามกับประจักชัย ที่จะต่อสู้กันเรื่องสัญญาเป็นโมฆียะ เฉพาะประเด็นที่จะบอกว่า น้องอามเซ็นสัญญาแต่คุณแม่เซ็นพยานแล้วสัญญาเป็นโมฆียะ ผมว่าน้องอามไม่น่ารอด เพราะนี่ไม่ใช่คดีแรก แต่เคยมีคนฟ้องกันมาอย่างน้อย 2 คดี แล้วคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา ซึ่งทั้ง 2 คดี ศาลตัดสินในทำนองที่ว่า การที่เด็กทำสัญญาโดยที่คุณแม่เซ็นเป็นพยาน ถือว่าคุณแม่ได้ให้ความยินยอมแล้ว
1319/2512 “ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว”
3496/2537 “สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ผู้เยาว์ทำขึ้น มี บ.ผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อเป็นพยานในเอกสารนั้น ย่อมถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว”
2 ฎีกานี้ ผมพูดไว้ในรายการทุบประเด็นตั้งแต่ 24 ตค 61 ถ้าจะช่วยน้องอาม ลองไปดูประเด็นอื่นน่าจะมีโอกาสมากกว่า
ทนายรัชพล ศิริสาคร
ประธานชมรมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม
เพจ สายตรงกฎหมาย ยึดมั่นความยุติธรรม
โทร 0957563521
1319/2512 ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรสย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง ย่อมขาดอายุความมรดก
ที่มา FB : สายตรงกฎหมาย
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น