เปิดห้องหมอเผ่า สถาบันกัลยาณ์ฯ

ข่าวคดีความที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต


จะมีสถานที่แห่งหนึ่งเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ คือ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

ไม่ว่าจะเป็นคดีที่โด่งดังล่าสุด

อย่างกรณี น.พ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์ หรือ "หมอเผ่า" ผู้บริหารสถาบันกวดวิชา "แอพพลายฟิสิกส์" ที่มีอาการทางจิต จนญาติต้องนำส่งตัวเข้ารักษายังร.พ.ศรีธัญญา

แต่ต่อมา น.ส.เปมิกา วีรชัชรักษิต

อายุ 24 ปี นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ้างตัวเป็นเพื่อนสนิท เข้าแจ้งความ สน.บางซื่อ ว่า ขอให้ปล่อยตัวหมอเผ่า เพราะไม่ได้ป่วยทางจิต

จนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต


กระทั่งศาลมีคำสั่งให้ส่งตัว น.พ.ประกิตเผ่า ไปเข้าตรวจที่สถาบันกัลยาณ์ฯ เพื่อพิสูจน์ว่าป่วยจริงหรือไม่ แพทย์สถาบันกัลยาณ์ฯ ระบุว่า น.พ.ประกิตเผ่าป่วยจริง พร้อมรับตัวไว้รักษาต่อ จนขณะนี้หายป่วย และกลับบ้านได้แล้ว

หรืออีกคดีที่ครึกโครมก่อนหน้านี้

กรณี น.ส.จิตรลดา ตันติวานิชกุล คลุ้มคลั่งใช้มีดไล่แทงเด็กนักเรียนโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ บาดเจ็บไปหลายรายเมื่อเดือน ก.ย.2548 ศาลส่งตัวเข้าบำบัดยังสถาบันกัลยาณ์ฯ จนถึงขณะนี้

สำหรับที่มาของโรงพยาบาลรักษาอาการทางจิตของประเทศไทย


เริ่มมีความคิดที่จะจัดตั้งสถานพยาบาล เพื่อบำบัดผู้ป่วยทางจิตที่ก่อคดีอาญา ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก หลังจากมีบุคคลที่มีอาการวิกลจริตเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง และมีชาวเวียดนาม มีอาการทางจิตปีนเครื่องบินบี 17 ของสหรัฐอเมริกา ขณะจอดอยู่ที่สนามบินในประเทศไทย ทำให้กรมตำรวจในสมัยนั้นเสนอให้ตั้ง "โรงพยาบาลโรคจิตคดี" ขึ้นในพ.ศ.2496

ต่อมา พ.ศ.2507


กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทยร่วมกันดำเนินการ พร้อมเปลี่ยนชื่อโครงการเป็นนิติจิตเวช และเริ่มก่อสร้างอาคารโรงพยาบาล เมื่อวันที่ 15 ส.ค.2510 บนเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ บริเวณทุ่งเนินทราบ ต.ทวีวัฒนา อ.ตลิ่งชัน จ.ธนบุรี ในขณะนั้น สร้างเสร็จและเปิดดำเนินการในวันที่ 24 ก.ย.2514

หน้าที่หลักของโรงพยาบาลนิติจิตเวช คือ


แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชคดี ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับสังคม พร้อมทั้งการวิเคราะห์โรคตามที่ตำรวจและศาลต้องการพยานและมีคลินิกนิติเวช (Forensic Psychiatric Clinic) เพื่อดูแลป้องกันผู้ป่วย ที่มีแนวโน้มจะประกอบอาชญากรรม

ชั้นล่างของตึกมัชฌิมา


จะเป็นโถงสำหรับรับประทานอาหาร และทำกิจกรรมของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีห้องสังเกตอาการ จะเปิดโล่งให้เจ้าหน้าที่สามารถมองเห็นผู้ป่วยได้ตลอดเวลา

ส่วนห้องพักของ น.พ.ประกิตเผ่า อยู่บริเวณชั้นที่ 2 ของอาคาร


ปกติจะเป็นห้องพักรวมมีทั้งหมด 4 เตียง แต่ช่วงที่น.พ.ประกิตเผ่าเข้าพัก ทางสถาบันกัลยาณ์ฯ จัดให้พักเพียงคนเดียวเป็นกรณีพิเศษ เพื่อความสะดวกในการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ภายในห้องพักจะมีกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ติดตามดูอาการคนไข้ตลอดเวลา

หมอกัมปนาทให้เหตุผลว่า


การใช้กล้องโทรทัศน์ไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย แต่เพื่อความสะดวกในการดูแลคนไข้ เนื่องจากกำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อผู้ป่วยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์