ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10


ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10

ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10... ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกหนึ่งพระราชพิธีสำคัญที่พสกนิกรเฝ้าชื่นชม คือพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ ซึ่งมีขึ้นในช่วงเช้าวันที่ (5 พฤษภาคม 2562)



การสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้ พระยศพิเศษของ "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" และ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ" ซึ่งทรงได้รับพระราชทานในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นับว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีการคาดเดากันว่าจะได้รับการปรับเปลี่ยนหรือไม่ อย่างไร แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ และเฉลิมพระนามาภิไธย ดังนี้

ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10


"สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ทรงได้รับการการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ และเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น "สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี" (อ่านว่า สม-เด็ด-พระ-กะ-นิด-ถา-ทิ-ราด-เจ้า-กรม-สม-เด็ด-พระ-เทบ-พะ-รัด-ราด-สุ-ดา-เจ้า-ฟ้า-มะ-หา-จัก-กรี-สิ-ริน-ทอน-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-วอ-ระ-ราด-ชะ-พัก-ดี-สิ-หริ-กิด-จะ-กา-ริ-นี-พี-ระ-ยะ-พัด-รัด-ถะ-สี-มา-คุ-นา-กอน-ปิ-ยะ-ชาด-สะ-หยาม-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี)

ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10


ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพฯ ทรงได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อแรกประสูติว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์" ซึ่งแปลว่า นางแก้ว อันหมายถึง หญิงผู้ประเสริฐ ครั้นในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งขณะนั้นสมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระชนมายุ 22 พรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ทรงได้รับความสำเร็จในการศึกษาอย่างงดงาม และทรงบำเพ็ญพระองค์ให้เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองมากมาย 



ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10


รวมถึงทรงเพียบพร้อมด้วยพระจรรยามารยาทและคุณสมบัติแห่งขัตติยราชกุมารีทุกประการ อีกทั้งยังเป็นที่รักใคร่ นับถือ และสรรเสริญพระเกียรติคุณโดยถ้วนทั่ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศและพระอิสริยศักดิ์ให้สูงขึ้น ให้ทรงรับพระราชบัญชาและสัปตปฎลเศวตฉัตร (เศวตฉัตร 7 ชั้น) ซึ่งพระราชอิสริยยศนี้สูงส่งที่สุดของเจ้านายฝ่ายใน พร้อมทั้งเฉลิมพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 50 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10


"พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ" ทรงได้รับการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน และเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ" (อ่านว่า พระ-เจ้า-วอ-ระ-วง-เทอ-พระ-อง-เจ้า-โสม-สะ-วะ-ลี-กรม-มะ-หมื่น-สุด-ทะ-นา-รี-นาด)

ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10

 

ทั้งนี้ พระองค์โสมฯ ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร เป็นอดีตพระวรชายาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และทรงเป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร จึงทรงเป็นทั้งเป็นพระภาติยะ (หลานที่เป็นลูกของพี่ชายหรือน้องชาย) และอดีตพระสุณิสา (ลูกสะใภ้) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ"

 

ซึ่งนับเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรชายา ทรงมีพระธิดาพระองค์เดียวคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนธิราเทพยบดี ภายหลังการหย่าในปี พ.ศ. 2534 พระองค์ยังมีสถานะเป็นเจ้านายและได้รับการเฉลิมพระนามว่า "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ" โดยสร้อยพระนาม "พระวรราชาทินัดดามาตุ" เป็นพระยศพิเศษพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หมายถึง พระมารดาของพระราชนัดดาพระองค์แรกแห่งพระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐ



ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10

เครดิตแหล่งข้อมูล : praew


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์