ชาวเมียนมาฮือต้านยึดอำนาจ ย่างกุ้งเมืองเดียว6หมื่นคน เมียวดีตร.ใช้กระสุนยาง
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวรอบโลก ชาวเมียนมาฮือต้านยึดอำนาจ ย่างกุ้งเมืองเดียว6หมื่นคน เมียวดีตร.ใช้กระสุนยาง
ชาวเมียนมาฮือต้านยึดอำนาจ ย่างกุ้งเมืองเดียว6หมื่นคน เมียวดีตร.ใช้กระสุนยาง
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 เว็บไซต์สถานีโทรทัศน์ CP24 ของแคนาดา เสนอข่าว Tens of thousands protest coup in Myanmar; some police fire rubber bullets ระบุว่า ชาวเมียนมาจำนวนมากออกมาประท้วงการรัฐประหารของกองทัพ และเรียกร้องให้ปล่อยตัว อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi) ซึ่งชนะการเลือกตั้งครั้งล่าสุด โดยเฉพาะในเมืองย่างกุ้ง ผู้คนพากันสวมใส่เสื้อสีแดง และถือธงหรือลูกโป่งสีแดง อันเป็นสีของพรรค NLD ต้นสังกัดของ อองซานซูจี
โดยช่วงบ่ายของวันที่ 7 ก.พ. 2564 เมื่อรัฐบาลทหารของเมียนมายกเลิกการระงับสัญญาณอินเตอร์เน็ต ฝูงชนจำนวนมากในเมืองย่างกุ้ง เคลื่อนขบวนไปยังเจดีย์ซู่เล (Sule Pagoda) ซึ่งอยู่ในกลางของเมือง สถานที่อันมีประวัติศาสตร์การประท้วงมาตั้งแต่ปี 2531 และปี 2550 และแม้จะมีตำรวจชุดควบคุมฝูงชนพร้อมโล่และเครื่องกีดขวาง แต่ก็ไม่มีการขัดขวางการเดินขบวนของผู้ชุมนุมแต่อย่างใด โดยผู้ประท้วงหลายคนแสดงสัญลักษณ์ชู 3 นิ้ว ส่วนผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะบีบแตรและผู้โดยสารชูภาพของอองซานซูจี
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 เว็บไซต์สถานีโทรทัศน์ CP24 ของแคนาดา เสนอข่าว Tens of thousands protest coup in Myanmar; some police fire rubber bullets ระบุว่า ชาวเมียนมาจำนวนมากออกมาประท้วงการรัฐประหารของกองทัพ และเรียกร้องให้ปล่อยตัว อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi) ซึ่งชนะการเลือกตั้งครั้งล่าสุด โดยเฉพาะในเมืองย่างกุ้ง ผู้คนพากันสวมใส่เสื้อสีแดง และถือธงหรือลูกโป่งสีแดง อันเป็นสีของพรรค NLD ต้นสังกัดของ อองซานซูจี
โดยช่วงบ่ายของวันที่ 7 ก.พ. 2564 เมื่อรัฐบาลทหารของเมียนมายกเลิกการระงับสัญญาณอินเตอร์เน็ต ฝูงชนจำนวนมากในเมืองย่างกุ้ง เคลื่อนขบวนไปยังเจดีย์ซู่เล (Sule Pagoda) ซึ่งอยู่ในกลางของเมือง สถานที่อันมีประวัติศาสตร์การประท้วงมาตั้งแต่ปี 2531 และปี 2550 และแม้จะมีตำรวจชุดควบคุมฝูงชนพร้อมโล่และเครื่องกีดขวาง แต่ก็ไม่มีการขัดขวางการเดินขบวนของผู้ชุมนุมแต่อย่างใด โดยผู้ประท้วงหลายคนแสดงสัญลักษณ์ชู 3 นิ้ว ส่วนผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะบีบแตรและผู้โดยสารชูภาพของอองซานซูจี
Thaw Zin ผู้ประท้วงวัย 21 ปี กล่าวว่า ตนไม่ต้องการให้ระบอบเผด็จการคงอยู่ไปถึงคนรุ่นต่อไป และจะต่อสู้จนถึงที่สุด ทั้งนี้ บันทึกภายในที่แจ้งแก่เจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า มีผู้ประท้วงในกรุงเนปิดอว์ประมาณ 1,000 คน แต่ที่เมืองย่างกุ้งมีถึง 6 หมื่นคน นอกจากนี้ยังมีรายงานการประท้วงในอีกหลายเมือง เช่น มัณฑะเลย์ ไปจนถึงในระดับหมู่บ้าน โดยเมียนมามีประชรทั้งสิ้นราว 53 ล้านคน ทั้งนี้ รัฐบาลทหารยังไม่มีความเห็นใดๆ และสถานีโทรทัศน์ในประเทศก็ไม่ได้รายงานข่าวการชุมนุมประท้วงดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม มีรายงานเหตุการณ์ประท้วงที่เมืองเมียวดี เกิดเสียงปืนดังขึ้นพร้อมกับตำรวจนอกเครื่องแบบได้ตั้งข้อหาผู้ประท้วงราว 200-300 คน และมีผู้บาดเจ็บโดยคาดว่าถูกยิงด้วยกระสุนยาง ขณะที่ ถั่น มิน-อู (Thant Myint-U) นักประวัติศาสตร์ชาวเมียนมา โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ระบุว่า การประท้วงต่อต้านรัฐประหารแสดงให้เห็นสัญญาณของพลังงานทุกครั้ง ในแง่หนึ่งเราสามารถคาดหวังได้ว่าจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง ในอีกด้านหนึ่งสังคมเมียนมาก็แตกต่างอย่างสิ้นเชิงไปจากปี 2531 และปี 2550 ดังนั้นทุกอย่างเป็นไปได้
อย่างไรก็ตาม มีรายงานเหตุการณ์ประท้วงที่เมืองเมียวดี เกิดเสียงปืนดังขึ้นพร้อมกับตำรวจนอกเครื่องแบบได้ตั้งข้อหาผู้ประท้วงราว 200-300 คน และมีผู้บาดเจ็บโดยคาดว่าถูกยิงด้วยกระสุนยาง ขณะที่ ถั่น มิน-อู (Thant Myint-U) นักประวัติศาสตร์ชาวเมียนมา โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ระบุว่า การประท้วงต่อต้านรัฐประหารแสดงให้เห็นสัญญาณของพลังงานทุกครั้ง ในแง่หนึ่งเราสามารถคาดหวังได้ว่าจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง ในอีกด้านหนึ่งสังคมเมียนมาก็แตกต่างอย่างสิ้นเชิงไปจากปี 2531 และปี 2550 ดังนั้นทุกอย่างเป็นไปได้
รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า อองซานซูจี หญิงวัย 75 ปี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2534 จากการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมา ซึ่งทำให้ต้องถูกกักบริเวณในบ้านพักของตนเองนานถึง 15 ปี กระทั่งในปี 2554 เมียนมาจึงเริ่มกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ทั้งนี้ พล.อ.มิน อ่อง หล่าย (Min Aung Hlaing) ผู้บัญชาการกองทัพเมียนมา อ้างว่าต้องทำรัฐประหารเพราะในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 ที่พรรค NLD ชนะอย่างถล่มทลาย มีการทุจริตเกิดขึ้น แต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ของเมียนมา ปัดตกข้อร้องเรียนดังกล่าว
โธมัส แอนดรูว์ (Thomas Andrews) ผู้รายงานพิเศษประจำสหประชาชาติ เปิดเผยว่า
มีผู้ถูกจับกุม 160 คน และบรรดานายพลของกองทัพกำลังพยายามทำให้ขบวนการต่อต้านของประชาชนเป็นอัมพาต และทำให้โลกไม่อาจรับรู้เหตุการณ์ในเมียนมาผ่านการระงับสัญญาณอินเตอร์เน็ตเกือบทั้งหมด เราทุกคนต้องร่วมยืนหยัดกับชาวเมียนมาในช่วงเวลาที่อันตรายและจำเป็น และพวกเขาไม่สมควรได้รับอะไรน้อยไปกว่านี้
โธมัส แอนดรูว์ (Thomas Andrews) ผู้รายงานพิเศษประจำสหประชาชาติ เปิดเผยว่า
มีผู้ถูกจับกุม 160 คน และบรรดานายพลของกองทัพกำลังพยายามทำให้ขบวนการต่อต้านของประชาชนเป็นอัมพาต และทำให้โลกไม่อาจรับรู้เหตุการณ์ในเมียนมาผ่านการระงับสัญญาณอินเตอร์เน็ตเกือบทั้งหมด เราทุกคนต้องร่วมยืนหยัดกับชาวเมียนมาในช่วงเวลาที่อันตรายและจำเป็น และพวกเขาไม่สมควรได้รับอะไรน้อยไปกว่านี้
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น