สรุปไทม์ไลน์: การตายของ จอร์จ ฟลอยด์ จุดชนวนจนกลายเป็นจลาจล(คลิป)
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวรอบโลก สรุปไทม์ไลน์: การตายของ จอร์จ ฟลอยด์ จุดชนวนจนกลายเป็นจลาจล(คลิป)
ภาพ ประท้วง บานปลายจนกลายเป็นจลาจลในสหรัฐฯ เป็นภาพเหตุการ์ที่เกินคาดเดาสำหรับใครหลายๆ คน การประท้วงส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยถึง 5 คน หลังการประท้วงตำรวจใช้ความรุนแรงกับคนผิวดำ จอร์จ ฟลอยด์ จนเสียชีวิตในเวลาต่อมา
การเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ ในเมืองมินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตา ในสหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม นำไปสู่การ ประท้วง ที่เขย่ามินนีแอโพลิสและอีกหลายเมืองทั่วประเทศ เมื่อคนออกมารวมตัวกันเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการกระทำที่ตำรวจใช้ความรุนแรงระหว่างจับกุม จอร์จ ฟลอยด์ และการประท้วงก็บานปลายเป็นจลาจล
ในเมืองอินเดียแนโพลิส ผู้ประท้วงถูกยิงโดยคนที่ไม่พอใจสถานการณ์ จนนำไปสู่การเสียชีวิตแรก 1 ราย และบาดเจ็บอีก 3 คน ในเมืองชิคาโก มีกลุ่มคนบางส่วนจุดไฟเผาอาคารร้านค้า มีการเวี้ยงสิ่งของใส่เจ้าหน้าที่ ทั้งฆ้อน พลั่ว หรือแม้แต่ปัสสาวะ เหตุการณ์ทวีความรุนแรงในช่วงคืนวันเสาร์จนมีคนถูกยิงเสียชีวิต 1 รายและมีคนบาดเจ็บจากการถูกยิง เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา
ขณะที่ในเมืองนิวยอร์ก เช้าวันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม มีผู้ประท้วงกว่า 340 คนถูกจับกุม เจ้าหน้าที่ความมั่นคงลาดเจ็บ 33 คน และรถตำรวจเสียหาย 47 คัน บางคันถูกเผาทำลาย
25 พฤษภาคม: จอร์จ ฟลอยด์ เสียชีวิต ขณะอยู่ในความดูแลของตำรวจ
จอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวดำวัย 46 ปี เสียชีวิตในเมืองมินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตาของสหรัฐฯ หลังถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใส่กุญแจมือ และถูกเจ้าหน้าที่ชื่อ เดเร็ก ชอวิน ใช้เข่ากดคอติดพื้น มีผู้เห็นเหตุการณ์บันทึกภาพวิดีโอไว้ได้ ขณะที่ฟลอยด์พูดซ้ำๆ ว่าเขาหายใจไม่ออกอยู่ถึงกว่า 3 นาทีจนหมดสติ
26 พฤษภาคม: การประท้วงในมินนีแอโพลิสเริ่มขึ้น หลังวิดีโอการจับกุมจอร์จ ฟลอยด์ ถูกแชร์ทั่วสังคมออนไลน์
ผู้บัญชาการตำรวจมินนีแอโพลิส ได้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 นายที่เกี่ยวข้องกับการจับกุม จอร์จ ฟลอยด์ ออกจากหน้าที่ และได้เรียกร้องให้ FBI สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ เข้าสอบสวนเหตุการ์ที่เกิดขึ้น หลังการให้ปากคำของเจ้าหน้าที่ตำรวจแตกต่างไปจากวิดีโอที่มีการแชร์กันในโลกออนไลน์
คืนวันอังคาร ผู้ชุมนุมนับร้อยออกมารวมตัวกันบนถนนในเมืองมินนีแอโพลิส ผู้ประท้วงบางคนใช้สเปรย์สีพ่นใส่รถตำรวจ และจุดไฟเผาสถานีตำรวจของเจ้าหน้าที่ที่ร่วมจับกุมฟลอยด์
27 พฤษภาคม: ประท้วง ในหลายเมือง รวมถึงเมมฟิสและลอสแองเจลิส
ในเมืองเมมฟิส การประท้วงบานปลายจนเจ้าหน้าที่ต้องปิดถนนบางส่วนชั่วคราว ส่วนในลองแองเจลิส ผู้ชุมนุมนับร้อยรวมตัวกันใจกลางเมืองและเดินเท้าไปศูนย์ราชการ มีผู้ประท้วงบางส่วนเข้ากีดขวางทางพิเศษสาย 101
28 พฤษภาคม: กองกำลังพลสำรอง (National Guard) ออกประจำการในรัฐมินนิโซตา
ผู้ว่าการรัฐมินนิโซตา ทิม วอลซ์ ได้เริ่มใช้กองกำลังพลสำรองในการรับมือผู้ชุมนุม หลังเมืองมินนีแอโพลิสเกิดความเสียหายระหว่างการชุมนุม
วอลซ์ ระบุว่าจะส่งเจ้าหน้าที่ความมั่นคงหลายพันนายไปยังเมืองมินนีแอโพลิส แต่ไม่ได้ระบุว่ามีความช่วยเหลือจากกองทัพหรือไม่
“สถานการณ์ในมินีแอโพลิสไม่ได้เกี่ยวกับการฆาตรกรรม จอร์จ ฟลอยด์ อีกต่อไป แต่เป็นการโจมตีประชาสังคม สร้างความหวาดกลัว และทำให้เมืองของเราแตกร้าว” วอลซ์กล่าว
28 พฤษภาคม: นายกเทศมนตรีเมืองมินนีแอโพลิสเรียกร้องความสงบเรียบร้อย
หลังเกิดการประท้วงติดต่อกันเป็นเวลา 2 วัน นายกเทศมนตรีเมืองมินนีแอโพลิส จาค๊อบ เฟรย์ ได้ทวีตข้อความเรียกร้องให้เกิดความสงบเรียบร้อย พร้อมระบุ ว่าจะมี “ความพยายามทุกทางเพื่อนำความสงบและความมั่นคงกลับคืนมา” พร้อมร้องขอให้ผู้ชุมนุมกลับบ้าน
28 พฤษภาคม: ปฏิกิริยาจากประธานาธิบดีทรัมป์ ครั้งแรก
ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้ทวีตผ่านบัญชีผู้ใช้ส่วนตัว @realDonaldTrump ระบุว่า ได้ร้องขอให้สำนักงานสอบสวนกลาง และกระทรวงยุติธรรม ดูเรื่องการสอบสวนการเสียชีวิตที่น่าสลดใจและน่าเศร้ามากๆ ของ จอร์จ ฟลอยด์ ในมินนิโซตา พร้อมส่งกำลังใจให้ครอบครัวและเพื่อนของฟลอยด์ และ ฟลอยด์จะได้รับความยุติธรรม
29 พฤษภาคม: ข้อความประธานาธิบดีทรัมป์เอ่ยถึงการปล้นและการยิงกัน เพิ่มความตึงเครียด
ประธานาธิบดีทรัมป์ยื่น “คำขาด” กับผู้ประท้วงในมินนีแอโพลิส ว่ากองทัพจะใช้กำลังเข้าควบคุมเหตุจลาจล และได้โพสต์ข้อความบนทวิตเตอร์ เรียกผู้ประท้วงว่านักเลง และระบุว่า “เมื่อเริ่มมีการปล้น การยิงก็จะเริ่ม”
แต่ทรัมป์ได้วิจารณ์นายกเทศมนตรีของมินนีแอโพลิส ซึ่งเป็นนักการเมืองพรรคเดโมแครต ว่าขาดภาวะการเป็นผู้นำ และหากนายกเทศมนตรี “ซ้ายจัดที่แสนอ่อนแอ” อย่าง จาค๊อบ ฟลอยด์ ควบคุมสถานการณ์ในเมืองมาได้ ทรัมป์จะส่งกองกำลังพิทักษ์ชาติเข้าไปทำงานให้สำเร็จ
29 พฤษภาคม: ประท้วงในวอชิงตัน แอตแลนตา และนิวยอร์ก
ช่วงค่ำวันที่ 29 พฤษภาคม เกิดการประท้วงขึ้นในอีกหลายเมืองทั่วสหรัฐฯ
ผู้ชุมนุมประท้วงนับร้อยรวมตัวกันในเมืองแอตแลนตา สร้างความเสียหายให้อาคารในพื้นที่ ทั้งทุบกระจกหน้าต่าง และสเปรย์สีตามที่ต่างๆ นอกจากนี้ ยังเกิดการปะทะระหว่างผู้ประท้วงในนิวยอร์กและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บทั้งสองฝ่าย ผู้คนเดินเท้าประท้วงนับพัน และมีบางกลุ่มที่แยกตัวออกมาใช้ความรุนแรง ข้างปาขวดและสิ่งของอื่นๆ ใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งได้ตอบโต้ด้วนสเปรย์พริกไทย และการเข้าจับกุมผู้ก่อความไม่สงบ
ผู้ประท้วงส่วนหนึ่งรวมตัวหน้าทำเนียบขาวในกรุงวอชิงตัน ทำให้เจ้าหน้าที่ความมั่นคงต้องล็อกดาวน์อาคารที่ทำการ
ผู้ประท้วงส่วนหนึ่งรวมตัวหน้าทำเนียบขาวในกรุงวอชิงตัน ทำให้เจ้าหน้าที่ความมั่นคงต้องล็อกดาวน์อาคารที่ทำการ
ที่เมืองดีทรอยต์ มีผู้ประท้วงวัย 19 ปีรายหนึ่งเสียชีวิตจากเหตุคนร้ายยิงปืนเข้าใส่ผู้ชุมนุม
ผู้ประท้วงในเมืองดัลลัสปะทะกับตำรวจ ระหว่างที่พยายามขวางทางเข้าศาลากลาง เจ้าหน้าที่ตอบโต้ด้วยการใช้ก๊าซน้ำตาเมื่อผู้ประท้วงขวางรถและเข้าทุบหน้ารถ
อีกข่าวใหญ่คือนักข่าวผิวดำของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นถูกตำรวจจับกุมมัดข้อมือโดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา ไม่มีคำอธิบาย ขณะที่กำลังรายงานสดหน้ากล้องให้สถานี ทำให้กลายเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ทำให้ตำรวจมินนีแอโพลิสถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
ชมคลิป
VVVVVV
V
V
VV
V
VV
VVVV
-------
30 พฤษภาคม: นายกเทศมนตรีกล่าวว่า การประท้วงที่สันติได้กลายเป็นการ “ก่อการร้ายในประเทศ”
หลังจาก 4 คืนแห่งความวุ่นวายในมินนีแอโพลิส เฟรย์ได้เรียกร้องให้ประชาชนอยู่บ้าน “สิ่งที่เริ่มด้วยการประท้วงอย่างสันติเพื่อ จอร์จ ฟลอยด์ ได้กลายเป็นการปล้น และการก่อการร้ายในพื่นที่”
เฟรย์กล่าวว่า ตอนนี้เมืองกำลังเผชิญหน้ากลับกลุ่มชาตินิยมผิวขาว “White Supremacist” กลุ่มองค์กรอาชญากรรม ผู้ก่อความไม่สงบจากรัฐอื่น และเป็นไปได้ว่าคนนอกที่เข้ามาทำลายและสร้างความสั่นคลอนให้เมืองมินนีแอโพลิส
31 พฤษภาคม: จำนวนผู้เสียชีวิตจากการประท้วงเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 5 คน
เกิดเหตุคนร้ายยิงปืนเข้าใส่ผู้ชุมนุมในเมืองมินนีแอโพลิส ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บอีก 3 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 รายในเมือเซนต์หลุยส์ หลังผู้ประท้วงปิดทางหลวงสาย 44 จุดไฟและพยายามปล้นรถบรรทุกของ FedEx
ในเมืองชิคาโก มีผู้ถูกยิง 6 ราย และเสียชีวิตในคืนนั้น 1 ราย ขณะที่ชายอายุ 21 ปีในเมืองดีทรอยต์ถูกยิงเสียชีวิตขณะนั่งอยู่ในรถ เมื่อผู้ประท้วงรวมตัวกันบนถนน
1 มิถุนายน: จีนระบุ ปัญหาเหยียดผิวเป็นโรคเรื้อรังในสหรัฐฯ การประท้วงเกิดขึ้นทั่วโลก
จนถึงวันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน 40 เมืองทั่วสหรัฐฯประกาศใช้เคอร์ฟิว มีการส่งกองกำลังพลสำรองประจำการใน 15 รัฐ และมีผู้ประท้วงทั่วสหรัฐฯถูกเจ้าหน้าที่จับกุมไปแล้วราว 4,000 คน
รัฐแคลิฟอร์เนียปิดทำการอาคารรัฐทั้งหมดในตัวเมือง ทั้งบริการออกใบขับขี่ ไปจนถึงบริการออกใบอนุญาตทำงานต่างๆ
กระทรวงต่างประเทศจีนระบุว่า การเหยียดผิวเป็น “โรคเรื้อรังในสังคมอเมริกัน” เหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาการเหยียดผิวและตำรวจใช้ความรุนแรงในสหรัฐฯ
กระทรวงต่างประเทศอิหร่าน เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯและเจ้าหน้าที่ตำรวจหยุดความรุนแรง พร้อมกล่าวกับชาวอเมริกันว่า “โลกอยู่เคียงข้างพวกคุณ”
ประชาชนในหลายประเทศต่างออกมาชุมนุมประท้วงเช่นกัน ทั้งในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมืองโอ๊คแลนด์ เวลลิงตัน และไครสต์เชิร์ชในนิวซีแลนด์ กรุงเบอร์ลินของเยอรมนี เมืองซิดนีย์ บริสเบน และเมลเบิร์นในออสเตรเลีย
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น