นักวิทย์แจง!เหตุใดการค้นหาต้นตอ โควิด19 จึงเป็นเรื่องยาก


นักวิทย์แจง!เหตุใดการค้นหาต้นตอ โควิด19 จึงเป็นเรื่องยาก

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โควิด19 ยังคงรุมเร้าคนทั้งโลก เกี่ยวกับปริศนาต้นกำเนิดของไวรัส ที่ยังคงเป็นประเด็นในแวดวงวิทยาศาสตร์ทั่วโลกคงให้ความสนใจ

ซึ่งบรรดานักวิทยาศาสตร์ต้องตามหาจุลินทรีย์ก่อโรค และสัตว์พาหะ ซึ่งก็คือโฮสต์ ในธรรมชาติของไวรัสชนิดนั้นๆ นับตั้งแต่การระบาดของโรคซาร์ส ซึ่งบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้พยายามตามหาแหล่งที่มาของมัน

โดยพวกเขาได้ระบุเชื้อไวรัสโคโรนาก่อโรคซาร์ส ให้เป็นจุลินทรีย์ก่อโรคตามขั้นตอน แต่กว่าจะค้นพบว่าโฮสต์ตัวกลางในธรรมชาติของโรคซาร์สคือ “ค้างคาวเกือกม้าจีน” นั้น ก็ล่วงเลยมาจนถึงปี 2015 หรือ 13 ปีหลังเกิดการแพร่ระบาด

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีคำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ ไม่ว่าจะเป็น ค้างคาวเกือกม้าจีนเป็นโฮสต์ในธรรมชาติเพียงตัวเดียวของไวรัสโรคซาร์สหรือไม่ หรือไวรัสเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อเจอกับโฮสต์ตัวกลาง อย่างชะมด

ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ ต้องสร้างความเชื่อมโยงระหว่างหลักฐานทั้ง 2 ประเภท ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพื่อยืนยันการค้นพบหลักฐานทั้งสองประเภทนี้ ก่อนที่มีข้อพิสูจน์ที่กระจ่างชัดในที่สุด

เนื่องจากโดยปกติแล้ว การสอบสวนทางระบาดวิทยาเพื่อหาต้นกำเนิดของโรคติดเชื้อนั้น มักเริ่มจากติดตามประวัติการติดต่อของผู้ป่วยติดเชื้อรายแรกหรือผู้ป่วยหมายเลขศูนย์ ซึ่งการยืนยันตัวนั้นเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า

ทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่ทำให้ต้นกำเนิดของโรคโควิด-19 ยังคงเป็นปริศนา เพราะกระบวนการข้ามสายพันธุ์นั้น ไวรัสจะสะสมรูปแบบการกลายพันธุ์ต่างๆ เพื่อปรับให้เข้ากับร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นโฮสต์ตัวใหม่ของมัน ก่อนแพร่กระจายในหมู่ประชากรโฮสต์

นอกจากนี้จ้าวระบุว่าการกลายพันธุ์ในระยะแรกส่วนใหญ่อาจไม่แสดงอาการชัดเจนในผู้ที่ติดเชื้อ ดังนั้น การรวบรวมหลักฐานทางชีววิทยาระดับโมเลกุลซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญนั้นจึงเป็นเรื่องยาก แม้บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจำนวนมากจะทุ่มแรงค้นหาก็ตาม


เครดิตแหล่งข้อมูล : brighttv.co.th


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์