หมู่ที่ 5 บ้านแหลมมะขาม ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง กล่าวว่า ขณะนี้ทั้งหมู่บ้านได้พลิกวิกฤติ ในช่วงที่กรมประมงประกาศปิดอ่าวในทะเลอันดามัน เพื่ออนุรักษ์สัตว์น้ำวางไข่ 3 เดือน ให้เป็นโอกาส โดยรวมตัวกันนำเรือหางยาวกว่า 150 ลำ ออกหาแมงกะพรุนลอดช่อง ซึ่งได้ถูกคลื่นลมมรสุมในทะเลพัดพามากองรวมกัน ที่หน้าชายหาดแหลมมะขาม ห่างจากฝั่งประมาณ 500 เมตร เพื่อนำมาขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อถึงฝั่ง โดยแต่ละวันสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ
ซึ่งแต่ละวันจะมีชาวประมงจำนวนมาก นำเรือออกจับแมงกะพรุน โดยใช้สวิงช้อนตักขึ้นมาจากทะเล ใช้เวลาแค่ 2 ชม. ก็ได้ประมาณ 600-700 ตัว หรือประมาณ 2-3 ตัน จากนั้น จะนำไปขายให้กับพ่อค้าคนกลางจาก จ.สุราษฎร์ธานี ระนอง และพังงา ที่มารับซื้อแมงกะพรุนลอดช่อง ในราคาตัวละ 6 บาท ทำให้ในแต่ละวันชาวประมงจะมีรายได้ประมาณ 6,000-7,000 บาท เมื่อเทียบกับค่าน้ำมันที่ต้องเติมวันละ 3 ลิตร หรือประมาณ 100 กว่าบาท
ซึ่งเป็นพ่อค้าคนกลาง กล่าวว่า ในแต่ละวันจะรับซื้อแมงกะพรุนลอดช่อง จากชาวประมงวันละประมาณ 7,000-10,000 ตัน จากนั้น จะนำมาใส่บ่อพัก ซึ่งทำด้วยไม้แล้วปูด้วยพลาสติกรองพื้น แล้วนำเกลือทะเลที่สั่งซื้อจาก จ.สมุทรสาคร มาดองแมงกะพรุนลอดช่อง ทิ้งไว้ 3 วัน เพื่อกัดให้คราบเมือกหลุด ก่อนจะนำไปคัดแยกตัดส่วนหัวและหางออกจากกัน ก่อนที่จะส่งไปขายที่โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ ที่ จ.สมุทรสาคร ในราคา กก.ละ 70 บาท
การที่ชาวประมงพากันแห่ไปจับแมงกะพรุนลอดช่องนั้น อาจมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ในทะเลบ้าง แต่ก็คงไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากนัก เพราะหากชาวประมงไม่จับไปขาย ก็คงทำให้น้ำในทะเลมีแต่แมงกะพรุนลอยตายเน่าเหม็นจำนวนมาก ซึ่งจะยิ่งส่งผลกระทบมากขึ้น ประกอบกับเป็นช่วงระยะสั้น 2-3 เดือนเท่านั้น จนสามารถสร้างรายได้เข้าหมู่บ้านเฉลี่ยวันละ 300,000 บาท โดยที่ชาวประมงไม่ต้องออกไปหางานทำต่างถิ่น