เงื่อนไข! ใครเข้าข่ายได้-ไม่ได้ รับพระราชทานอภัยโทษ
โดยนายสมคิดถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำกลางบางขวาง ตั้งแต่วันที่ 29 มิ.ย.2548 ซึ่งขณะที่ถูกควบคุมตัวอยู่ภายในเรือนจำ เป็นนักโทษที่มีความประพฤติดี เรียบร้อย จนได้เป็นนักโทษชั้นเยี่ยมและได้รับการลดโทษตามกระบวนการทางกฎหมายเรื่อยมาตามลำดับ จนกระทั่งพ้นโทษ เมื่อวันที่ 27 พ.ค.2562 ก่อนจะกลับมาก่อเหตุฆาตกรรมซ้ำอีกครั้ง ใน จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมานั้น
สำหรับการ ปล่อย หรือ ลดโทษ จะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการที่ประกอบด้วย 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด, ผู้พิพากษา, อัยการ โดยตรวจสอบตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น ก่อนส่งเรื่องให้ศาลออกหมายปล่อย ภายใน 120 วัน นับจาก พ.ร.ฎ. มีผลใช้บังคับ สรุปได้ดังนี้
(1) ผู้ต้องกักขัง
(2) ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ
(3) ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ
กรณีผู้ต้องกักขังตามวรรคหนึ่ง (1) ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาด และยังไม่ได้รับโทษกักขังแทน โทษจำคุก หรือยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ให้ผู้ต้องกักขังนั้นได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป ในส่วนของโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือในส่วนของการกักขังแทนค่าปรับ แล้วแต่กรณี
2. นักโทษเด็ดขาดที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป (มาตรา 6)
(1) ผู้ต้องโทษจำคุก ไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ซึ่งมีโทษจำคุกตามกำหนดโทษที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
(2) ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นคนพิการโดยตาบอดทั้ง 2 ข้าง มือหรือเท้าด้วนทั้ง 2 ข้าง หรือเป็นบุคคลซึ่งแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่า 2 คน ได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าเป็นคนทุพพลภาพมีลักษณะ อันเห็นได้ชัด
(ข) เป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) หรือโรคจิต ซึ่งทางราชการได้ทำการรักษามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ และแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่า 2 คน ได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าไม่สามารถจะรักษาในเรือนจำให้หายได้ และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนดโทษ
(ค) เป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายหรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) ระยะสุดท้าย ซึ่งแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่า 2คน ได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าเป็นระยะสุดท้าย และไม่สามารถจะรักษาในเรือนจำให้หายได้
(ง) เป็นหญิงซึ่งต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดีต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษ ตามกำหนดโทษ
(จ) เป็นคนมีอายุไม่ต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หรือทะเบียนรายตัวของเรือนจำ ในกรณีไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดีซึ่งมีโทษจำคุกตามกำหนดโทษที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่ไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ หรือเป็นคนมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีขึ้นไป
(ฉ) เป็นผู้ต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และมีอายุยังไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หรือทะเบียนรายตัวของเรือนจำในกรณีไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนดโทษ หรือ
(ช) เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดีซึ่งมีโทษจำคุกตามกำหนดโทษที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่ไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ ใช้บังคับ
(1) ผู้ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตให้เปลี่ยนเป็นกำหนดโทษจำคุกห้าสิบปี แล้วให้ลดโทษตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร ดังต่อไปนี้
ชั้นเยี่ยม 1 ใน 2
ชั้นดีมาก 1 ใน 3
ชั้นดี 1 ใน 4
ชั้นกลาง 1 ใน 5
โดยให้นับโทษจำคุกนั้นตั้งแต่วันที่ต้องรับโทษ เว้นแต่กรณีที่จะต้องนับโทษต่อจากคดีอื่น ให้นับโทษต่อจากคดีอื่นนั้น
(2) ผู้ต้องโทษจำคุกไม่ถึงตลอดชีวิต ให้ลดโทษจากกำหนดโทษตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาด ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหารตาม (1)
(3) ผู้ต้องโทษจำคุกเพราะความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ไม่ว่าจะมีความผิดอื่นร่วมด้วย หรือไม่ ให้ลดโทษจากกำหนดโทษลง 2 ใน 3 เฉพาะความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
4. นักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษตามบัญชีลักษณะความผิดท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษ ดังต่อไปนี้ (มาตรา 8)
(1) ผู้ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ให้เปลี่ยนเป็นกำหนดโทษจำคุกห้าสิบปีแล้วให้ลดโทษ ตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร ดังต่อไปนี้
ชั้นเยี่ยม 1 ใน 3
ชั้นดีมาก 1 ใน 4
ชั้นดี 1 ใน 5
ชั้นกลาง 1 ใน 6
โดยให้นับโทษจำคุกนั้นตั้งแต่วันที่ต้องรับโทษ เว้นแต่กรณีที่จะต้องนับโทษต่อจากคดีอื่น ให้นับโทษต่อจากคดีอื่นนั้น
(2) ผู้ต้องโทษจำคุกไม่ถึงตลอดชีวิต ให้ลดโทษจากกำหนดโทษตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาด ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหารตาม (1)
ชั้นเยี่ยม 1 ใน 5
ชั้นดีมาก 1 ใน 6
ชั้นดี 1 ใน 7
ชั้นกลาง 1 ใน 8
6. นักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกิน 8 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต ก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษเนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2559 ใช้บังคับ ในความผิดฐานผลิต นำเข้า หรือส่งออก หรือผลิต นำเข้า หรือส่งออกเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษ ดังต่อไปนี้ (มาตรา 10)
(1) ผู้ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ให้เปลี่ยนเป็นกำหนดโทษจำคุกห้าสิบปีแล้วให้ลดโทษ ตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร ดังต่อไปนี้
ชั้นเยี่ยม 1 ใน 6
ชั้นดีมาก 1 ใน 7
ชั้นดี 1 ใน 8
ชั้นกลาง 1 ใน 9
โดยให้นับโทษจำคุกนั้นตั้งแต่วันที่ต้องรับโทษ เว้นแต่กรณีที่จะต้องนับโทษต่อจากคดีอื่น ให้นับโทษ ต่อจากคดีอื่นนั้น
(2) ผู้ต้องโทษจำคุกไม่ถึงตลอดชีวิต ให้ลดโทษจากกำหนดโทษตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาด ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหารตาม (1)
8. นักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยมซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดซ้ำ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษจากกำหนดโทษลง 1 ใน 6 (มาตรา 12)
9. นักโทษเด็ดขาดดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในข่ายได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้ (มาตรา 13)
(1) นักโทษเด็ดขาดที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษประหารชีวิตที่เคยได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว
(2) ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกิน 8 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต ภายหลังวันที่พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2559 ใช้บังคับ ในความผิดฐานผลิต นำเข้า หรือส่งออก หรือผลิต นำเข้า หรือส่งออก เพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมาย ว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
(3) ผู้กระทำความผิดซ้ำและมิใช่นักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม
(4) นักโทษเด็ดขาดชั้นเลวหรือชั้นเลวมาก
(5) นักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษในความผิดตามมาตรา 276 วรรคสาม มาตรา 277 มาตรา 277 ทวิ มาตรา 277 ตรี มาตรา 280 มาตรา 285 และมาตรา 343 แห่งประมวล กฎหมายอาญา
11. นักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษประหารชีวิต ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษ ลงเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต (มาตรา 15)
12. นักโทษเด็ดขาดซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว และนักโทษเด็ดขาด ซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษ และจะพ้นโทษในคราวเดียวกันตามพระราชกฤษฎีกานี้ จะต้องผ่านหรือเคยผ่านการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตามที่กรมราชทัณฑ์หรือ กระทรวงกลาโหมกำหนด เว้นแต่โดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่เป็นปกติจนไม่อาจรับการอบรมได้ (มาตรา 16)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงยุติธรรมหรือกระทรวงกลาโหม แล้วแต่กรณีร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่และอำนาจติดตาม ดูแล และช่วยเหลือผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ (มาตรา 17)
นอกจากนี้ สำนักงานกิจการยุติธรรม ได้เผยแพร่ข้อมูลระบุถึงพฤติกรรมการฆ่าที่ต้องรับโทษหนักด้วยการประหารชีวิต ไว้ดังนี้
1. การฆ่าพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ทวดที่สืบสายโลหิตโดยตรง
2. ฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำตามหน้าที่
3. การฆ่าโดยทรมานหรือทารุณโหดร้าย
4. การฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานที่ได้ทำตามหน้าที่ หรือฆ่าบุคคลที่กำลังจะช่วยเหลือ หรือได้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
5. การฆ่าเพื่อเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์ หรือเพื่อปกปิดหลีกเลี่ยงให้พ้นความผิด
6. การฆ่าเพื่อเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิด 7 การฆ่าโดยไตร่ตรอง คิดทบทวน วางแผน ก่อนจะลงมือฆ่า เช่น จ้างวานฆ่า