เร่งแก้ก.ม.ตรวจแอลกอฮอล์เมาขับ ถ้าตร.ละเว้นผิดม.157
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอาชญากรรม เร่งแก้ก.ม.ตรวจแอลกอฮอล์เมาขับ ถ้าตร.ละเว้นผิดม.157
กมธ.คมนาคม วุฒิสภา เร่งแก้กฎหมาย ให้ตำรวจต้องตรวจแอลกอฮอล์ทุกรายกรณีเกิดอุบัติเหตุ หากไม่กระทำถือว่า ละเว้นต่อหน้าที่ มีความผิดตามมาตรา 157
เมื่อวันที่ 15 มี.ค. นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าวถึงกรณีอุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้าที่ นายวรสิทธิ์ อิสสระ ได้รับอุบัติเหตุที่ จ.ภูเก็ต ว่า
ตามข้อกฎหมายปัจจุบันเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้ดุลพินิจในการตรวจหาปริมาณแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่ได้ ไม่ว่าจะมีอุบัติเหตุนั้นๆ จะมีผู้เสียชีวิตหรือไม่ก็ตาม แต่กรณีนี้ไม่แน่ใจได้ตรวจหาปริมาณแอลกอฮอล์หรือไม่ เพราะกฎหมายเปิดช่องว่างให้กระทำได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมกรรมาธิการคมนาคม (กมธ.) วุฒิสภา ที่มีพลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้หยิบกรณีอุบัติเหตุดังกล่าวมาหารือในช่วงบ่ายของวันที่ 14 มี.ค.นี้ และเสียงส่วนใหญ่เห็นร่วมกันควรแก้ไขกฏหมาย โดยจะส่งรายละเอียดการแก้ไขให้คณะกรรมาธิการกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร โดยมีรายละเอียดสำคัญบังคับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ทุกรายเมื่อมีอุบัติเหตุ หากไม่กระทำถือว่าละเว้นต่อหน้าที่ มีความผิดตามมาตรา 157 และกรณีที่ผู้ขับขี่หมดสติ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถตรวจสอบได้ ควรส่งให้แพทย์เป็นผู้เจาะเลือดเพื่อหาปริมาณแอลกอฮอล์
อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธการตรวจค่าแอลกอฮอล์ พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 142 บัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้ขับขี่ปฏิเสธไม่ยอมให้พิสูจน์ กฎหมายก็ให้ถือว่าผู้ขับขี่มีแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกฎหมายกำหนด จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000- 20,000 บาท
เมื่อวันที่ 15 มี.ค. นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าวถึงกรณีอุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้าที่ นายวรสิทธิ์ อิสสระ ได้รับอุบัติเหตุที่ จ.ภูเก็ต ว่า
ตามข้อกฎหมายปัจจุบันเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้ดุลพินิจในการตรวจหาปริมาณแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่ได้ ไม่ว่าจะมีอุบัติเหตุนั้นๆ จะมีผู้เสียชีวิตหรือไม่ก็ตาม แต่กรณีนี้ไม่แน่ใจได้ตรวจหาปริมาณแอลกอฮอล์หรือไม่ เพราะกฎหมายเปิดช่องว่างให้กระทำได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมกรรมาธิการคมนาคม (กมธ.) วุฒิสภา ที่มีพลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้หยิบกรณีอุบัติเหตุดังกล่าวมาหารือในช่วงบ่ายของวันที่ 14 มี.ค.นี้ และเสียงส่วนใหญ่เห็นร่วมกันควรแก้ไขกฏหมาย โดยจะส่งรายละเอียดการแก้ไขให้คณะกรรมาธิการกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร โดยมีรายละเอียดสำคัญบังคับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ทุกรายเมื่อมีอุบัติเหตุ หากไม่กระทำถือว่าละเว้นต่อหน้าที่ มีความผิดตามมาตรา 157 และกรณีที่ผู้ขับขี่หมดสติ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถตรวจสอบได้ ควรส่งให้แพทย์เป็นผู้เจาะเลือดเพื่อหาปริมาณแอลกอฮอล์
อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธการตรวจค่าแอลกอฮอล์ พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 142 บัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้ขับขี่ปฏิเสธไม่ยอมให้พิสูจน์ กฎหมายก็ให้ถือว่าผู้ขับขี่มีแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกฎหมายกำหนด จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000- 20,000 บาท
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น