WHOประชุมฉุกเฉินเรื่องฝีดาษลิงแพร่ระบาดหลังพบแล้ว12ประเทศ


WHOประชุมฉุกเฉินเรื่องฝีดาษลิงแพร่ระบาดหลังพบแล้ว12ประเทศ

องค์การอนามัยโลก ‘WHO' จัดประชุมฉุกเฉิน เพื่อหารือถึงการแพร่ระบาดของไวรัส "ฝีดาษลิง" หลังพบการแพร่ระบาดในยุโรป เพิ่มมากขึ้น ทั่วโลกพบแล้ว 12 ประเทศ

ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกภาคพื้นยุโรป กล่าวว่า มีความกังวลว่า ผู้ติดเชื้อ ‘ฝีดาษลิง' จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากในช่วงฤดูร้อนจะมีการจัดปาร์ตี้ และเทศกาลรื่นเริงต่างๆกันเป็นจำนวนมาก

WHO ได้ให้รายละเอียดที่เกี่ยวกับการติดเชื้อ 3 ประการหลักๆ คือ

1.ผู้ติดเชื้อทุกคนไม่มีประวัติการเดินทางไปยังพื้นที่ที่เป็นจุดที่มีแพร่ระบาดของฝีดาษลิง (แม้จะเดินทางไปประเทศในแอฟริกา แต่ก็ไม่ได้เป็นจุดที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนัก)

2.ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีกิจกรรมทางเพศ และเป็นกลุ่มชายรักชาย

3.พื้นที่ที่พบการติดเชื้อ คือในยุโรป และเชื่อว่าน่าจะมีการแพร่เชื้อมาระยะหนึ่งแล้ว
การแพร่ระบาดในยุโรปครั้งนี้ ตรวจพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้ติดเชื้อที่ยืนยันได้คนแรกเป็นชาวอังกฤษ เพิ่งเดินทางกลับมาจากไนจีเรีย และนับจากนั้นมาก็พบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในอังกฤษ และหลายประเทศในยุโรป ได้แก่เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน และสวีเดน

ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ยังพบผู้ติดเชื้อนอกยุโรป ได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย รวมทั้งสิ้นตอนนี้พบแล้วทั้งหมด 12 ประเทศ โดยในส่วนของยุโรปพบผู้ติดเชื้อและต้องสงสัยว่า จะติดเชื้อมากกว่า 100 คนแล้ว

 ที่อังกฤษตอนนี้สามารถยืนยันผู้ติดเชื้อแล้ว 20 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชายรักชาย

ขณะที่โปรตุเกสพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 9 คน รวมเป็น 23 คนแล้ว ในจำนวนนี้ผู้ติดเชื้อที่พบช่วงแรกๆ 14 คน เป็นกลุ่มที่ไปตรวจสุขภาพที่คลินิกที่เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ ผู้ติดเชื้อเป็นชายอายุ 20 ถึง 40 ปี และเป็นกลุ่มรักร่วมเพศ อย่างไรก็ตามยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่า โรคนี้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์

ที่สเปน เมื่อวานนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 24 คน ส่วนใหญ่พบในภูมิภาคมาดริด รัฐบาลท้องถิ่นที่นั่นต้องปิดร้านซาวน่า ซึ่งเป็นจุดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุด

ขณะที่อิตาลี ยืนยันพบผู้ติดเชื้อ 3 คน ตอนนี้แยกกักแล้ว ผู้ติดเชื้อ 2 ใน 3 คน เดินทางมากหมู่เกาะแคนารี่ และกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ตอนนี้กำลังตรวจสอบผู้ใกล้ชิดอีกอย่างน้อย 10 คน แพทย์อิตาลีเผยว่า จะให้ยาต้านไวรัสในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งตอนนี้ผู้ป่วยทั้ง 3 คนอาการไม่น่าเป็นห่วง

ขณะที่มีรายงานว่า
โรงพยาบาลอิสราเอลกำลังรักษาชายวัย 30 ปีที่มีอาการคล้ายเป็นฝีดาษลิง โดยชายดังกล่าวเพิ่งเดินทางกลับมาจากยุโรปตะวันตก รอตรวจสอบว่า ติดเชื้อฝีดาษลิงหรือไม่ ถ้ายืนยันว่า ใช่ ก็จะเป็นประเทศที่ 13 ที่พบผู้ติดเชื้อ

WHOประชุมฉุกเฉินเรื่องฝีดาษลิงแพร่ระบาดหลังพบแล้ว12ประเทศ



คณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวเมื่อวานนี้ว่า
 กำลังติดตามการระบาดของโรคฝีดาษลิงอย่างใกล้ชิดมาก เนื่องจากหน่วยงาน

ด้านสุขภาพของยุโรปและอเมริกาตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ติดเชื้อที่พบในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นชายหนุ่มขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงของแคนาดา กล่าวว่า ความเสี่ยงจากโรคฝีดาษลิงมีน้อย แต่เกือบทุกคนในประเทศมีความเสี่ยง เนื่องจากการไม่มีการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ ให้กับประชาชนในแคนาดามาหลายสิบปีแล้ว

อังกฤษมีการเสนอให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อฝีดาษลิง หลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในหลายประเทศของทวีปยุโรป โดยโฆษกของสำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (UKHSA) เปิดเผยว่า แม้จะยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิงโดยตรง แต่การฉีดวัคซีนไข้ทรพิษสามารถช่วยป้องกันได้ โดยจากข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกพบว่า วัคซีนไข้ทรพิษมีประสิทธิภาพในการต่อต้านโรคฝีดาษลิงสูงถึง 85%

UKHSA ยังบอกอีกว่า
 ขณะนี้มีผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษแล้ว แต่ไม่ได้เปิดเผยว่า มีจำนวนทั้งหมดกี่คน

ขณะเดียวกัน มีบางประเทศที่มีวัคซีนไข้ทรพิษเก็บไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับโรคระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกา

ที่เดนมาร์ก บริษัทบาวาเรี่ยน (Bavarian Nordic) บริษัทผู้ผลิตยา ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงโคเปนเฮเกน กล่าวว่า บริษัทได้จัดทำสัญญากับประเทศในทวีปยุโรปเพื่อจัดหาวัคซีนไข้ทรพิษ ชื่อ อิมาวาเนกซ์ (Imavanex) เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง แต่ไม่เปิดเผยว่าประเทศใด

ส่วนที่เปรู กระทรวงสาธารณสุขเตรียมพร้อมมาตรการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันไม่ให้ฝีดาษลิง เข้ามาแพร่ระบาดในประเทศ หลังจากพบผู้ติดเชื้อในยุโรปและสหรัฐฯแล้ว มาตรการเฝ้าระวังเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวานนี้ โดยเฉพาะที่สนามบิน ผู้โดยสารที่มีอาการของโรคดังกล่าวต้องตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนเข้าประเทศ จนถึงขณะนี้ยังไม่พบผู้ติดเชื้อในเปรู

WHOประชุมฉุกเฉินเรื่องฝีดาษลิงแพร่ระบาดหลังพบแล้ว12ประเทศ

‘โรคฝีดาษลิง' หรือ ฝีดาษวานร เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส พบครั้งแรกในลิงทดลองในปีพ.ศ. 2501 โรคนี้พบมากในแอฟริกากลางและตะวันตก ในสัตว์หลายชนิด รวมทั้งคนก็สามารถติดเชื้อนี้ได้ เชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษในคนและฝีดาษวัว การพบผู้ป่วยนอกประเทศแอฟริกา มักเกิดจากการเดินทางระหว่างประเทศ หรือการนำเข้าสัตว์ที่ติดเชื้อ

ในปี พ.ศ. 2546 ได้เกิดการระบาดของโรคนี้ในคน ที่ติดเชื้อจากแพร์รีด็อก (Prairie dogs) ซึ่งเป็นสัตว์ฟันแทะ ในสหรัฐอเมริกา

คนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย การแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน โดยอาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา อาการป่วยจะประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก

จากข้อมูลของหน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในสัตว์ของคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย ถึงวิธีการป้องกันตัวจากโรคฝีดาษลิง คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ หรือคนที่ติดเชื้อ ถึงแม้วัคซีนฝีดาษคนจะสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อฝีดาษลิงได้ แต่การฉีดวัคซีนควรทำเฉพาะในคนที่ต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนการระบาดของโรคฝีดาษลิง และคนที่ต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับคน หรือสัตว์ที่ติดเชื้อเท่านั้น และสามารถให้วัคซีนได้ภายหลังการได้รับเชื้อไม่เกิน 14 วัน

WHOประชุมฉุกเฉินเรื่องฝีดาษลิงแพร่ระบาดหลังพบแล้ว12ประเทศ


WHOประชุมฉุกเฉินเรื่องฝีดาษลิงแพร่ระบาดหลังพบแล้ว12ประเทศ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์