ประท้วงเรื้อรัง+พิษโควิดทำเงินบาททรุดที่สุดในเอเชีย
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอาชญากรรม ประท้วงเรื้อรัง+พิษโควิดทำเงินบาททรุดที่สุดในเอเชีย
ค่าเงินบาทเจอข่าวร้าย แต่พันธบัตรของไทยกลับมามีพลังอีกครั้ง
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า การประท้วงต่อต้านรัฐบาลและความกังวลที่เกิดขึ้นอีกครั้งเกี่ยวกับผลกระทบของไวรัสต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำให้เงินบาทกลายเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่มีความเคลื่อนไหวที่แย่ที่สุดในภูมิภาค
เงินบาทได้รับผลกระทบอย่างหนักนับตั้งแต่ผู้ประท้วงจัดการเดินขบวนเมื่อเดือนที่แล้ว นับเป็นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การรัฐประหารของกองทัพในปี 2557 และแกนนำยังเรียกร้องให้มีการหยุดงานเพื่อกดดันรัฐบาลต่อไป
นอกจากนี้ ความหวังของไทยยังริบหรี่เกี่ยวกับศักยภาพในการเปิดประเทศเพื่อผลักดันการท่องเที่ยว เนื่องจากการตรวจพบกรณีไวรัสอีกครั้งหลังจากตรวจไม่พบมา 100 วันเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
Duncan Tan นักยุทธศาสตร์ของ DBS Group Holdings Ltd. ในสิงคโปร์กล่าวว่าแรงกดดันต่อสกุลเงินบาทสามารถเห็นได้จากความแตกต่างของผลตอบแทนที่ห่างกันมากขึ้นระหว่างการค้าออนชอร์และออฟชอร์ ซึ่งได้เพิ่มขึ้นเป็น 60 จุดจาก 40 จุดในเดือนกรกฎาคม ความแตกต่างนี้ถือได้ว่าเป็นตัวสะท้อนความเสี่ยงทางการเมือง
แต่ในขณะที่ค่าเงินบาทมีผลงานที่แย่ลง แต่พันธบัตรไทยทนทานต่อความไม่สงบทางการเมืองและได้รับประโยชน์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการการระบาดของไวรัส
เครดิตแหล่งข้อมูล : posttoday
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า การประท้วงต่อต้านรัฐบาลและความกังวลที่เกิดขึ้นอีกครั้งเกี่ยวกับผลกระทบของไวรัสต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำให้เงินบาทกลายเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่มีความเคลื่อนไหวที่แย่ที่สุดในภูมิภาค
เงินบาทได้รับผลกระทบอย่างหนักนับตั้งแต่ผู้ประท้วงจัดการเดินขบวนเมื่อเดือนที่แล้ว นับเป็นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การรัฐประหารของกองทัพในปี 2557 และแกนนำยังเรียกร้องให้มีการหยุดงานเพื่อกดดันรัฐบาลต่อไป
นอกจากนี้ ความหวังของไทยยังริบหรี่เกี่ยวกับศักยภาพในการเปิดประเทศเพื่อผลักดันการท่องเที่ยว เนื่องจากการตรวจพบกรณีไวรัสอีกครั้งหลังจากตรวจไม่พบมา 100 วันเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
Duncan Tan นักยุทธศาสตร์ของ DBS Group Holdings Ltd. ในสิงคโปร์กล่าวว่าแรงกดดันต่อสกุลเงินบาทสามารถเห็นได้จากความแตกต่างของผลตอบแทนที่ห่างกันมากขึ้นระหว่างการค้าออนชอร์และออฟชอร์ ซึ่งได้เพิ่มขึ้นเป็น 60 จุดจาก 40 จุดในเดือนกรกฎาคม ความแตกต่างนี้ถือได้ว่าเป็นตัวสะท้อนความเสี่ยงทางการเมือง
แต่ในขณะที่ค่าเงินบาทมีผลงานที่แย่ลง แต่พันธบัตรไทยทนทานต่อความไม่สงบทางการเมืองและได้รับประโยชน์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการการระบาดของไวรัส
เครดิตแหล่งข้อมูล : posttoday
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น