หญิงถูกคุกคามทางเพศด้วยสายตาพุ่งอันดับ1 บนรถโดยสารประจำทางพบบ่อยที่สุด!
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ หญิงถูกคุกคามทางเพศด้วยสายตาพุ่งอันดับ1 บนรถโดยสารประจำทางพบบ่อยที่สุด!
ภาคีเครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง [ (Safe Cities for Women) นำโดยองค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และเครือข่ายสลัมสี่ภาค ร่วมมอบ"คู่มือเผือก" เป็นคู่มือต้นแบบการอบรมพนักงานขนส่งสาธารณะเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศให้แก่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย ภายหลังการรับมอบคู่มือต้นแบบการอบรมพนักงานขนส่งสาธารณะ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศ ว่าทางกระทรวงคมนาคมไม่นิ่งนอนใจเรื่องการคุกคามบนรถโดยสารสาธารณะ เนื่องจากถือเป็นอันตรายทั้งทรัพย์สิน และบุคคล ซึ่งการร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ถือเป็นเรื่องที่ดีและการเพิ่มการประชาสัมพันธ์ถึงแนวทางการป้องกันตัวเอง อย่างไรก็ตามได้มีการจะสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือเพราะเกี่ยวข้องกับการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ และเข้มงวดเรื่องความปลอดภัยในการใช้และให้บริการเพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย ภายหลังการรับมอบคู่มือต้นแบบการอบรมพนักงานขนส่งสาธารณะ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศ ว่าทางกระทรวงคมนาคมไม่นิ่งนอนใจเรื่องการคุกคามบนรถโดยสารสาธารณะ เนื่องจากถือเป็นอันตรายทั้งทรัพย์สิน และบุคคล ซึ่งการร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ถือเป็นเรื่องที่ดีและการเพิ่มการประชาสัมพันธ์ถึงแนวทางการป้องกันตัวเอง อย่างไรก็ตามได้มีการจะสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือเพราะเกี่ยวข้องกับการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ และเข้มงวดเรื่องความปลอดภัยในการใช้และให้บริการเพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศ
ด้านนางสาววราภรณ์ แช่มสนิท ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ กล่าวว่า
เนื่องจากเดือน มี.ค. ถูกจัดให้เป็นวันสตรีสากล ทางเครือข่ายฯจึงอยากให้มีการให้ความสำคัญกับการลดปัญหาการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งการเข้ามอบคู่มือดังกล่าวในครั้งนี้ได้มีการยื่นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญคือการจัดอบรมพนักงานผู้ให้บริการขนส่งสธารณะให้เข้าใจและตระหนึกถึงสภาพปัญหาและมีทักษะในการช่วยเหลือผู้โดยสารที่ถูกคุมคามทางเพศเพื่อช่วยลดปัญหาการคุกคามทางเพศบนระบบสาธารณะอย่างต่อเนื่องและได้ผลต่อไป
เนื่องจากเดือน มี.ค. ถูกจัดให้เป็นวันสตรีสากล ทางเครือข่ายฯจึงอยากให้มีการให้ความสำคัญกับการลดปัญหาการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งการเข้ามอบคู่มือดังกล่าวในครั้งนี้ได้มีการยื่นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญคือการจัดอบรมพนักงานผู้ให้บริการขนส่งสธารณะให้เข้าใจและตระหนึกถึงสภาพปัญหาและมีทักษะในการช่วยเหลือผู้โดยสารที่ถูกคุมคามทางเพศเพื่อช่วยลดปัญหาการคุกคามทางเพศบนระบบสาธารณะอย่างต่อเนื่องและได้ผลต่อไป
ขณะที่นางสาวรุ่งทิพย์ อิ่มรุ่งเรือง ผู้จัดการฝ่ายโครงการและนโยบาย องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย กล่าวว่าทางเครือข่ายฯต้องการเห็นภาพของนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องของการป้องกันหรือไม่ให้เกิดการคุกคามทางเพศบนรถสาธารณะทั้งหมด ซึ่งทางภาครัฐจะต้องมีมาตรการหลายๆอย่างออกมา โดยที่ผ่านมาเครือข่ายฯได้เสนอให้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพราะอย่างน้อยจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะมอนิเตอร์ ตรวจสอบว่ามีการคุกคามทางเพศเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะมีกรณีที่เหยื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่ซึ่งเจ้าหน้าที่บอกว่าไม่สามารถทำอะไรได้ เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐาน
ทั้งนี้ จากข้อมูลจากผู้ตอบแบบสำรวจทุกเพศยอมรับว่าเคยถูกคุกคามทางเพศขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะถึง 35% โดยในจำนวนนี้เป็นเพศหญิง 45% ซึ่งพฤติกรรมการคุกคามทางเพศที่พบบ่อย
5 อันดับแรก คือ
ทั้งนี้ จากข้อมูลจากผู้ตอบแบบสำรวจทุกเพศยอมรับว่าเคยถูกคุกคามทางเพศขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะถึง 35% โดยในจำนวนนี้เป็นเพศหญิง 45% ซึ่งพฤติกรรมการคุกคามทางเพศที่พบบ่อย
5 อันดับแรก คือ
อันดับ 1. ลวนลามด้วยสายตา 18.8 %
อันดับ 2. แต๊ะอั๋ง ถูกเนื้อต้องตัว ลูบคลำ15.4 %
อันดับ 3. ผิวปากแซว 13.9 %
อันดับ 4. พูดแซว พูดแทะโลม พูดเกี้ยวพาราสี 13.1 %
อันดับ 5. พูดลามก เรื่องเพศ หรือ ด่าทอด้วยถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องเพศ 11.7 %
ในส่วนของประเภทของการขนส่งสาธารณะที่เกิดเหตุการณ์คุกคามทางเพศบ่อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่รถโดยสารประจำทาง 50 %,
รองลงมาคือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง 11.4 %
รถแท็กซี่ 10.9 %
รถตู้ 9.8 %
รถไฟฟ้า 9.6%
อย่างไรก็ตาทแนวทางการจัดการสถานการณ์การคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะนั้น มองว่าหากพนักงานให้บริการพบเห็นสิ่งผิดปกติ เช่น ผู้โดยสารมีสีหน้าอึดอัด ไม่พอใจ หรือ แสดงท่าทีว่าต้องการความช่วยเหลือ พนักงานควรมีวิธีจัดการกับสถานการณ์นั้น ๆ ทั้งอาจส่งเสียงเตือน ในลักษณะที่ไม่ระบุเจาะจงตัวผู้กระทำการคุกคามและเพื่อเตือนให้ผู้ถูกคุกคามระมัดระวังตัว หากยังไม่หยุดพฤติกรรม พนักงานควรแจ้งให้พนักงานขับรถหยุดรถ และเชิญผู้โดยสารกลุ่มนี้ลงจากรถ
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น