ช็อค! อเมริกา พบ ผู้ป่วยติดเชื้อ ฝีดาษลิง ที่กำลังระบาดคนแรก


ช็อค! อเมริกา พบ ผู้ป่วยติดเชื้อ ฝีดาษลิง ที่กำลังระบาดคนแรก


สหรัฐพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายแรก เป็นชาย
แพทย์ชี้เป็นเรื่องที่ไม่ปรกติ เพราะผู้ป่วยไม่มีประวัติเดินทาง และไม่เคยใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ปัจจัยเสี่ยงคือการมีเพศสัมพันธุ์ชายกับชาย

วานนี้สำนักงานสาธารณสุขแมสซาชูเซ็ตส์ ยืนยันว่ามีชายคนหนึ่งติดเชื้อฝีดาษลิง หลังจากเดินทางไปยังแคนาดา และได้เข้ารับการรักษาในวันที่ 12 พฤษภาคม แพทย์ระบุว่าการตรวจพบไวรัสชนิดนี้เป็นเรื่องที่ไม่ปรกติ เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีประวัติการเดินทาง และไม่เคยใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวคือการมีเพศสัมพันธุ์ระหว่างชายกับชาย

ทั้งนี้ เมื่อไม่นานมีรายงานการพบผู้ป่วยฝีดาษลิงในอังกฤษ โปรตุเกส และสเปน ขณะที่ยุโรปอยู่ระหว่างเฝ้าระวังเชื้อไวรัสชนิดนี้ นับตั้งแต่อังกฤษรายงานการพบผู้ป่วยรายแรก ในวันที่ 7 พฤษภาคม.



ช็อค! อเมริกา พบ ผู้ป่วยติดเชื้อ ฝีดาษลิง ที่กำลังระบาดคนแรก

สำหรับ ลักษณะทั่วไปของ "โรคฝีดาษลิง" (Monkeypox) เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด เช่น vaccinia virus, cowpox virus, variola virus เป็นต้น เชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษ พบในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะหลายชนิด เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงรวมทั้งคนก็อาจติดเชื้อได้

แต่มีโอกาสน้อยมากในการแพร่จากคนสู่คน ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคหลังติดเชื้อประมาณ 12 วัน อาการป่วยคือมีไข้ หนาวสั่น ปวดหัว เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และอ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา อาการป่วยประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ อัตราตายของโรคพบสูงสุดในกลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งอาจสูงถึงร้อยละ 10

สำหรับการควบคุมและป้องกันโรค แนะนำให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือการกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษจะสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ประมาณร้อยละ 85 ก่อนหน้าที่จะกวาดล้างไข้ทรพิษได้นั้น มีการฉีดวัคซีนหรือที่เรียกกันว่าการปลูกฝี ซึ่งจะช่วยป้องกันทั้งสองโรคนี้ได้

อย่างไรก็ตาม เด็กที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2523 ซึ่งไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อน จะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคฝีดาษลิงมากกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ


เครดิตแหล่งข้อมูล : tna.mcot.ne


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์