จีนเผยข่าวดี! 8 ตัวยา-วิธีรักษา ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้ผลดี พร้อมขั้นตอน
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวรอบโลก จีนเผยข่าวดี! 8 ตัวยา-วิธีรักษา ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้ผลดี พร้อมขั้นตอน
สำนักข่าวซินหัวารยงานว่า รายการ "ยา" และ "วิธีการรักษา" ต่อไปนี้ คือแนวทางการรักษาที่พบว่ามีศักยภาพในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) และเสร็จสิ้นการทดลองหรืออยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิกในจีน
1. ฟาวิพิราเวียร์ (FAVIPIRAVIR)
ฟาวิพิราเวียร์เป็นยาต้านไวรัสก่อโรคไข้หวัดใหญ่ที่ได้รับการอนุมัติเพื่อการใช้งานทางคลินิกในญี่ปุ่นเมื่อปี 2014 โดยยาตัวนี้ช่วยให้ผู้ป่วยมีผลตรวจไวรัสออกมาเป็นลบได้ในเวลาอันสั้น ทั้งยังไม่ปรากฏอาการไม่พึงประสงค์ที่ชัดเจนในการทดลองทางคลินิกที่ดำเนินจนเสร็จสิ้นในนครเซินเจิ้น มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน
ส่วนการทดลองอีกรายการหนึ่งซึ่งดำเนินการในนครอู่ฮั่น ศูนย์กลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เผยให้เห็นถึงประสิทธิภาพการรักษาของยานี้เช่นกัน โดยผลออกมาดีกว่าผลของกลุ่มควบคุม (control group) หรือกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยจัดให้มีลักษณะเหมือนกลุ่มทดลอง แต่ไม่ได้รับตัวแปรในการทดลอง เพื่อใช้เปรียบเทียบผลที่ได้กับกลุ่มทดลอง
ขณะนี้ บริษัทเภสัชกรรมจีนแห่งหนึ่งได้รับการอนุมัติจากสำนักงานบริหารเวชภัณฑ์แห่งชาติ (NMPA) ให้ผลิตยาชนิดนี้จำนวนมากแล้ว พร้อมทั้งประกันยาสำรองให้เพียงพอ
2. คลอโรควิน ฟอสเฟต (CHLOROQUINE PHOSPHATE)
คลอโรควิน ฟอสเฟต เป็นยารักษาและป้องกันการติดเชื้อมาลาเรียและรักษาโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ที่ถูกนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการวิกฤตในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งของอู่ฮั่น และจนถึงขณะนี้ยังไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่ปรากฏชัดจากการใช้ยา
กรอบแนวทางการรักษาฉบับล่าสุดของจีนระบุให้คลอโรควิน ฟอสเฟต เป็นยาแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอายุ 18-65 ปี โดยหากผู้ป่วยมีน้ำหนักมากกว่า 50 กิโลกรัม ให้ใช้ยาขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน แต่ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 9 กลุ่ม อาทิ หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ตับ และไตเรื้อรัง
บรรดาผู้เชี่ยวชาญการแพทย์กล่าวว่าวิธีรักษาด้วยยาแผนจีนนั้นช่วยลดอาการไข้หรือไอในผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงได้ ส่วนผู้ป่วยที่อาการรุนแรงนั้น ยาแผนจีนจะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ และฟื้นฟูความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ป้องกันไม่ให้อาการของผู้ป่วยทรุดหนักจนถึงขั้นวิกฤต
นอกจากนี้ จีนยังได้แนะนำยาต้ม "ชิงเฟ่ย ไผตู๋" (Qingfei Paidu) แก่สถาบันทางการแพทย์ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา
4. โทซิลิซูแมบ (TOCILIZUMAB)
กรอบแนวทางการรักษาฉบับล่าสุดแนะนำให้ใช้ยาโทซิลิซูแมบ ซึ่งใช้ชื่อทางการค้าว่าแอกเทมรา (Actemra) ในผู้ป่วยที่มีระดับอินเทอร์ลิวคิน-6 (IL-6) เพิ่มสูงขึ้น และมีรอยโรคระดับสูงในปอดทั้ง 2 ข้าง หรือมีอาการรุนแรง
เนื่องจากผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงและอาการวิกฤตจำนวนมากได้รับการตรวจพบระดับ IL-6 ในเลือดที่สูงขึ้น ระดับ IL-6 ที่สูงขึ้นนั้นจึงกลายเป็นสัญญาณเตือนว่าอาการของผู้ป่วยอาจทรุดลงได้
ขณะนี้ ยาโทซิลิซูแมบอยู่ยังระหว่างการทดลองทางคลินิกในโรงพยาบาล 14 แห่งในอู่ฮั่น และจนถึงวันที่ 5 มี.ค. มีการใช้ยาชนิดนี้รักษาผู้ป่วยอาการรุนแรงแล้ว 272 ราย
น้ำเลือดหรือพลาสมาที่มีโปรตีนภูมิคุ้มกันได้มาจากการนำพลาสมาที่เก็บจากผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่หายป่วยแล้วมาผ่านกระบวนการ โดยพบว่ามีส่วนประกอบของโปรตีนภูมิคุ้มกันในปริมาณมาก
เมื่อนับถึงวันที่ 28 ก.พ. มีผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่รับการรักษาด้วยวิธีนี้แล้ว 245 ราย โดย 91 รายมีอาการและตัวบ่งชี้ทางคลินิกดีขึ้นหลังรับการรักษา ทั้งนี้ ทางการสาธารณสุขชี้ว่าการรักษาด้วยพลาสมาได้รับพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
6. เรมเดซิเวียร์ (REMDESIVIR)
ยาเรมเดซิเวียร์พัฒนาขึ้นโดยกิลเลียด ไซเอนเซส (Gilead Sciences) บริษัทเวชภัณฑ์สัญชาติสหรัฐฯ เพื่อต้านเชื้ออีโบลา สำหรับการรักษาโรคโควิด-19 นั้น ยาชนิดนี้สามารถออกฤทธิ์ต้านไวรัสในระดับเซลล์ได้ดีพอสมควร
เฉาปิน ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นผู้นำในโครงการทดลองยาเรมเดซิเวียร์ ระบุว่าการทดลองยาทั้ง 2 ส่วน เป็นไปอย่างราบรื่น และจีนจะแบ่งปันข้อมูลกับประชาคมนานาชาติหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ
จีนทำการวิจัยและทดลองใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 หลายรายการ ซึ่งรวมถึงยาสเต็มเซลล์ที่ได้รับการอนุมัติสำหรับทดลองทางคลินิก และวิธีการบำบัดด้วยสเต็มเซลล์เนื้อเยื้อเกี่ยวพัน (mesenchymal)
แพทย์ได้ใช้วิธีดังกล่าวในการรักษาผู้ป่วยอาการรุนแรงและวิกฤต 64 ราย และได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการลดปฏิกิริยาอักเสบรุนแรงที่เกิดจากโรคดังกล่าว รวมถึงลดการบาดเจ็บในปอดและลดพังผืดในปอดด้วย
ทั้งนี้ สมาคมชีววิทยาของเซลล์แห่งจีน (Chinese Society for Cell Biology) และสมาคมการแพทย์จีน (Chinese Medical Association) ร่วมกันออกแนวปฏิบัติเพื่อวางมาตรฐานการวิจัยทางคลินิกและการประยุกต์ใช้การบำบัดด้วยสเต็มเซลล์ต้านโรคโควิด-19
8. การฟอกเลือด
ที่ผ่านมามีการนำเทคโนโลยีตับเทียมและเทคโนโลยีฟอกเลือดมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยอาการวิกฤต และพบว่าปัจจัยการอักเสบของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ลดระดับลง ทั้งยังมีผลการตรวจทรวงอกที่ดีขึ้นด้วย
วิธีการรักษานี้ยังช่วยลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงได้เฉลี่ย 7.7 วัน รวมถึงลดระยะเวลาเฝ้าระวังในห้องผู้ป่วยฉุกเฉินหรือไอซียูได้อีกด้วย
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น