ผลการศึกษาชี้ เมืองไทยอีก 80 ปี อาจเหลือประชากรครึ่งเดียว!
ส่วนประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเวลานี้คือ 1,400 ล้านคน จะลดเหลือเพียง 730 ล้านคน หรือเกือบครึ่งหนึ่ง ในปี 2100 ขณะที่ทั่วโลกจะมีประชากรรวมราว 8,800 ล้านคน ซึ่งน้อยกว่าการคาดการณ์ในปัจจุบันของสหประชาชาติ
ในทางกลับกัน ประเทศในแถบซาฮาร่า ทวีปแอฟริกา จะมีประชากรมากขึ้นจากปัจจุบันถึง 3 เท่า และอาจมีประชากรรวมถึง 3,000 ล้านคน เช่น ไนจีเรีย ที่อาจมีประชากรมากถึง 800 ล้านคน จากปัจจุบันที่ 196 ล้านคน ซึ่งจะเป็นรองเพียงแค่อินเดีย ที่อาจมีประชากรราว 1,100 ล้านคน
นอกจากนี้สัดส่วนเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี จะลดน้อยลงถึงกว่า 40% จาก 681 ล้านคนเมื่อปี 2017 เหลือเพียง 401 ล้านคนในปี 2100 และประชากรสูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) จะสูงขึ้นถึง 2,370 ล้านคน และคนอายุกว่า 80 ปี จะเพิ่มจาก 140 ล้าน เป็น 866 ล้านคน
แน่นอนว่าจะกลายเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของหลายประเทศ เพราะเมื่อตัวเลขคนในวัยทำงานลดน้อยลง คนสูงวัยมากขึ้น ระบบสาธารณสุขก็ต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจก็จะต้องดำเนินไปพร้อมๆ กัน