ไขปม...เก้งเผือกหาย สู่ฆาตกรรม ผอ.สวนสัตว์!
ต่อมาเก้งเผือกเพชรก็แพร่ขยายพันธุ์และออกลูกออกหลานมาเป็นเก้งเผือกบ้าง และเก้งปกติสีน้ำตาลบ้าง ซึ่งได้ส่งเก้งเผือกไปยังสวนสัตว์ต่างๆ ทั่วประเทศ ส่วนที่สวนสัตว์เขาเขียวตอนนี้มีเก้งเผือกอยู่ 2 ตัว โดยปกติของเก้งเผือก ถือเป็นยีนส์ด้อย อาจจะเป็นการผสมพันธุ์ระหว่างเก้งสีน้ำตาลด้วยกันกลายเป็นเก้งเผือกก็มี ซึ่งจะมีลักษณะพิเศษลำตัวเป็นสีขาวทั้งตัว มีตาสีแดง จมูกสีชมพู และมีขนาดลำตัวเท่าเก้งปกติ
สัตว์ทุกตัวในสวนสัตว์ถือเป็นทรัพย์สินราชการ จะมีกฎระเบียบอย่างชัดเจน กรณีสัตว์ตายหรือสัตว์สูญหาย จะมีการแสดงบัญชีให้กับองค์การสวนสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบ ถ้าตาย ตายด้วยสาเหตุอะไร ถ้าหาย อะไรทำให้สูญหาย เช่น เกิดฝนตกลมแรงต้นไม้ล้มทับกรง กรงเสียหายทำให้สัตว์หลุดหายไป หรือมีงูเข้ามากิน ซึ่งทุกอย่างต้องมีหลักฐานชัดเจน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการสอบสวนเรื่องเก้งเผือกหายที่สวนสัตว์สงขลา ทางบอร์ดองค์การสวนสัตว์ได้แต่งตั้ง นายอภิเดช สิงหเสนี รองผอ.องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยเก้งเผือกตัวแรก หายไปในช่วงเดือนก.พ. 63 ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดมหาแต่ไม่พบ กระทั่งเดือนเม.ย. 63 พบซากสัตว์เหลือเพียงกระดูก ถูกใบไม้ทับถมในส่วนจัดแสดงเก้งเผือก และเก้งเผือกตัวที่ 2 หายไปจากกรงจัดแสดงเดือนก.ย. 63 โดยผอ.สวนสัตว์สงขลา ชี้แจงว่ามีงูเหลือมกินไป
โดยการสอบสวนเก้งเผือกที่หายไป จะเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงในตัวแรก เนื่องจากมีการระดมหาแต่ไม่พบ จากนั้นถัดมาอีก 2 เดือน กลับพบเป็นซากกระดูกแล้ว
พบทุกภาค ในประเทศไทย และใน อินโดจีน อินโดนีเซีย จีนตอนใต้ ศรีลังกา อินเดีย เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 1 ปีครึ่ง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูหนาว ตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว อายุเฉลี่ย 15 ปี กินอาหารประเภทหญ้า ใบไม้ ผลไม้